ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
24 พฤศจิกายน 2024, 06:55:08
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ  |  หัวข้อ: อีกหัวข้อนะครับ ว่าด้วยเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
โพลล์
คำถาม: แบตเตอรี่แบบไหน เหมาะกับรถคุณ
แบบน้ำ   -5 (45.5%)
แบบแห้ง   -6 (54.5%)
จำนวนผู้โหวตทั้งหมด: 11

ผู้เขียน หัวข้อ: อีกหัวข้อนะครับ ว่าด้วยเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ครับ  (อ่าน 4975 ครั้ง)
anodite_studbar
เจ้าสำนัก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 902

I love my CIVIC.


« เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2006, 01:00:57 »



เห็นว่าอันนี้ก็เป็นประโยชน์ เลยเอามาฝากกันครับ

แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยาก และไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อย
แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง)
โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด

ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป
มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือระบบไดชาร์จบกพร่อง

รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมด สภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง
โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง

ไดชาร์จ = อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อถูกหมุนด้วยเครื่องยนต์/ผลิตไฟฟ้าเมื่อถูกหมุน
ไดสตาร์ท = อุปกรณ์ไปรับกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อสตาร์ทหมุนเครื่องยนต์แล้ว ก็หมดหน้าที่/รับกระแสไฟฟ้า เพื่อหมุนตัวเองและเครื่องยนต์
หากงงให้เปรียบเทียบดังนี้
บ้านที่มีการใช้น้ำ = รถยนต์-เครื่องยนต์ที่มีการใช้ไฟฟ้า
ปั๊มน้ำ = ไดชาร์จซึ่งทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าโดยมีการแปรผันตามรอบเครื่องยนต์ด้วยรอบต่ำ หรือจอดเดินเบาก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่จนกว่าจะถึงรอบปานกลางขึ้นไป
ถังน้ำสำรอง = แบตเตอรี่ เมื่อปั๊มยังไม่ทำงานหรือทำงานแต่ไม่เพียงพอ (ไดชาร์จหมุนช้า หรือใช้ไฟฟ้ามาก ๆ เช่นตอนกลางคืน เปิดแอร์ ไฟหน้า เครื่องเสียงชุดใหญ่และที่ปัดน้ำฝน) เริ่มต้นด้วยการจ่ายน้ำเข้าสู่บ้าน (เครื่องยนต์ถูกสตาร์ทด้วยไดสตาร์ท) จากถังน้ำสำรอง (แบตเตอรี่) โดยปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ยังไม่ทำงาน เมื่อเข้าสู่ระบบปกติ (เครื่องยนต์ทำงานแล้ว)
ปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ก็ทำงานคอยส่งน้ำเข้าบ้าน พร้อมกับเสริมกลับเข้าสู่ถังน้ำสำรองที่พร่องลง ซึ่งก็แล้วแต่ว่าในตอนนั้นมีการใช้น้ำมากหรือน้อยกว่ากำลังการปั๊มในตอนนั้น เช่น ถ้าปั๊มน้อย (ไดชาร์จหมุนรอบต่ำ-รถยนต์จอดนิ่ง) แต่มีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊มก็ต้องดึงน้ำมาจากถังสำรองมาใช้ควบคู่กัน เมื่อปั๊มแรงขึ้น (ไดชาร์จหมุนเร็ว) มีน้ำที่เหลือจากใช้งานแล้ว ก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังถังสำรองที่พร่องลง จนกว่าจะเต็ม

ถ้าเป็นไปตามวงจรนี้ไปเรื่อย ๆ ก็คือ เมื่อปั๊มได้เกินความต้องการและส่งกลับเข้าถังน้ำสำรองเต็ม (แบตเตอรี่) ปั๊มน้ำก็จะตัดการทำงาน (ไดชาร์จตัด โดยยังหมุนอยู่แต่ตัด ระบบการประจุไฟฟ้า ด้วยคัตเอาต์แบบในหรือนอกตัว) จนเมื่อ ๆ ใดที่ปั๊มไม่ทันหรือมีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊ม ก็จะดึงน้ำจากถังสำรองมาใช้

ดังนั้นการที่มีถังน้ำสำรองใหญ่ ๆ ไว้จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะเท่ากับว่ามีกำลังไฟฟ้าสำรอง ไว้มากไม่ได้กินแรงปั๊ม (ไดชาร์จ) หรือทำให้ปั๊มทำงานหนักขึ้นแต่อย่างไร ปั๊มจะทำงานหนัก ก็ต่อเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินกำลังของไดชาร์จอยู่เกือบหรือตลอดเวลา

ไฟเตือนบนแผงหน้าปัด

ระบบการประจุไฟฟ้าของรถยนต์ทุกคันมีไฟสัญญาณเตือนบนแผงหน้าปัดแสดงเป็น ไฟรูปแบตเตอรี่โดยมิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่หมดหรือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึง ความปกติหรือผิดปกติของระบบไดชาร์จ
หากทุกอย่างปกติ เมื่อปิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนต้องสว่างนิ่ง และเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ

ถ้าเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนสว่างขึ้น แสดงว่าระบบการประจุไฟฟ้าบกพร่อง โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ไดชาร์จ (หรือระบบการประจุไฟฟ้าเสีย) หรือสายพานไดชาร์จขาด โดยต้องรีบจอดรถยนต์ในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาเปิดฝากระโปรงตรวจดูสายพานเป็นอย่างแรก ถ้าสายพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในช่วงสั้น ๆ ประมาณกว่า 5 กิโลเมตร และนี่ก็คือการดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้อย่างเดียวไม่มีการประจุไฟฟ้ากลับเข้าไป จึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ เพื่อให้มีการ ดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ช้าและน้อย ทำให้รถยนต์ยังแล่นต่อไปได้ระยะทางมากที่สุด ถ้าการจราจรไม่ติดขัดมาก และแบตเตอรี่ลูกใหญ่พอสมควร ส่วนใหญ่ไปได้เกิน
10 กิโลเมตร เพื่อนำรถยนต์ไปซ่อมแซมระบบไดชาร์จ

ถ้าสายพานขาด เดาได้ว่าระบบการประจุไฟฟ้าไม่เสีย แต่เมื่อไดชาร์จไม่มีการหมุน เพราะสายพานขาดจึงไม่มีผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องดูให้ละเอียดลงไปอีกว่า สายพานเส้นที่ขาดนั้น เกี่ยวข้องกับระบบสำคัญของเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้าสายพานเส้นที่ขาด ขับคอมเพรเซอร์แอร์ หรือปั๊มของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ด้วย ก็ยังทนขับแบบร้อน ๆ หรือพวงมาลัยหนัก ๆ ได้อีกหลายกิโลเมตร คล้ายกับกรณีสายไฟฟ้าบกพร่อง

หากสายพานเส้นที่ขาดต้องใช้ในการขับเคลื่อนปั๊มน้ำในระบบระบายความร้อนด้วย (ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น) ก็จะสามารถขับต่อไปในระยะทางสั้นมากเพื่อหลบหลีกการจราจร หรืออันตรายได้เท่านั้นโดยต้องดูมาตรวัดความร้อนของเครื่องยนต์ ถ้าความร้อนขึ้นสูงมาก ต้องรีบจอดดับเครื่องยนต์

กรณีที่ไฟเตือนไม่ขึ้นหลังบิดกุญแจจังหวะแรกต้องตรวจสอบว่าระบบไดชาร์จบกพร่อง หรือหลอดไฟเตือนขาด หากใช้รถยนต์ปกติแล้วมีไฟเตือนสว่างริบหรี่แสดงว่า ระบบการประจุไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

ทำไมแบตเตอรี่หมด

ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับเข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด

หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพก็มีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เรื่อย ๆ ก็แค่ซ่อมแซม ระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (ช้าหน่อย) ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (มักไม่ค่อยเกิดปัญหานี้)
หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ท หมุนเครื่งยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่า แบตเตอรี่หมดสภาพ

ถ้าจำเป็นและพอมีกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เหลือเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ เช่น ระบบหัวฉีด ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และเป็นระบบเกียร์ธรรมดา ก็สามารถเข็นใส่เกียร์ 2 พอเข็นได้เร็วค่อยถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง เครื่องยนต์ก็จะกระตุกติดทำงานได้ หากไม่มีคนช่วยเข็นรวมถึงรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติต้องใช้รถยนต์อีกคันที่ติด เครื่องยนต์ไว้หรือยกแบตเตอรี่พ่วงเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด ก็เลิกพ่วง แม้แบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟฟ้าไม่อยู่ แต่ถ้าระบบไดชาร์จเป็นปกติ และเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็จะสามารถขับต่อเนื่องไปได้ตลอด โดยควรเร่งรอบเครื่องยนต์ ตอนจอดไว้หน่อย เพื่อให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เครื่องยนต์ดับ เพราะเมื่อดับแล้วก็ต้องลุ้นกันอีกครั้งว่า ไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีพอ สำหรับไดสตาร์ท หมุนเครื่องยนต์อีกครั้งหรือไม่

นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีนี้ ด้วยการเข็นกระตุกเครื่องยนต์ หรือการพ่วงแบตเตอรี่แล้ว การแก้ไขถาวรที่ดี คือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม

เมื่อแบตเตอรี่หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วค่อยคิดถึงคำถามนี้ ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดสภาพในขณะที่ยังไม่ได้เพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ การเปลี่ยนแบเตอรี่ ลูกใหญ่-แอมป์สูง ถือเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้คำนวณ และเลือกขนาดของแบตเตอรี่ต่ำพอเหมาะอยู่แล้ว

หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่ และแบตเตอรี่ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล คือ
1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว
สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท

เครื่องยนต์ยุคใหม่ที่ใช้ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์อื่นได้กระแสไฟฟ้าที่มีแอมป์สูงย่อมทำงานได้ดีขึ้น

หากต้องจอดนิ่งเครื่องยนต์เดินเบาบนการจราจรติดขัดนาน ๆ ไดชาร์จได้น้อย ก็มีพลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น รถยนต์ทุกรุ่นอย่าเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีแอมป์ต่ำลงจาก มาตรฐาน และถ้ามีโอกาสควรเลือกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีแอมป์สูงขึ้นประมาณ 10-30 แอมป์ โดยดูจากตัวเลขที่ระบุบนตัวแบตเตอรี่

การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น
มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี
แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่า คุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท

เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ

ชนิด

มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง
แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี
แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี

ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่

อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง
ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง

ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์

ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง

แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคัน
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ  |  หัวข้อ: อีกหัวข้อนะครับ ว่าด้วยเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ครับ
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2009, Simple Machines -->
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |