อ๋อ อย่างนี้นี่เอง แต่ผม ไม่เคยวิ่ง สลับเชื้อเพลิงเลยยังไม่เห็นผล เพราะวิ่งแต่เชื้อเพลิงเดียวตลอด เลยรู้ไม่รู้สึกแตกต่างกัน อย่างนั้นผมว่าถ้าจะติด แบบไม่คิดไรมากก็ obd แต่ถ้า ไม่มีก็ใช้ได้เหมือนกัน (แบบผม) ใช้เชือเพลิงทีละอย่าง ส่วน ผลของความสูงถ้าคำนวณในลักษณะของความดัน อากาศ แบบง่ายๆ คือ
ความดันอากาศจะลดลง เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น สมมมติว่าขึ้นดอยอินทนน ความสูง 2.5 กม จากระดับน้ำทะเล (มีการประมาณใน วิกิพิเดียว่าความสูง 5 กม. ความดันจะลดลง เหลือประมาณ 0.5 atm (ความดันที่ระดับปกติในกรุงเทพ ประมาณ 1 atm) ดังนั้นความดันอากาศจะลดลง ประมาณ 20% ที่ความสูงสุดระดับ ดอยอินทนน ซึ่งอันนี้เห็นด้วยครับว่าน่าจะมีผล แต่ การจูนระบบ (ทั้ง obd และไม่มี obd ) จะเผื่อการแกว่งของระบบไว้ประมาณ 10 % เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ดังนั้น อีก 10% เกินมาเนื่องจากการขึ้นถึงจุดสูงสุดของดอยก็น่าจะเห็นผล แต่ผมว่ารถก็น่าจะยังวิ่งได้ แต่น่าจะกินแก๊สมากขึ้น (เพราะหัวฉีดแก๊สน่าจะคงแรงดันไว้เท่าเดิมซึ่งเท่ากับพื้นที่ราบ ในขณะที่ ออกซิเจนในอากาศลดลงเล็กน้อย) นะครับ (แต่มันต้องกินกว่าปกติอยู่แล้วอะ ก็มันขึ้นเขานี่นา)
ส่วนของอุณหภูมิ จากสูตรคำนวณเคมีง่าย PV = nRT (T หน่วย เคลวิน, 0 องศาเซลเซียส = 273 เคลวิน, 100 องศาเซลเซียส = 373)
ปกติ อากาศประเทศไทยหนาวสุด แบบขึ้นดอยหน้าหนาวขับรถ น่าจะประมาณ 280 เคลวิน ร้อนสุด 315 เคลวิน คิดเป็น 1.125 เท่า คิดเป็น 12.5%
เช่นเดียวกันกับความดัน แต่อุณภูมิแบบหน้าสุด และร้อนสุด น่าจะส่งผลให้เกิดความต่างของแรงดันแก๊สช่วงกว้างสุด ประมาณ 10% (ผลน้อยกว่าความสูงในกรณขึ้นดอย) ซึ่งถ้าไม่เอารถไปติดตั้งแก๊สบนดอยหน้าหนาว และไม่ติดตั้งแก๊สในหน้าร้อนวิ่งจูนตอนเที่ยง ก็จะทำให้ % ความเหวี่ยงเนื่องจากอุณภูมิอยู่ที่ประมาณ 5% ซึ่งอยู่ใน ช่วงที่การจูนคลุมไว้
ดังนั้น รถที่ผ่านการจูนอย่างละเอียด ผมจึงเชื่อว่าสามารถวิ่งได้ทั่วไทย และทุกฤดูครับ แต่อย่างที่ว่าแหละ มี obd มันก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก อะนะ เพราะมันช่วยดึงความเหวี่ยงให้แคบลงอีก
ต้องขอบคุณคุณ mos_vtecturbo ที่ทำให้ผมฉุกคิดเลยต้องมาประเมินว่าไม่มี obd แล้วมันวิ่งเนียนกว่าได้อย่างไร
สรุปในส่วนตัวผมคิดว่า obd ดีกว่า 2 อย่างคือ
1. การประมวลผลเร็วกว่า ส่งผลให้การเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงขณะรถวิ่ง จะไม่รู้สึกถึงอาการหน่วง แต่อย่างใด
2. ไม่ต้องกังวลการขึ้นดอยอินทนน ในหน้าหนาวจัด แบบมีน้ำค้างแข็ง
