หรือจะไปอ่านหน้าเว็ปโดยตรงก็ได้
http://www.chonburi.go.th/ceo_board2/Question.asp?GID=251 เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอล์ NGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจากแหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ
ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบาย
สนับสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือ
ในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผลเสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศ รัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเท่าทีผมจำความได้หรือมากกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช ้LPG เหมือนกับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ
แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบ
เสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคงราคา NGV ไว้ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มาเร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก
... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้
1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน
2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่าผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรี ซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือน สภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุนของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็นต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็น ค่าแก๊ส
3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (ใหญ่) พอใจ เพื่อให้ผู้บริหาร ปตท. ได้อยู่ในตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการ ที่สูงลิ่ว
4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท.
5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคาถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่าไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่า LPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ
การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆ
ก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้ น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก๊ส NGV ปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้ พลังงานทางเลือก และควรกำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม
เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 ผมคุยกับ
เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขายแก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่า การเปิดปั้มเบนซิน ดีเซล แต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิตในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพงมาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV
... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG
LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง)
NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมา ณ 66 mol% LPG
(c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมากลั่นทำไม
อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่
http://www.eppo.go.th/info/T25.html เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้ 568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจากพม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า
ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่
http://www.eppo.go.th/info/T34.html ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 %
จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก๊ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก๊ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลืออีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม
LPG ได้มาจากสามแหล่งครับ คือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซิน ดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก๊ส ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก๊สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจาก
การกลั่นจากแก๊สธรรมชาติ
NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยาก ราคาสูงและต้องใช้ถังแก๊สความดันสูงจำนวนมาก
จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบ
เอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก๊สธรรมชาติจากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซล ประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่งเองเหมือนประเทศไทย
ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแท็กซี่ 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก๊ส LPG ด้วยการให้เงิน
สนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก๊ส LPG
(ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล
เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตร ส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%)
ใช้กับยานยนต์ (แบบเว่อร์ๆ 2 เท่าเลย) 200 ล้านลิตร
ที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร หายไปไหนครับ???
ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้าน
อยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน
แล้วไอ้ที่มาโกหกปาวๆๆๆ ว่า รถยนต์ใช้แก๊ส ทำให้โครงสร้างพลังงานเสียหาย เพราะรัฐฯ ต้องชดเชยถึงกิโลละ 11 บาท .. หรือลิตรละ 6 บาท (มาได้งัยก็ไม่รู้) .. ชดเชยให้ใครกัน?
ชดเชยให้คนใช้รถ .. 200x6 = 1,200 ล้าน
ชดเชยให้คนทำกับข้าวกิน .. 1,000x6 = 6,000 ล้าน (สาธุ)
ชดเชยให้พ่อค้านายทุน ผลิตสินค้า = 1,200x6 = 7,200 ล้าน (ก็ .. ยังดี .. ของจะได้ไม่แพง)
ชดเชย ((Embedded image moved to file: pic06840.gif)Huh!!!!?? ชดเชยทำไม) ให้กับการส่งออก 800x6 = 4,800 ล้าน!!!!!
บ.น้ำมัน ไม่รวยพุงปลิ้นวันนี้ ก็ไม่รู้จะพูดงัยแล้ว...
เบนซิน91 หรือเบนซิน95 ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 100 %
แก๊สโซฮอล นำเข้าเป็นน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นเบนซิน 90 % และยังเป็นเอธานอลส่วนหนึ่งที่เราผลิตไม่พอ ดังนั้นเท่ากับนำเข้ามากกว่า 90 % แต่รัฐบาลโปรโมตสุดลิ่มทิ่มกบาล
LPG ไม่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง กับแยกจากแก๊สธรรมชาติของไทยหรือพม่าอีกส่วนหนึ่ง มีเหลือขายต่างประเทศ ลองใช้หัวแม่เท้าคิดดูก็แล้วกันครับ
ใช้เบนซิน 100 ล้านลิตร หรือแก๊สโซฮอล 90ล้านลิตร ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบในจำนวนที่
มากกว่า
ใช้ LPG 100 ล้านลิตร ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพราะจากกระบวนการกล ั่นเหลือ
ใช้จนต้องขายต่างประเทศ
การนำLPG 100 ล้านลิตรมาใช้แทนน้ำมัน เมื่อเทียบกับการใช้เบนซิน 90ล้านลิตร หรือเบนซินในแก๊สโซฮอล 80 กว่าลิตรแบบไหนจะเสียเงินตราของชาติมากกว่ากัน (ให้อัตราสิ้นเปลือง LPG มากกว่าประมาณ 10 %) แบบไหนประหยัดเงินตราของชาติมากกว่ากัน ต่อให้คิดโดยเสมอภาคนั่นคือหากชดเชยก็ชดเชยเท่ากัน หรือไม่ชดเชยก็ต้องไม่ชดเชยเหมือนกัน ค่าการตลาดต่อลิตรเท่ากัน
***จุดที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ จุดที่มีจำนวนผู้ใช้ LPG มากขึ้นจน
แทบไม่มีเหลือส่งออก เพราะเราก็ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าเดิม หากจำนวนคนที่ใช้ LPG เพิ่มขึ้นจากเดิมจนถึงจุดที่เราแทบไม่เหลือ LPG ส่งออกนอกนั้นใช้เบนซินหรือโซล่า หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลก็ตาม จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกเท่าไหร่
อย่าเพิ่งไปกลัวเลยครับ ผมว่าที่ ปตท. ออกมาขู่เรื่องราคาแก๊ส LPG ว่าราคาจะลอยตัวราคาที่แท้จริงต้องบวกเพิ่มอีก 9บาท ต่อลิตร ตกลิตรละ18บาท สงสัยจะเป็นอุบายของ ปตท. ที่จะทำให้คนที่คิดจะติด LPG ลังเลใจแล้วมาติด NGV แทน เพราะปัจจุบัน NGV ขายไม่ออก ที่เขาบอกว่า LPG ราคาขึ้นเป็น 600 ดอลล่าร์/ตัน ถ้าวิเคราะห์ดูดีๆ ตันหนึ่งมี 1,000 กก 1กก.มี 1.8ลิตร 1ตันเท่ากับ 1800ลิตร 600 ดอลล่าร์เท่ากับ 24,000บาท คิดแล้วลิตรหนึ่งตก 13บาทกว่าเท่านั้นเอง นี่ยังไม่รวมถึงแหล่งที่มาของราคาที่เขาใช้เป็นราคากลางด้วยว่า600ดอลล่าร์/ตัน มาจากที่ไหน ที่อื่นที่ถูกกว่านี้ก็มี เช่นซื้อมะม่วงแถวต่างจังหวัด ราคาย่อมถูกกว่าที่ไปซื้อที่สีลมอยู่ดี อีกอย่าง LPG เราก็ผลิตได้เองบางส่วนจะมาอ้างราคาตลาดโลกได้อย่างไร ทำไมไม่ตั้งราคาขาย มะม่วงทุเรียน และผลผลิตทางการเกษตร ที่เราผลิตได้ในประเทศ ให้มีราคาสูงเหมือนที่ขายในญี่ปุ่น และอเมริกา โดยอ้างราคาตลาดโลกบ้าง ขายทุเรียนลูกละซัก2000บาทไปเลยซิ คิดว่าประชาชนโง่เหมือนควายเหรอครับ รัฐบาลอย่ามาขูดรีดขูดเนื้อประชาชนเลยครับ
นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ขอให้ทุกท่านร่วมหาทางแก้ไขอีกทั้ง รัฐบาลเราคงหวังพึ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว