ด่วน ..ก่อนอื่นวานจขกท. เข้าไปแก้ไขชื่อกระทู้ตรงคำว่า "หรือ" ในชื่อเรื่องกระทู้... เสียวมาก
ลองอ่านใน quote เก่าๆดูครับ อาจจะมีประโยขน์ไม่มากก็น้อย
โดยเฉพาะตัวหนังสือสีแดง อาจเป็นคำตอบสุดท้าย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รู พี ซี ดี PCD .
ร ะ ย ะ พี.ซี.ดี (P. C. D)
P.C.D. ย่อมาจาก PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูน๊อตบนตัว ล้อแม็ก โดยวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม แล้ววัดผ่าน เส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูนอตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูนอต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูน๊อตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง
รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5 - 6 รูน๊อต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ
ปัจจุบันล้อแม็กหลายรุ่นมีการเจาะรูน๊อตไว้เผื่อสำหรับรถยนต์หลายรุ่นมาเสร็จสรรพ เช่น 1 วง มี 8 รูน๊อต หรือ 10 รูก็มี เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้กับรถหลายรุ่น แต่รูที่เขาเจาะมาจากโรงงานนั้น ส่วนมากจะผ่านการทดสอบเรื่องความแข็งแรงมาแล้ว แต่สำหรับการนำมาเจาะเองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยอยากแนะนำให้ทำเสียเท่าไร เพราะเครื่องมือเครื่องจักรต้องทันสมัยและเข้าใจถึงโครงสร้าง ล้อแม็ก อย่างถ่องแท้ถึงจะทำออกมาได้
คำถาม ทำไม PCD ถึงต้องมีหลายแบบ และตัวเลขแปลกๆ เช่น 114.3 / 139.7 / 108 เป็นต้น
ขอเล่าให้ฟัง เรื่องของ PCD นั้น เป็นเรื่องที่เกิดมานานแสนนาน โดยในอดีต แต่ละค่าย เช่น ยุโรป เอเซีย หรือ อีกหลายๆ ประเทศ ต่างก็มีเทคโนโลยี่การทำรถยนต์เป็นตัวของตัวเอง หรือพูดง่ายๆ ต่างฝ่ายต่างก็คิดทำขึ้นมาเอง โดยไม่ได้เจาะรู PCD ตามค่ายผู้ผลิตรถยนต์อื่นๆ แต่หลายท่านสงสัยว่าทำไม PCD ถึงมีตัวเลขแปลกๆ ทำไมต้องเป็น 114.3 แทนที่จะเป็น 114 ก็น่าจะง่ายกว่าใช่ไหมครับ หรือรถกะบะ มี 6 รู เขาเจาะรู PCD เป็น 139.7 แทนที่น่าจะเป็น 139 หรือ 140 ดูน่าจะเป็นตัวเลขกลมๆ ดีกว่าตั้งเยอะ
อันนี้ที่มาก็คือ การผลิตรถยนต์ ในอดีตบางค่ายหรือบางกลุ่ม เขาใช้ระบบวัดเป็นระบบอังกฤษ ก็คือหน่วยเป็น " นิ้ว" พอแปลงกลับมาเป็น ระบบเมตริก ( มิลลิเมตร ) ตัวเลขเลยดูแปลกๆ เช่น ....
ตัวอย่าง ( 1 นิ้ว = เท่ากับ 25.4 มิลลิเมตร) เราลองเอา 114.3 หาร ด้วย 25.4 จะได้ผลลัพท์ = 4.5 หรือจะพูดง่ายก็คือ 4 นิ้วครึ่ง นั่นเอง ตอนนี้ลองใหม่ เอา 139.7 หาร 25.4 ผลลัพท์ จะได้เท่ากับ 5.5 ( 5นิ้วครึ่ง ) พอถึงตอนนี้ บางคนก็ถึงบางอ้อแล้ว ใช่ไหมครับ? ส่วนตัวเลขอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าว ท่านลองทำเองก็แล้วกัน หรือไม่อยากคำนวณ ก็ดูตารางข้างล่างนี้ก็ได้
ตารางเทียบขนาดของ PCD.
นิ้ว Inches มิลลิเมตร mm.
4 x 3.93 4 x 100
4 x 4.25 4 x 107.95 (ปัดเศษ = 108)
4 x 4.33 4 x 110
4 x 4.50 4 x 114.3
4 x 5.12 4 x 130
5 x 4.00 5 x 100
5 x 4.50 5 x 114.3
5 x 4.72 5 x 120
5 x 4.25 5 x 107.95 (ปัดเศษ = 108)
5 x 4.53 5 x 115
จำนวนรู PCD
แล้วทำไม รูยึด หรือ จำนวนรู PCD ถึงต้องมี 3รู , 4รู , 5รู , และ 6 รู ?
จำนวนรู PCD ขึ้นอยู่กับความต้องการในออกแบบให้ล้อในรถแต่ละประเภท มีความสามารถในการแบกรับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นตัวรถเอง หรือสิ่งของที่บรรทุก ก็ตาม
ดังนั้น Stud กับ Nut จำนวน 6 ตัว ย่อมยึดให้ล้อติดแน่นกับแป้นดุมล้อได้มากกว่า จำนวน 4 ตัวแน่นอน เราจะสังเกตุได้ว่า รถเก๋งขนาดเล็กมักมีจำนวน 4 รู ส่วนเก๋งขนาดใหญ่ขึ้นมา ก็จะเป็น 5 รู และหากเป็นรถปิ๊กอัพหรือรถบรรทุกขนาดเล็ก ก็จะเป็น 6 รู ( ส่วนรถที่มี 3 รู ก็เคยเห็นแต่มักจะเป็นรถยนต์ในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาไปแล้ว )
ค่าออฟเซ็ต Offset ออฟเซ็ต ( Offset , ET )
คือตำแหน่งของระยะห่างระหว่างเส้นแบ่งครึ่งล้อตามแนวขวางกับหน้าแปลนของล้อ (Hub Mounting Surface) ซึ่งระบุเป็น 3 ค่าด้วยกันคือ
ค่าออฟเซ็ต เท่ากับศูนย์ Zero Offset (0)
คือค่าระยะห่างของหน้าแปลนล้อ (Hub Mounting Surface) ตรงกับเส้นแบ่งครึ่งของล้อตามแนวขวางของล้อพอดี
ค่า ออฟเซ็ต เป็นบวก Positive (+)
คือระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อโดยมีทิศทางไปนอกตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็นบวก(+) เช่น +20, +30, +38, +45 เป็นต้น ซึ่งมักพบกับล้อที่ใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเสียส่วนใหญ่
ค่าออฟเซ็ต เป็นลบ Negative (-)
คือระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อ หรือพูดง่ายๆ ว่าหน้าแปลนของล้อมีระยะเกินเส้นแบ่งครึ่งล้อไปในทิศทางเข้าในตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็น (-) เช่น -5, -10, -20 เป็นต้น ซึ่งรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังมักกำหนดให้ใช้ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซ็ตเป็นลบหรือก็บวกไม่มาก
เรื่องนี้หากมีการเลือกค่า offset ที่ไม่ตรงกับรถนั้นๆ ก็จะมีผลกระทบตามมาเช่นกัน หรือหากมีการเปลี่ยนขนาดความกว้างของล้อ ค่า Offset ก็เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหรือรู้ถึงค่า Offset สำหรับรถของท่านควรมีตัวเลขอยู่ที่เท่าไร ? เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาให้แก่ตัวรถของท่าน
การยึดล้อ เข้ากับตัวรถ
1 การถอด - ใส่ น็อต ยึด ล้อแม็ก กับรถของท่าน
การถอดประกอบล้อก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งโดยปกติความแน่น (Tightening) ของการขันน็อต ( Nut ) หรือสกรู ( Bolt ) ควรอยู่ในค่าที่กำหนดดูได้จากตารางด้านล่าง และรูปแบบการถอดใส่ก็ควรเป็นไปตามรูปที่แสดงไว้ ก็จะเป็นการรักษาสภาพล้อและความปลอดภัยของเราด้วยเช่นกัน
รูปแสดงการลำดับถอด-ใส่ Bolts และ Nuts
ตารางแสดงแรงที่ใช้ให้เหมาะกับขนาด การขันน็อต หรือ สกรู นั้นๆ
ขนาดของน็อต / สกรู
Nuts / Bolts Size แรงในการขัน ให้แน่น
Torgue in (Ft/Lbs) จำนวนเกลียว รอบต่ำสุด ที่ควรขัน
Minimum Number of turns
10 mm. 45 - 55 7 รอบ
12 mm. x 1.25,12 mm. x 1.50 70 - 80 6 รอบ-8 รอบ
14 mm. x 1.50 85 - 90 7.5 รอบ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยังไม่จบ ขโมยชาวบ้านเค๊าตอบที่อื่น มาแปะอีกที
ทำไมเรียก ล้อแม็ก ... ?
อดีต กะทะล้อ ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัสดุที่ทำจาก แม็กนิเซียม (Magnisium) ด้วยคุณสมบัติหลักคือน้ำหนักที่เบา ระบายความร้อนได้ดี รูปแบบสวยงาม จึงนำมาใช้กับรถที่ต้องการทำความเร็ว หรือรถแข่งนั่นเอง แต่จากข้อด้อยในส่วนของต้นทุนที่ราคาสูง และ แม็กนิเซียม มีการสึกกร่อนง่าย จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ในท้องตลาด จึงได้มีการเสาะหาวัสดุมาทดแทนที่ราคาไม่สูง แต่ยังคงคุณสมบัติที่ใกล้เคียง นั่นก็คือ อะลูมิเนียม อัลลอย ( Aluminium Alloy ) และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่บุคคลทั่วไปยังคงเรียกติดปากว่า ล้อแม็ก กันอยู่ตลอด
ชนิดหรือประเภทของ ล้อแม็กซ์ โดยดูจากโครงสร้างหรือรูปทรง ซึ่งได้จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
ล้อแม็ก แบบชิ้นเดียว ( 1 Piece Wheel ) เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk ถูกสร้างขึ้นมาเป็นชิ้นเดียว
ล้อแม็ก แบบประกอบ ( Assembly Wheel )
เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk มาประกอบกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1) ล้อแม็ก 2 ชิ้น ( 2 piece Wheel ) เป็นล้อที่มี 2 ชิ้นส่วนมาประกอบกันคือ Rim กับ Disk
2) ล้อแม็ก 3 ชิ้น ( 3 pieces Wheel ) เป็นล้อที่ประกอบเชื่อมส่วนที่เป็น Rim 2 ส่วน กับ Disk เข้าด้วยกัน
3) ล้อแม็กชนิดซี่ลวด ( Wire Wheel ) คล้ายล้อของจักรยาน
ก่อนอื่นเราควรมารู้ชื่อที่จะเรียกหน้าตาของผิวพรรณในการทำให้ล้อสวยเสียก่อน การทำให้ล้อสวยนั้น หลักใหญ่ๆ (Main Finishing) มีดังต่อไปนี้
1) งาน ปาดเงา ( Polishing )
ลักษณะที่เห็น ด้านหน้าล้อก็จะดูเงางาม ( แต่ถ้าสังเกตุดูดีๆ ผิวล้อจะยังมีเส้นเป็นชั้นๆ ) อันนี้เกิดมาจากกรรมวิธีของการกลึงผิวของล้อออกบางๆ ทำให้เห็นผิวที่แท้จริงของเนื้ออะลูมิเนียม หลังจากนั้นก็จะทำการ พ่นแลคเกอร์ ทับเพื่อป้องกันการหมองหรือ เป็นฝ้า แต่ที่เรามักพบปัญหาหลังจากการใช้ก็คือ คราบ ขี้เกลือ หรือจะเรียกอีกแบบว่า สนิมขาว มันก็คือ Oxide นั้นเอง การเกิดขิ้นได้เนื่องจากการ เคลือบ แลคเกอร์ ไม่ดีพอ โดยเฉพาะจะเกิดตรงบริเวณขอบ, สันของก้าน หรือส่วนที่เป็นมุมคม เพราะจุดนี้คือจุดอ่อนที่จะทำให้มีอากาศกับน้ำแทรกเข้าไปทำปฏิกริยากับเนื้ออลูมิเนียม
2) ผิวแบบ ปัดเงา (Mirror Lip)
ผิวของล้อจะมีลักษณะมันเงางามมาก ( ดู คล้ายกระจก ) มองดูจะไม่มีเส้นขนาดใหญ่ เหมือน การปาดเงา เพราะไม่ได้ใช้วิธีการกลึง แต่เขาจะทำด้วยกรรมวิธีของการขัดขึ้นเงา ( Buffing ) โดยปกติแล้วส่วนนี้มักจะทำกับบริเวณขอบล้อหรือวงล้อ(Rim) มากกว่า ซึ่งสำหรับล้อดีมีชื่อเสียง เขาจะใช้วัสดุอลูมิเนียมอีกประเภทหนึ่งที่มีส่วนผสมแตกต่างไปกับเนื้อล้อแบบเดิมๆ หรือพูดง่ายๆ ก็มักพบกับ ล้อ2ชิ้น หรือ ล้อ3ชิ้น นั่นเอง
3) ผิวพ่นสีเต็มวง ( Full Painting )
อันนี้สังเกตุได้ง่าย ก็คือการพ่นสีโดยทั่วล้อนั้นเอง ซึ่งก็มีสีหลายประเภทตามแต่ตลาดต้องการหรือลูกค้าเป็นผู้กำหนด
4 ผิว ล้อ ชุบโครเมียม ( Chrome Plating )
เป็นผิวล้อที่ผ่านกรรมวิธีการ ชุบโครเมี่ยม ซึ่งการทำวิธีนี้ผู้ผลิตจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และรวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องจักรที่ดี มิเช่นนั้นอายุการใช้งานก็จะไม่ทนทาน
ดังนั้นควรทำความเข้าใจกับการเรียกผิวพรรณของล้อแม็กเสียก่อน มิฉะนั้นเวลาเราไปสั่งซื้อหรือสั่งทำ ก็จะเกิดความสับสน ซึ่งแม้คนขายบางร้านก็ยังไม่เข้าใจเช่นเดียวกัน ก็อาจแนะนำเราอย่างผิดๆ ก็ได้
วิธีเลือก ล้อแม็ก มาใช้
ทุกคนคงอยากทราบว่า องค์ประกอบ หรือ วิธีการเลือกหา ล้อแม็ก มาใช้ ได้อย่าง คุ้มค่าเงินของท่าน มีอย่างไรบ้าง เชิญดูด้านล่างนี้ ...
1.) สเปคของ ล้อเดิม ประการแรก เราจำเป็น อย่างยิ่ง ที่ต้องทราบว่า ล้อรถของเรานั้น มีสเปค อย่างไร ? เช่น
?ขนาดล้อ ... กี่นิ้ว ? เช่น 13", 14", 15" .... 17" เป็นต้น
?ขอบล้อกว้าง ... กี่นิ้ว ? เช่น 5, 5.5, 6, 6.5 ... 9 เป็นต้น
?จำนวน รู PCD 4, 5 หรือ 6 รู ขนาด PCD เป็น เท่าไร ? เช่น 100 , 114.3, 139.7
?ค่าออฟเซ็ต เป็นเท่าไร ? -10, 0, +15, +35 หรือ 45 เป็นต้น
?ไม่ควรนำล้อมาดัดแปลง ใดๆ เพียงแค่ชอบรูปแบบ หรือ ความสวยงาม เท่านั้น ( เช่นนำล้อมา เปลี่ยน, เพิ่ม หรือ ลด รู PCD , แก้ไข ออฟเซ็ท Offset , ตัดต่อ ความกว้างของล้อแม็ก เป็นต้น
2.) รูปแบบ ความสวย กับ ความแข็งแรง ล้อแม็ก เป็นอุปกรณ์สำคัญมาก เพราะจะเป็นชิ้นส่วนที่ แบกรับน้ำหนัก ของตัวรถร่วมไปกับยางเสมอ ดังนั้นเราควรคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
?รูปทรง หรือ ลวดลาย ของ ล้อแม็ก นั้นๆ ก้านต้องไม่เรียว เล็ก หรือ บอบบาง จนเกินไป หากก้านเล็ก เราก็ควรเลือก ให้มีจำนวนก้าน ให้มากไว้ก่อน หรือให้เลือกก้านที่มีความหนาพอควร
?หากรถของเรา จำเป็นต้องแบกรับน้ำหนัก หรือ บรรทุกของ อยู่เป็นประจำ ก็ควรเลือก ล้อแม็ก ที่รูปทรงที่แข็งแรง เช่น ก้านใหญ่, จำนวนก้านมาก หรือ เป็นลักษณะหน้าเต็ม เป็นรูปจาน ( Disc )
?สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อีกประการ ก็คือ เส้นทาง, สภาพถนน ที่เราต้องใช้อยู่เป็นประจำ ก็อาจมีผลต่อสภาพการชำรุดได้เช่นกัน ( เช่น ถนน ขรุขระ, เป็นหลุม, เป็นบ่อ หรีอ มีตัวคั่นถนน ) สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวแปร ที่ทำให้ล้อแม็ก ของเราจะใช้ได้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ ด้วย
3.) องค์ประกอบอื่นๆ
?ราคา ที่เหมาะสม
?รูปแบบต้องสวย เหมาะสม ไม่ยากเกินไป เมื่อต้องทำความสะอาด เช่น ก้านถี่เกินไป ก้านลายตาข่าย ทำให้ มือหรือแปรง เข้าไปไม่ถึง
?หากเป็นล้อมือสอง ที่ผ่านการซ่อม มาแล้ว ควรเลือกที่ทำสีอย่างถูกวิธี และควรหลีกเลี่ยง ล้อที่ผ่านการกลึงหน้าหรือโดยเฉพาะ กลึงขอบล้อ มาจนบาง
?ควรเลือก Brand, ยี่ห้อ หรือ จากโรงานผลิต ที่ได้รับการยอมรับ เช่น ผ่านการรับรองจากสถาบันเกี่ยวกับยานยนต์ หรือ สถาบันของล้อโดยเฉพาะ ก็ยิ่งดี
?ดูว่าล้อนั้น มีตราหรือสัญญาลักษณ์ รับรองมาตรฐาน เช่น JWL, JWL-T, VIA อยู่ในล้อนั้นด้วยก็จะดี ( แต่ปัจจุบันมีการลอกเลียนแบบและใส่อักษร นั้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็มี จึงควรดูประกอบกันไป )
ล้อแบบไหน ที่ไม่ควรซ่อม ?
การซ่อมล้อแม็กที่ถูกต้อง สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เราต้องพึงระลึก ก็คือ ความปลอดภัย เพราะล้อแม็กถือเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ ที่แบกรับน้ำหนักควบคู่ ไปกับยาง หากล้อแม็กไม่แข็งแรงพอ สิ่งที่ไม่คาดคิดก็อาจเกิดได้กับการขับขี่ได้
สิ่งเหล่านี้คือการซ่อม ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความแข็งแรง ของล้อแม็ก
กลึงหรือปาดเอาเนื้อล้อออก ขนาดผิดไปจากมาตรฐาน การแบกรับน้ำหนักลดลง
ลอกสีโดยใช้ไฟเผา เนื้อล้อเมื่อได้รับความร้อนเกินมาตรฐาน จะทำให้โครงสร้างของเนื้อโลหะเปลี่ยนไปด้วย
________________________________________
ตัวอย่างล้อที่ไม่ควรนำกลับมาซ่อม
ขอบแตกเป็นพื้นที่กว้าง
ขอบแตกจนชิ้นส่วนแยกออกหรือชิ้นส่วนหายจากกัน
ปัญหาของล้อที่สามารถนำมาซ่อมได้
รอยถลอก
รอยครูดกับขอบถนน
สีเดิมหมดสภาพ (โครเมียม หลุดลอก)
สีเดิมหมดสภาพ
รอยดุ้ง คด
รอยร้าว
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยังไม่จบ
รูน๊อตของล้อ รถญี่ปุ่นทั่วๆไป ถ้ามี 4 รูน๊อต มักจะเป็น spec 4 รู 100 เช่น Toyota Colora, Nissan Sunny, Mitsu Ecar / Mitsu ท้ายเบนซ์ เอาเป็นว่า spec 4 รู 100 นี่ มีใช้กันอยู่มากสุด รวมทั้ง BMW M10 หรือ 318I ตัวเก่าด้วย (ปี 89-92)
ส่วนพวก spec ประหลาดก็มี ซึ่งหาล้อเปลี่ยนยากมาก เช่น Toyota Corona เป็น 5 รู 100
ส่วน เปอร์โยต์ 405 จะเป็น 4 รู 108
สังเกตุว่า พวกรถที่รูน๊อตแปลกๆ มักไม่ค่อยเปลี่ยนล้อกัน เพราะหายากนั่นเอง ถึงหาได้ ราคาก็ค่อนข้างแพง
แนะนำว่า ถ้าอยากเปลี่ยนล้อ ควรหาล้อที่ spec ตรงกับรถตัวเอง อย่าได้คิดดัดแปลงโดยเด็ดขาด (ดัดแปลงโดยติด สเปเซอร์รอง เพื่อบิดเบือน offset ของรูน๊อต) เพราะอันตรายมาก เนื่องจากล้อเสียสมดุลย์ โดยเฉพาะเมื่อวิ่งที่ความเร็วสูง อีกอย่างประโยชน์ของการเปลี่ยนล้อให้ใหญ่ขึ้น นอกจากสวยงามแล้ว จะได้เรื่องการทรงตัวที่ดีขี้น เนื่องจากหน้าสัมผัสยางกับถนน มีมากขึ้น ข้อสุดท้าย อย่าดูแต่ลายสวยงาม ควรเลือกล้อที่มีน้ำหน้กเบาด้วย เพราะจะได้ไม่ไปกินแรงเครื่อง ทำให้เสียอัตราเร่ง นี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมล้อยี้ห้อดังๆ เช่น BBS, AMG, RIAL พวกนี้ ราคาถึงได้แพงมากๆ เนื่องจากล้อพวกนี้ ผลิตจากวัสดุพิเศษ น้ำหนักจึงเบา กว่าล้อทั่วๆไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++