หัวข้อ: รถ ek96 ติดตั้ง lpg แบบดูด แล้วต้องเดินทางไกลๆ ต้องขับหรือดูแลรักษาขณะเดินทางยังไงบ้างครับ เริ่มหัวข้อโดย: lp_ek ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2012, 11:37:49 เนื่องจากตอนนี้ผมใช้ระบบแก๊สแบบดูดครับ เครื่อง1600cc vtec(เครื่องเดิมครับ) แต่เครื่องเคยมีปัญหาฝาสูบโก่งครับ เพิ่งนำไปเจียมา แล้วต้องขับรถเดินทางไกลๆ(เชียงใหม่-ตรัง) ควรมีวิธีบำรุงรักษา หรือข้อควรปฎิบัติก่อนเดินทางยังไงบ้างครับ แล้วควรขับยังไงเพื่อเป็นการรักษาเครื่องไม่ให้พังครับ พี่ๆท่านใดทราบรบกวนช่วยแนะนำผมทีครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
หัวข้อ: Re: รถ ek96 ติดตั้ง lpg แบบดูด แล้วต้องเดินทางไกลๆ ต้องขับหรือดูแลรักษาขณะเดินทางยังไงบ้างครับ เริ่มหัวข้อโดย: golf ek ที่ 03 มีนาคม 2012, 21:36:43 ดูระดับน้ำหล่อเย็น น้ำมันเครื่อง ดูเกจความร้อน ประมาณนี้ครับ :)
หัวข้อ: Re: รถ ek96 ติดตั้ง lpg แบบดูด แล้วต้องเดินทางไกลๆ ต้องขับหรือดูแลรักษาขณะเดินทางยังไงบ้างครับ เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 20 มีนาคม 2012, 12:54:19 ผมเคยเจอปัญหา นี้คับ โยนฝาสูบทิ้งไป 1ฝา อาการมันมาพร้อมกับ ความร้อนขึ้นเวลาอัดรอบสูง และ บ่าวาล์ว ด้านขวาของ ID ทรุดเร็วกว่าตัวอื่นที่รู้ เพราะ ตั้งเองคับ ทุกปัญหา จบลงที่ใช้ ดีเซล ปล่อยเป็ยฝอยละอองเข้าไป เลี้ยง และลดความร้อน ผ่านคอไอดี เข้าไปคับ เครื่องเงียบ ความร้อนไม่ขึ้นสูง ตอนอัด 4000 รอบขึ้นและลดลงเร็ว เมื่อผ่อนคันเร่ง ลองมา เข้าปี ที่ 4 แล้วคับ
หัวข้อ: Re: รถ ek96 ติดตั้ง lpg แบบดูด แล้วต้องเดินทางไกลๆ ต้องขับหรือดูแลรักษาขณะเดินทางยังไงบ้างครับ เริ่มหัวข้อโดย: wiroj ที่ 20 มีนาคม 2012, 13:59:07 ต้องดูแลเรื่องน้ำเรื่องความร้อนดีๆนะครับ ผมเคยเจอทำยังไงก็ไม่หายเปลี่ยนฝาก็แล้ว รอบต่ำๆมันไม่ค่อยเป็นไรแต่พอรอบสูงๆมันฮีตครับ สรุปต้องมาจบที่เปลี่ยนเครื่อง
หัวข้อ: Re: รถ ek96 ติดตั้ง lpg แบบดูด แล้วต้องเดินทางไกลๆ ต้องขับหรือดูแลรักษาขณะเดินทางยังไงบ้างครับ เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 20 มีนาคม 2012, 14:22:34 สำหรับเจ้าซีวิคตาโต วีเทค ที่ใช้แก็สระบบดูด สิ่งทีควรจะดูแลระหว่างเดินทางไกล ก็คือ อันดับแรกควรปรับปริมาณแก็ส ที่ตัวเพาเวอร์วาวล์ ให้หนาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย อย่าประหยัดเกินเหตุ เพราะหากปรับแบบประหยัด หมายถึงการจ่ายปริมาณแก็สน้อยในอัตราส่วนผสม เมื่ออัตราส่วนผสมมีแก็สน้อยกว่าอากาศอ๊อกซิเจน จำทำให้การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์ เครื่องยนต์ไม่ค่อยมีกำลัง อืด เร่งไม่ค่อยตอยสนอง ทำให้การเร่งแซงไม่ได้ดั่งใจ อาจจะเกิดอุบบัติเหตุได้
และประการสำคัญ อัตราส่วนผสมที่มีอากาศอ๊อกซิเจนมากกว่าแก็สหรือน้ำมัน อ๊อกซิเจนตัวมันมีคุณสมบัติที่ช่วยให้ติดไฟได้ง่ายและมีความร้อนสูง จะทำให้การจุดระเบิดในห้องสูบมีความร้อนสูงขึ้นมากกว่าปกติ จะทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงขึ้น ดังนั้นการเดินทางไกล ควรที่จะปรับตัวเพาเวอร์วาวล์ ให้แก็สไหลเพิ่มขึ้น หรือถ้าจะให้ดีก่อนเดินทางให้ทำการปรับเพาเวอร์วาวล์ ที่รอบเครื่องยนต์ 3500 รอบ โดยเหยียบคันเร่งไว้แล้วปรับที่ตัวเพาเวอร์วาวล์ ให้มีรอบเครื่องยนต์ขึ้นสูงสุด จะหมุนเพาเวอร์วาวล์ ตามเข็มหรือทวนเข็มก่อนก็ได้ ปรับให้มีรอบเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุด โดยเหยียบคันเร่งไว้ต่ำแหน่งเดิม หากปรับไปทางทวนเข็มในครั้งแรกแล้วมีรอบเครื่องยนต์สูงสุด(จำตำแหน่งที่สูงสุดไว้) และลองปรับไปตามเข็มนาฬิกาอีกครั้ง เพื่อหาต่ำแหน่งที่รอบเครื่องยนต์สูงสุด หากปรับไปแล้วรอบเครื่องยนต์ไม่สูงกลับต่ำลง ก็ให้หมุนกลับทวนเข็มนาฬิกาในตอนแรก และให้อยู่ตรงต่ำแหน่งรอบเครื่องยนต์สูงสุดที่ปรับไว้ครั้งแรก การปรับแบบนี้เรียกว่าการปรับพีคสูงสุด ที่มีการจ่ายแกสและอากาศที่มีอัตราส่วนผสมค่อนข้างสมบูรณ์ ที่รอบเครื่องยนต์ 3500 รอบ แต่ในความเป็นจริงที่ความเร็วรอบในการใช้ความเร็วรถ มันก็ 140 กม/ชม ขึ้นไปแล้ว หากเราใช้ความเร็ว 120 กม/ชม หรือที่ 3000 รอบ หมายความว่า ในอัตราส่วนผสม มีแก็สมากกว่าอากาศ เรียกส่วนผสมหนา แต่ไม่มาก ทำให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งดีขึ้นในจังหวะเหยียบคันเร่งเพื่อเร่งแซง เหมือนกับระบบน้ำมัน ที่ในจังหวะเร่งแซง เมื่อเรากดคันเร่ง ทำให้ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดกว้าง บอกต่ำแหน่งองศาการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อในอัตราเร่งกระทันหัน ส่งต่ำแหน่งการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อในขณะนั้นไปให้ ECU สั่งให้หกัวฉีด ฉีดน้ำมันเพิ่มขึ้นจากสภาวะที่ยังใช้ความเร็วก่อนการกดคันเร่ง ให้มีระยะเวลาการฉีดน้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่เพิ่มอัตราเร่งรอบเครื่องยนต์ เพื่อให้มีส่วนผสมหนา ทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง จากการปรับให้แก็สเพิ่มขึ้น จะทำให้กินแก็สตามสาวะจริงในเรื่องอัตราส่วนผสม แต่ก็ไม่มากอะไร ทั้งนี้เป็นการไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนในการเดินทางไกล และเพิ่มความปลอดภัยในการขับรถ เพิ่มค่าแก็สไม่กี่สิบบาท กับระยะทาง 700 กิโลเมตร ถือว่าน้อยมาก สำหรับการเตรียมความพร้อมอย่างอื่นเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ก็คงดูเรื่องระบบน้ำหล่อเย็น อย่าให้เกิดรอยรั่วตามท่อน้ำ ตามข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่ท่อน้ำที่ต่อไปเข้าหม้อต้มแก็ส ทั้งทางเข้าและทางออก ขัดรัดเข็มขัดรัดให้แน่น เมื่อใดก้ตามที่ข่อต่อของระบบน้ำหล่อเย็นเกิดรั่วเพียงเล็กน้อยในระบบ นั้นหมายความว่าเมื่อเครื่องยนต์มีความร้อนในระบบน้ำหล่อเย็น ทำให้น้ำที่ร้อนกลายเป็นไอรั่วออกไปจากระบบได้ เมื่อมันรั่วออกจากระบบได้ มันก็จะดูดเอาอากาศข้างนอกที่มีความเย็นกว่าเข้าไปแทนที่น้ำ ที่ถูกระเหยออกไป ก็คงจะทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น อากาศเมื่อเข้าไปแทนที่ในระบบน้ำหล่อเย็น จะทำให้ไปบล๊อคน้ำที่ถูกดันจากปั้มน้ำให้ไหลวนในระบบผ่านหม้อน้ำกลับเข้าตัวเสื้อสูบเครื่องยนต์ ทำให้ช่วงที่ระบบน้ำมีอากาศแทนที่ ไม่มีน้ำไหลต่อเนื่องเพราะอากาศดันบล๊อคเอาไว้ น้ำในระบบจะไม่ไหลวน ทำให้เกิดความร้อนเกิดขึ้นในเสื้อสูบ เพราะน้ำไม่สามารถไหลผ่านไปที่หม้อน้ำ เพื่อระบายความร้อนออก ผลที่เกิดขึ้นทำให้ความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูง เกจวัดอัณหภูมิจะสูง ต้องขับรถที่ความเร็วต่ำ เพื่อลดรอบเครื่องยนต์ ให้ความร้อนลดลงหรือทรงตังว ก่อนการเกดินทางก็ควรตรวจดูให้เรียบร้อย รวมถึงพัดลมหม้อน้ำด้วย น้ำในหม้อน้ำควรหาน้ำยาเติมหม้อน้ำใส่ผสมลงไปด้วย เพื่อลดจุดเดือดของน้ำ ก็จะช่วยให้การเดินทางมีความสุขเพิ่มขึ้นครับ ก็เคร่าแค่นี้ก็แล้วกันครับ ขอให้เดินทางปลอดภัยทั้งไปและกลับ.......srithanon หัวข้อ: Re: รถ ek96 ติดตั้ง lpg แบบดูด แล้วต้องเดินทางไกลๆ ต้องขับหรือดูแลรักษาขณะเดินทางยังไงบ้างครับ เริ่มหัวข้อโดย: kongns ที่ 20 มีนาคม 2012, 17:17:55 ปรับแก๊สเพิ่มกันแล้ว งั้นก็ดูในส่วนของน้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นใช้น้ำมันสังเคราะห์ เพราะแก๊สจะไม่มีสารหล่อลื่นเหมือนน้ำมัน
หรืออาจจะสลับไปใช้น้ำมันบ้างก่อนจอดรถเข้าห้องน้ำ,ติดไฟแดง (รอบเดินเบา จะได้ไม่เปลือง) เป็นหล่อลื่นเครื่องบ้าง |