:::CIVIC CLUB THAILAND:::

คุยคุ้ย Civic => Civic Club Cafe => ห้องนั่งเล่น => ข้อความที่เริ่มโดย: jookninja ที่ 23 ธันวาคม 2008, 10:52:21



หัวข้อ: เรื่องของ แก็ส และ พลังงาน ไปอ่านเจอมาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jookninja ที่ 23 ธันวาคม 2008, 10:52:21
หรือจะไปอ่านหน้าเว็ปโดยตรงก็ได้

http://www.chonburi.go.th/ceo_board2/Question.asp?GID=251

เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอล์ NGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจากแหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ
ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบาย
สนับสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือ
ในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผลเสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศ รัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเท่าทีผมจำความได้หรือมากกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช ้LPG เหมือนกับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ
แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบ
เสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคงราคา NGV ไว้ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มาเร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก
... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้
1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน
2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่าผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรี ซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือน สภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุนของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็นต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็น ค่าแก๊ส
3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (ใหญ่) พอใจ เพื่อให้ผู้บริหาร ปตท. ได้อยู่ในตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการ ที่สูงลิ่ว
4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท.
5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคาถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่าไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่า LPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ
การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆ
ก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้ น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก๊ส NGV ปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้ พลังงานทางเลือก และควรกำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม
เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 ผมคุยกับ
เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขายแก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่า การเปิดปั้มเบนซิน ดีเซล แต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิตในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพงมาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV
... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG
LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง)
NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมา ณ 66 mol% LPG
(c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมากลั่นทำไม
อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่ http://www.eppo.go.th/info/T25.html

เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้ 568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจากพม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า
ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่
http://www.eppo.go.th/info/T34.html

ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 %
จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก๊ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก๊ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลืออีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม
LPG ได้มาจากสามแหล่งครับ คือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซิน ดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก๊ส ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก๊สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจาก
การกลั่นจากแก๊สธรรมชาติ
NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยาก ราคาสูงและต้องใช้ถังแก๊สความดันสูงจำนวนมาก
จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบ
เอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก๊สธรรมชาติจากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซล ประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่งเองเหมือนประเทศไทย
ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแท็กซี่ 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก๊ส LPG ด้วยการให้เงิน
สนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก๊ส LPG
(ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล
เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตร ส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%)
ใช้กับยานยนต์ (แบบเว่อร์ๆ 2 เท่าเลย) 200 ล้านลิตร
ที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร หายไปไหนครับ???
ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้าน
อยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน
แล้วไอ้ที่มาโกหกปาวๆๆๆ ว่า รถยนต์ใช้แก๊ส ทำให้โครงสร้างพลังงานเสียหาย เพราะรัฐฯ ต้องชดเชยถึงกิโลละ 11 บาท .. หรือลิตรละ 6 บาท (มาได้งัยก็ไม่รู้) .. ชดเชยให้ใครกัน?
ชดเชยให้คนใช้รถ .. 200x6 = 1,200 ล้าน
ชดเชยให้คนทำกับข้าวกิน .. 1,000x6 = 6,000 ล้าน (สาธุ)
ชดเชยให้พ่อค้านายทุน ผลิตสินค้า = 1,200x6 = 7,200 ล้าน (ก็ .. ยังดี .. ของจะได้ไม่แพง)
ชดเชย ((Embedded image moved to file: pic06840.gif)Huh!!!!?? ชดเชยทำไม) ให้กับการส่งออก 800x6 = 4,800 ล้าน!!!!!
บ.น้ำมัน ไม่รวยพุงปลิ้นวันนี้ ก็ไม่รู้จะพูดงัยแล้ว...
เบนซิน91 หรือเบนซิน95 ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 100 %
แก๊สโซฮอล นำเข้าเป็นน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นเบนซิน 90 % และยังเป็นเอธานอลส่วนหนึ่งที่เราผลิตไม่พอ ดังนั้นเท่ากับนำเข้ามากกว่า 90 % แต่รัฐบาลโปรโมตสุดลิ่มทิ่มกบาล
LPG ไม่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง กับแยกจากแก๊สธรรมชาติของไทยหรือพม่าอีกส่วนหนึ่ง มีเหลือขายต่างประเทศ ลองใช้หัวแม่เท้าคิดดูก็แล้วกันครับ
ใช้เบนซิน 100 ล้านลิตร หรือแก๊สโซฮอล 90ล้านลิตร ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบในจำนวนที่
มากกว่า
ใช้ LPG 100 ล้านลิตร ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพราะจากกระบวนการกล ั่นเหลือ
ใช้จนต้องขายต่างประเทศ
การนำLPG 100 ล้านลิตรมาใช้แทนน้ำมัน เมื่อเทียบกับการใช้เบนซิน 90ล้านลิตร หรือเบนซินในแก๊สโซฮอล 80 กว่าลิตรแบบไหนจะเสียเงินตราของชาติมากกว่ากัน (ให้อัตราสิ้นเปลือง LPG มากกว่าประมาณ 10 %) แบบไหนประหยัดเงินตราของชาติมากกว่ากัน ต่อให้คิดโดยเสมอภาคนั่นคือหากชดเชยก็ชดเชยเท่ากัน หรือไม่ชดเชยก็ต้องไม่ชดเชยเหมือนกัน ค่าการตลาดต่อลิตรเท่ากัน
***จุดที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ จุดที่มีจำนวนผู้ใช้ LPG มากขึ้นจน
แทบไม่มีเหลือส่งออก เพราะเราก็ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าเดิม หากจำนวนคนที่ใช้ LPG เพิ่มขึ้นจากเดิมจนถึงจุดที่เราแทบไม่เหลือ LPG ส่งออกนอกนั้นใช้เบนซินหรือโซล่า หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลก็ตาม จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกเท่าไหร่

อย่าเพิ่งไปกลัวเลยครับ ผมว่าที่ ปตท. ออกมาขู่เรื่องราคาแก๊ส LPG ว่าราคาจะลอยตัวราคาที่แท้จริงต้องบวกเพิ่มอีก 9บาท ต่อลิตร ตกลิตรละ18บาท สงสัยจะเป็นอุบายของ ปตท. ที่จะทำให้คนที่คิดจะติด LPG ลังเลใจแล้วมาติด NGV แทน เพราะปัจจุบัน NGV ขายไม่ออก ที่เขาบอกว่า LPG ราคาขึ้นเป็น 600 ดอลล่าร์/ตัน ถ้าวิเคราะห์ดูดีๆ ตันหนึ่งมี 1,000 กก 1กก.มี 1.8ลิตร 1ตันเท่ากับ 1800ลิตร 600 ดอลล่าร์เท่ากับ 24,000บาท คิดแล้วลิตรหนึ่งตก 13บาทกว่าเท่านั้นเอง นี่ยังไม่รวมถึงแหล่งที่มาของราคาที่เขาใช้เป็นราคากลางด้วยว่า600ดอลล่าร์/ตัน มาจากที่ไหน ที่อื่นที่ถูกกว่านี้ก็มี เช่นซื้อมะม่วงแถวต่างจังหวัด ราคาย่อมถูกกว่าที่ไปซื้อที่สีลมอยู่ดี อีกอย่าง LPG เราก็ผลิตได้เองบางส่วนจะมาอ้างราคาตลาดโลกได้อย่างไร ทำไมไม่ตั้งราคาขาย มะม่วงทุเรียน และผลผลิตทางการเกษตร ที่เราผลิตได้ในประเทศ ให้มีราคาสูงเหมือนที่ขายในญี่ปุ่น และอเมริกา โดยอ้างราคาตลาดโลกบ้าง ขายทุเรียนลูกละซัก2000บาทไปเลยซิ คิดว่าประชาชนโง่เหมือนควายเหรอครับ รัฐบาลอย่ามาขูดรีดขูดเนื้อประชาชนเลยครับ
นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ขอให้ทุกท่านร่วมหาทางแก้ไขอีกทั้ง รัฐบาลเราคงหวังพึ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว


หัวข้อ: Re: เรื่องของแก็สและพลังงาน ไปอ่านเจอมาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jookninja ที่ 23 ธันวาคม 2008, 10:53:19
บทความเรื่องก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG โดยกรมธุรกกิจพลังงาน
(3/4/2551)
บทความเรื่องก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หมายถึง ?ก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว คือ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทีลีน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ผสมกันเป็นส่วนใหญ่? โดยทั่วไปเรามักเรียกก๊าซปิโตรเลียมเหลวนี้ว่า ก๊าซ แก๊ส แก๊สเหลว หรือแก๊สหุงต้ม ส่วนในวงการค้าและอุตสาหกรรม ชื่อที่เรารู้จักกันดี คือ แอล พี แก๊ส (LP GAS) หรือ แอล พี จี (LPG) ซึ่งเป็นอักษรย่อ มาจาก Liquefied Petroleum Gas ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.5-2 เท่าของอากาศ
การที่ได้ชื่อว่าปิโตรเลียมเหลวเนื่องจากก๊าซจะถูกอัดให้อยู่ในสภาพของเหลวภายใต้ความดันเพื่อสะดวกต่อการเก็บและการขนส่ง เมื่อลดความดันก๊าซเหลวนี้จะกลายเป็นไอ สามารถนำไปใช้งานได้
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญในปัจจุบัน ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และในรถยนต์ เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ขนส่งสะดวกไม่เปลืองที่เก็บ และที่สำคัญคือ เผาไหม้แล้วเกิดเขม่าน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น
แหล่งที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลว
แหล่งที่มาของก๊าซมี 2 แหล่ง ได้แก่
1. ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งจะได้ก๊าซโปรเปนและบิวเทนประมาณ 1-2% แต่ก่อนที่จะนำ น้ำมันดิบเข้ากลั่น ต้องแยกน้ำและเกลือแร่ที่ปนอยู่ออกเสียก่อน หลักจากนั้นนำน้ำมันดิบมาให้ความร้อนจนมีอุณหภูมิประมาณ 340-400 OC จากนั้นจะถูกส่งเข้าสู่หอกลั่น ซึ่งภายในประกอบด้วยถาด (tray) เป็นชั้น ๆ หลายสิบชั้น ไอร้อนที่ลอยขึ้นไป เมื่อเย็นตัวลงจะกลั่นตัวเป็น ของเหลวบนถาดตามชั้นต่าง ๆ และจะอยู่ชั้นใดขึ้นอยู่กับช่วงจุดเดือนต่ำจะลอยขึ้นสู่เบื้องบนของหอกลั่นคือไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ (LPG รวมอยู่ในส่วนนี้ด้วย) ส่วนไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือนปานกลางและสูงก็จะแยกตัวออกมาทางตอนกลางและตอนล่างของหอกลั่น ซึ่งได้แก่แนพทา (naphtha) น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา ตามลำดับ
ไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซที่ออกจากด้านบนของหอกลั่นรวมเรียกว่า ?ก๊าซปิโตรเลียม? ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 1 อะตอม ถึง 4 อะตอมและมีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไนโตรเจน (N2) ไฮโดรเจน (H2) และอื่น ๆ ปนอยู่ จำเป็นต้องกำจัดหรือแยกออกโดยนำก๊าซปิโตรเลียมผ่านเข้าหน่วยแยกก๊าซแอลพีจี (gas recovery unit) เพื่อแยกเอาโปรเปนและบิวแทน (หรือแอลพีจี) ออกมา จากนั้นแอลพีจีจะถูกส่งเข้าหน่วยฟอก ซึ่งใช้โซดาไฟ (caustic soda) เพื่อแยกเอากรด (acid gas) เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออก หลังจากนั้นแอลพีจีจะถูกส่งไปเก็บในถังเก็บและมีสภาพเป็นของเหลวภายใต้ความดัน
2. ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีก๊าซโปรเปนและบิวเทนในก๊าซธรรมชาติประมาณ 6-10% ก๊าซธรรมชาติ ที่นำขึ้นมาจะส่งเข้าสู่โรงแยกก๊าซ (gas separation plant) เพื่อทำการแยกเอาสารไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติ ออกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ คือ มีเทน (methane) อีเทน (ethane) โปรเปน (propane) บิวเทน (butane) แอลพีจี (liquefied petroleum gas) และก๊าซโซลีนธรรมชาติ (natural gasoline , NGL)
กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำที่เจือปน อยู่ในก๊าซธรรมชาติออก ก่อน โดยกระบวนการ Benfield ซึ่งใช้โปตัสเซียมคาร์บอเนต (K2CO3) เป็นตัวจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกระบวนการดูดซับ (absorption process) โดยใช้สารจำพวก molecular sieve ซึ่งมีลักษณะเป็นรูพรุน ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ก๊าซธรรมชาติที่แห้งจากหน่วยนี้จะผ่านเข้าไปใน turbo-expander เพื่อลดอุณหภูมิจาก 250OK เป็น 170OK และลดความดันลง จาก 43 บาร์ เป็น 16 บาร์ก่อนแล้วจึงเข้าสู่หอแยกมีเทน (de-methanizer) มีเทนจะถูกกลั่นแยกออกไป และส่วนที่เหลือคือส่วนผสมของ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป (ethane plus stream) ซึ่งอยู่ในสถานะของเหลวและจะออกทางส่วนล่างของหอ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวหอดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่หอแยกอีเทน (de-ethanizer) และหอแยกโปรเปน (de-propanizer) เพื่อแยกอีเทนและโปรเปนออกตามลำดับต่อไป ในหอแยกโปรเปนนี้ โปรเปนจะถูกแยกออกทางด้านบนของหอ ส่วนแอพีจี ซึ่งเป็นส่วนผสมของโปรเปนและบิวเทนจะถูกแยกออกมาจากส่วนกลางของหอ และส่วนผลิตภัณฑ์ที่ออกจากหอทางด้านล่างคือ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (natural gasoline)
คุณสมบัติของก๊าซปิโตรเลียมเหลว
1. คุณสมบัติทางเคมี
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอน ที่มีส่วนประกอบของคาร์บอน  3 อะตอม และคาร์บอน  4 อะตอม ใน 1 โมเลกุล ไฮโดรคาร์บอนกลุ่มนี้ประกอบด้วย
โปรเปน (propane) = C3H8
โปรปิลิน (porpylene) = C3H6
บิวเทน (butane) = C4H10
บิวทิลีน (butylene) = C4H8
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ปรากฏอยู่ในส่วนผสมของก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกไฮโครคาร์บอนอิ่มตัว (saturated hydrocarbon) และไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว (unsaturated hydrocarbon)
กลุ่มไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (saturated hydrocarbon) ได้แก่ โปรเปน (propane) นอร์มัลบิวเทน (n-butane) ไอโซบิวเทน (iso-butane)
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้มาจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยโปรเปน (propane) เป็นส่วนใหญ่ สัดส่วนของ C3 และ C4 ขึ้นอยู่กับแหล่งของก๊าซธรรมชาติ หากได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ จะประกอบด้วยบิวเทน (butane) เป็นส่วนใหญ่ และอาจมีการผสม C3 และ C4 ในรูปของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว (un-saturated hydrocarbon) ซึ่งมักประกอบด้วยโปรปิลีน (propylene) นอร์มัลบิวทิลีน (n-butylene) ไอโซบิวทิลีน (iso-butylene) และ butylene-2
2. คุณสมบัติทางกายภาพ
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้กันอยู่มี 2 สถานะ คือ ของเหลวและก๊าซ ดังนั้น จำเป็นต้องทราบถึงคุณสมบัติทางกายภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลวทั้งสองสถานะ ดังนี้
2.1 ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเมื่ออยู่ในสถานะเป็นของเหลว
(ก) จุดเดือด และสภาวะวิกฤติ
เนื่องจากแอลพีจีมีจุดเดือดต่ำมาก คือ โปรเปน มีจุดเดือด เท่ากับ ?42 องศาเซลเซียส นอร์มัลบิวเทนเท่ากับ -0.5 องศาเซลเซียส ไอโซบิวเทน เท่ากับ ? 11.7 องศาเซสเซียส ดังนั้น แอลพีจี มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติและความดันบรรยากาศเว้นเสียแต่จะถูกอัดให้เป็นของเหลวอยู่ในถังภายใต้ ความดันหรือนำถังไปแช่เย็นเอาไว้ ค่าความดันที่ทำให้แอลพีจีเป็นของเหลว คือ ค่าความดันไอ (vapor pressure) เช่น ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซสเซียส ความดันไอของโปรเปนเท่ากับ 7.3 บรรยากาศ และที่อุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความดันไอก็จะสูงขึ้นด้วย
โปรเปนที่อุณหภูมิ 96.67 องศาเซลเซียส ความดันที่ใช้อัดเท่ากับ 41.94 บรรยากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงกว่านี้โปรเปนจะไม่เป็นของเหลว แม้ว่าจะอัดด้วยความดันมากกว่า 41.94 บรรยากาศก็ตาม อุณหภูมิ 96.67 องศาเซลเซียส และความดัน 41.94 บรรยากาศ ก็คือ สภาวะวิกฤติสำหรับโปรเปน
(ข) ความหนาแน่น ปริมาตรจำเพาะและความถ่วงจำเพาะ
ความหนาแน่น คือ อัตราส่วนของน้ำหนักต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรเช่น ที่อุณหภูมิ 15.5 องศาเซสเซียสความหนาแน่นของโปรเปนมีค่าเท่ากับ 507 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับส่วนกลับของความหนาแน่นก็คือ ปริมาตรจำเพาะ โปรเปนมีค่าปริมาตรจำเพาะเท่ากับ 2 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน ดังนั้นถ้าต้องการเก็บโปรเปนไว้ใช้ 10 วัน โดยในแต่ละวันมีความต้องการ 0.5 ตัน จะต้องใช้ถังที่มีขนาดความจุอย่างน้อยที่สุด 10 ลูกบาศก์เมตร
สำหรับค่าความถ่วงจำเพาะจะแสดงถึงอัตราส่วนของความหนาแน่นระหว่างก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่อุณหภูมิใด อุณหภูมิหนึ่งกับน้ำที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส อย่างเช่น ค่าความถ่วงจำเพาะของโปรเปนเหลวที่อุณหภูมิ 15 0C มีค่าเท่ากับ 0.5077 ส่วนนอร์มัลบิวเทน เท่ากับ 0.5844 และไอโซบิวเทนเท่ากับ 0.5631
ดังนั้นก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานะที่เป็นของเหลวจะเบากว่าน้ำ ถ้าเกิดมีก๊าซรั่วขึ้นในขณะที่อุณหภูมิโดยรอบในขณะนั้นต่ำมาก และก๊าซปิโตรเลียมเหลวเกิดไหลลงไปในรางระบายน้ำ คูคลอง ก๊าซปิโตรเลียมเหลวก็จะลอยไปกับน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอัคคีภัยในท้องที่ห่างไกลจากบริเวณที่ก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่วออกไปได้
นอกจากนี้อุณหภูมิยังมีผลต่อค่าความหนาแน่น คือ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของสารเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวจะลดลง
(ค) ความหนืด
ความหนืด (ความข้นใส) คือ ความสามารถในการต้านทานการไหลของของไหล (ของเหลวหรือก๊าซ) ที่มีต่อภาชนะหรือท่อ ของไหลต่างชนิดกัน จะมีความหนืดแตกต่างกัน
จะเห็นได้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสภาพของเหลวจะมีความหนืดน้อยมาก (ความหนืดของน้ำเท่ากับ 1 เซนติพอยส์) จากคุณสมบัติอันนี้ ทำให้ก๊าซเหลวรั่วซึมได้ง่ายกว่าของเหลวชนิดอื่น และนอกจากนี้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่มีคุณสมบัติในการหล่อลื่น เนื่องจากมีความหนืดต่ำ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปั๊ม จึงมีการสึกหรอสูง เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว จึงต้องออกแบบให้เหมาะสมทนต่อการสึกหรอและแรงดันสูงได้
อนึ่ง อุณหภูมิจะมีผลต่อความหนืดของของไหล กล่าวคือ ของไหลที่มีสถานะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิ สูงขึ้น ค่าความหนืดจะลดลง แต่ถ้าเป็นก๊าซ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นค่าความหนืดก็สูงขึ้นด้วย
(ง) ความดันไอ (Vapor Pressure)
ก๊าซแอลพีจีเมื่อถูกบรรจุอยู่ในภาชนะปิดภายใต้ความดันจะมีสถานะเป็นของเหลว แอลพีจีเหลวจะระเหยเป็นไอเต็มช่องว่างที่อยู่เหนือระดับส่วน ที่เป็นของเหลวจนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัว (Saturation point) จึงจะหยุดระเหย ค่าความดันของก๊าซแอลพีจีที่จุดอิ่มตัวนี้เรียกว่า ?ค่าความดันไออิ่มตัว?
ค่าความดันไออิ่มตัวเป็นตัวบ่งบอกคุณสมบัติการระเหย (volatility) ของสาร กล่าวคือ ถ้าสารใดมีความดันไอสูง แสดงว่าสารนั้นสามารถระเหยได้เร็ว และเป็นค่าที่ขึ้นกับอุณหภูมิโดยตรง กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิสูง ค่าความดันไออิ่มตัวก็สูงขึ้นด้วย
(จ) ความร้อนแฝงในการระเหย
ความร้อนแฝงในการระเหย คือ ปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการระเหยต่อหน่วยน้ำหนักของสาร เพื่อเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซที่จุดเดือดปกติ (ณ ความดันบรรยากาศ) หรือปริมาณความร้อนที่ต้องถูกดึงออกต่อหน่วยน้ำหนักของสาร เพื่อให้ได้กลั่นตัวเป็นของเหลวที่ความดันบรรยากาศ และค่าความร้อนแฝงจะมีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีค่าความร้อนแฝงน้อยกว่าน้ำมาก
ดังนั้น เมื่อก๊าซถูกปล่อยออกจากภาชนะเก็บ ก๊าซเหลวจะระเหย การที่ก๊าซเหลวระเหยได้ต้องได้รับความร้อนหรือดึงความร้อนจากบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะทำให้บริเวณที่ถูกดึงความร้อนไปจะมีความเย็นจัด เพราะฉะนั้นถ้าก๊าซเหลวรั่วมาถูกผิวหนังหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจะทำให้ผิวหนัง หรือส่วนของร่างกายนั้นได้รับความเย็นจัด จนถึงกับไหม้
(ฉ) ความร้อนจำเพาะ
ค่าความร้อนจำเพาะ คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้วัตถุหนึ่งหน่วยน้ำหนักมีอุณหภูมิสูงขึ้นหนึ่งองศา มีหน่วยเป็นกิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/องศาเซลเซียส หรือ บีทียู/ปอนด์/องศาฟาเรนไฮต์ เช่น เมื่ออยู่ในสถานะของเหลว ความดันคงที่ 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสค่าความร้อนจำเพาะของโปรเปนเท่ากับ 0.6023 นอร์มัลบิวเทนเท่ากับ 0.5748 ไอโซบิวเทนเท่ากับ 0.5824 commercial propane เท่ากับ 0.60 และ commercial butane เท่ากับ 0.57
(ช) สัมประสิทธิ์การขยายตัว
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวที่ 15 องศาเซลเซียส ประมาณ 0.300/0C สำหรับโปรเปน และ 0.002/0C สำหรับบิวเทนอุณหภูมิ ิยิ่งสูงการขยายตัวยิ่งมาก ตัวเลขนี้จำเป็นอย่างยิ่งใช้ในการคำนวณปริมาตรสูงสุดที่สามารถจะบรรจุก๊าซลงภาชนะหรือถังเก็บได้ในสภาพอุณหภูมิต่าง ๆ กัน ดังนั้น การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังจะต้องเหลือที่ว่างเหนือก๊าซเหลวไว้ โดยในส่วนของช่องว่างนี้จะมีไอก๊าซอยู่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความดัน ที่เกิดการขยายตัวของของเหลวในกรณีที่ก๊าซได้รับความร้อนผิดปกติ นอกจากนี้ระบบท่อส่งต่าง ๆ ที่ส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวจำเป็นต้องมีกลอุปกรณ์นิรภัย แบบระบาย (hydrostatic relief valve) ไว้ในระบบด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญตัวหนึ่ง
2.2 คุณสมบัติทางกายภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว เมื่ออยู่ในสถานะเป็นก๊าซ
(ก) ความหนาแน่น ปริมาตรจำเพาะและความถ่วงจำเพาะ
ค่าความถ่วงจำเพาะของก๊าซปิโตรเลียมเหลวเมื่อเป็นก๊าซจะแสดงถึงอัตราส่วนของความหนาแน่นระหว่างก๊าซกับอากาศที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นตัวเลขที่ชี้ให้เห็นว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว เมื่อเป็นก๊าซจะหนักเป็นกี่เท่าของอากาศ (เมื่อความหนาแน่นของอากาศ = 1)


ดังนั้น ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานะที่เป็นก๊าซจะหนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลขึ้นก๊าซจะไปรวมตัวอยู่ในที่ต่ำ และถ้าบริเวณที่ต่ำนั้นเป็นรางระบายน้ำหรือคูคลอง ก๊าซอาจจะไหลตามน้ำไป ทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ ณ จุดซึ่งห่างไกลจากบริเวณที่ก๊าซรั่วได้
ความหนืด ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานะของก๊าซจะมีความหนืดสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
(ค) ความสามารถในการอัดตัวของก๊าซแอลพีจี (Compressibility factor)
สำหรับก๊าซอุดมคติ (ldeal gas) ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิ ความดันและปริมาตร สามารถแสดงโดย สมการสภาวะ (Equation of state) คือ PV = nRT (P = ความดัน , V = ปริมาตร , n = จำนวนโมล , R = gas constant T = อุณหภูมิ) แต่สำหรับก๊าซแอลพีจีจะมีลักษณะเบี่ยงเบนไปจากก๊าซอุดมคติ ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สมการสภาวะได้ จึงจำเป็นต้องเพิ่มค่าความสามารถในการอัดตัวของก๊าซ (Compressibility factor, Z) เข้าไปในสมการคือ PV = ZnRT สำหรับก๊าซไม่อุดมคติ โดยที่ Z จะมีค่าน้อยกว่า 1 คือที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ณ ความดันบรรยากาศ โปรเปน นอร์มัลบิวเทน และไอโซบิวเทน มีค่า Z = 0.984 , 0.969 และ 0.971 ตามลำดับ
(ง) ช่วงการลุกไหม้ (Flammability Limits in Air)
ก๊าซที่สันดาปได้จะมีช่วงส่วนผสมกับอากาศเพียงช่วงเดียวที่จุดไฟแล้วลุกไหม้ได้ เพราะมีอากาศผสมอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ช่วงการลุกไหม้ได้จะแสดง ค่าเป็นอัตราส่วนร้อยละ (%) ปริมาตรก๊าซต่ออากาศ ค่าทางด้านความเข้มข้นสูงของช่วงการลุกไหม้ เรียกว่าค่าขอบบน ส่วนทางด้านต่ำเรียกว่าค่าขอบล่าง ก๊าซแอลพีจี จะสามารถลุกไหม้หรือติดไฟได้ก็ต่อเมื่อมีก๊าซผสมอยู่ในอากาศ 2-9% คือถ้ามีก๊าซแอลพีจีต่ำกว่า 2 ส่วนหรือมากกว่า 9 ส่วนในส่วนผสมของก๊าซกับอากาศกับอากาศ 100 ส่วน ส่วนผสมนั้นก็จะไม่ติดไฟ
(จ) อุณหภูมิของจุดติดไฟ (Ignition Temperature)
เมื่อค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิให้กับเชื้อเพลิงจนเลยอุณหภูมิค่าหนึ่งแล้ว เชื้อเพลิงก็จะเริ่มลุกไหม้เอง แม้จะไม่มีประกายไฟหรือสาเหตุของการติดไฟ อุณหภูมิต่ำสุดที่เริ่มเกิดการลุกไหม้ตามธรรมชาตินี้เรียกว่าอุณหภูมิของจุดติดไฟ (Ignition Temperature) เนื่องจากอุณหภูมิจุดติดไฟของโปรเปน คือ 460-580 องศาเซลเซียส และของบิวเทนคือ 410-550 องศาเซลเซียส ดังนั้น ก๊าซปิโตรเลียมเหลวจึงติดไฟได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันเบนซินซึ่งมีจุดติดไฟ 280-430 องศาเซลเซียส และน้ำมันดีเชล 250-340 องศาเซลเซียส ดังนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงกล่าวได้ว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีความปลอดภัยสูงกว่า
(ฉ) อุณหภูมิของเปลวไฟ (Flame temperature)
อุณหภูมิของเปลวไฟที่ได้จากการเผาไหม้ของแอลพีจีสูงมากพอที่จะหลอมโลหะต่าง ๆ ได้ เช่น หลอมเหล็ก ทองเหลือง อลูมิเลียม และแก้ว เป็นต้น โดยโปรเปน มีอุณหภูมิของเปลวไฟในอากาศ 1,930 องศาเซลเซียส และบิวเทน 1,900 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการอบเครื่องเคลือบดินเผา อบสี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(ช) ค่าอ๊อกเทน (Octane Number)
ก๊าซแอลพีจีมีค่าอ๊อกเทนสูง ประมาณ 95-110 ซึ่งสูงกว่าค่าอ๊อกเทนของน้ำมันเบนซิน จึงเหมาะกับการใช้เป็นเชื้อเพลิงของรถยนต์มาก
(ซ) อัตราส่วนปริมาตรของเหลว/ก๊าซ (Liquid/Vapor Volume Ratio)
แอลพีจีเหลวเมื่อระเหยและเปลี่ยนสถานะไปเป็นก๊าซ ปริมาตรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กล่าวคือที่อุณหภูมิ 15.5 องศาเซลเซียส (60 oF) โปรเปนเหลว 1 หน่วยปริมาตร เมื่อกลายเป็นก๊าซจะมีปริมาตรเป็น 274 หน่วย ส่วนบิวเทนเหลว 1 หน่วยปริมาตร เมื่อกลายเป็นก๊าซจะมีปริมาตรเป็น 233 หน่วย
ดังนั้น แอลพีจีในสถานะที่เป็นของเหลว ถ้ารั่วออกมาจะมีอันตรายมากกว่าที่เป็นก๊าซ เพราะจำนวนที่ออกมาเป็นของเหลว เมื่อกลายเป็นก๊าซจะเพิ่มปริมาตร มากขึ้น ปริมาณก๊าซมาก อันตรายและความรุนแรงก็ย่อมมีมาก
(ฌ) ปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ (Air Requirement)
ก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซที่มีส่วนผสมอยู่ในอากาศ 21 % โดยปริมาตรและเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเผาไหม้ ดังนั้นปริมาณอากาศที่ป้อนเข้าไปใน ห้องเผาไหม้จะต้องมีปริมาณที่แน่นอน ในกรณีที่ก๊าซแอลพีจีเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ทั้งหมดก็จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซดฅ์และน้ำและการเปลี่ยนแปลงน ี้เขียนเป็นสมการเคมีได้ดังต่อไปนี้
ดังจะเห็นได้จากสมการเหล่านี้ ปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นต่อการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์จะเป็น 5 เท่าในกรณีของโปรเปน และ 6.5 เท่าในกรณีของบิวเทน เนื่องจากปริมาณออกซิเจนในอากาศมีประมาณ 21% ฉะนั้นในการเผาไหม้โปรเปนอย่างสมบูรณ์ 1 ลูกบาศก์เมตร จะต้องใช้อากาศ 24 ลูกบาศก์เมตร ส่วนบิวเทน 1 ลูกบาศก์เมตร จะใช้อากาศ 31 ลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซินแล้ว แอลพีจีต้องการปริมาณอากาศมากกว่าเล็กน้อย
(ญ) ค่าความร้อนของการเผาไหม้ (heat of combustion)
ค่าความร้อนของการเผาไหม้ของก๊าซแอลพีจี หมายถึงค่าปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นจากการนำเอาก๊าซแอลพีจีหนึ่งหน่วยน้ำหนัก หรือหนึ่งหน่วยปริมาตรมาเผาไหม้ที่ความดันบรรยากาศ และอุณหภูมิปกติ (25 องศาเซลเซียส) ค่าความร้อนของการเผาไหม้เป็นค่าที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของเชื้อเพลิง และใช้ในการคำนวณหาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องจักร
(ฎ) สี กลิ่น และการละลาย
แอลพีจีบริสุทธ์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตก๊าซแอลพีจีจึงต้องเติมสารประกอบที่มีกลิ่นเหม็นลงไปด้วย เพื่อให้ผู้ใช้รู้ตัวเมื่อก๊าซแอลพีจีเกิดรั่ว หรือผู้ใช้ลืมปิดวาล์วใช้ก๊าซ สารประกอบที่เติมลงไปเพื่อทำให้ก๊าซแอลพีจีมีกลิ่นเหม็นเป็นสารพวกเมอร์แคบแทน(mercaptan)
นอกจากนี้ก๊าซแอลพีจี มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลาย (solvent) เช่นเดียวกับพวกน้ำมันระเหย จึงสามารถละลายหรือทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำมาจาก ยางธรรมชาติเสียคุณสมบัติได้ เช่น ปะเก็น หรือซีลต่าง ๆ ดังนั้นอุปกรณ์ที่นำมาใช้กับถังที่บรรจุก๊าซแอลพีจี ควรใช้วัสดุอื่นที่ไม่ได้ทำมาจากยางธรรมชาติ เช่น ยางสังเคราะห์ เป็นต้น
อันตรายที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ผู้ที่ปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวหากได้รับก๊าซจำนวนน้อยจะไม่เกิดอันตรายแต่ อย่างใด แต่ถ้าร่างกายได้รับก๊าซนี้ใน ปริมาณระดับหนึ่งก็จะมีผลให้เกิดอันตรายได้
มาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้แรงงานที่ต้องคลุกคลีและเกี่ยวข้องกับแอลพีจีโดยทั่วไปแล้ว จะกำหนดเป็นระดับความเข้มข้นเฉลี่ยของแอลพีจีในอากาศ ของสถานที่ทำงานในระยะเวลาการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ในเรื่องนี้กระทรวงแรงงาน สหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแอลพีจีไว้ว่า ?ในอากาศสถานที่ที่ทำงานจะมีแอลพีจีได้ไม่เกิน 1,000 ส่วน ต่ออากาศล้านส่วน (ppm) โดยเฉลี่ยในระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง หรือ 1,800 มิลลิกรัม ของแอลพีจีต่อหนึ่งลูกบาศก์เมตรของอากาศ?
แอลพีจี จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ยาสลบทั่วไป (general anesthetics) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ ผู้สูดดมก๊าซนี้เข้าไปมาก เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน เนื่องจากก๊าซนี้เป็นตัวไปกดระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system depressants) ในรายที่สัมผัสก๊าซนี้จะทำให้เกิดระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ (mucous membrane) ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากก๊าซนี้เป็นตัวละลายไขมันของผิวหนัง (defat the skin) ทำให้เกิดโรคผิวหนัง (dermatitis) ในกรณีหายใจเข้าไปมาก ๆ อาจจะทำให้เป็นโรคปอดอักเสบ (preumonitis) ปอดบวม (pulmonary edcma) และตกเลือด (hemorrhage) หากหายใจสูดแอลพีจีเข้าไปมาก ๆ อาจถึงแก่ความตาย เพราะขาดออกซิเจน เช่นกรณีอยู่ในห้องปิด ไม่มีอากาศระบาย
ถ้าก๊าซรั่วโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนอนหลับก็จะหายใจเอาก๊าซเข้าไป ทำให้ขาดออกซิเจน หมดสติและตายได้ สำหรับในบางกรณี ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซ เช่น เครื่องทำน้ำร้อนในห้องอาบน้ำ ที่มีขนาดเล็กและแคบ ไม่มีการหมุนเวียนอากาศที่ดีขณะที่ใช้น้ำร้อน แอลพีจีก็จะถูกเผาไหม้เพื่อให้ความร้อน ออกซิเจนภายในห้องถูกใช้ไปในการเผาไหม้เรื่อย ๆ น้อยลงทุกที จึงอาจเกิดการเผาไหม้ ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Combustion) เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) แทนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์นี้เมื่อหายใจเข้าไป จะเกิดอันตราย บางรายทำให้ถึงแก่ความตายได้
ข้อปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน
ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และมีผู้ได้รับอันตรายควรจัดให้มีการปฐมพยาบาลอย่างทันที ดังนี้
- กรณีแอลพีจีเหลว กระเด็นหรือกระฉอกเข้าตาจะต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง อย่างฉับพลันและให้ดึงหนังตาล่าง และหนังตาบนอยู่เสมอ ห้ามใช้น้ำร้อนล้างตาเป็นอันขาด แล้วรีบส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลทันที
- กรณีที่แอลพีจีเหลว ถูกผิวหนัง จะต้องล้างด้วยน้ำทันที และเมื่อเสื้อผ้าเปียกชุ่มด้วยแอลพีจีเหลว จะต้องถอดเสื้อผ้าออกทันที แล้วอาบน้ำชำระล้างผิวหนังด้วยน้ำให้หมด ห้ามใช้น้ำร้อนชำระล้างผิวหนังเป็นอันขาด ถ้าหากรู้สึกระคายเคืองผิวหนังหลังจากชำระล้าง ด้วยน้ำเรียบร้อยแล้ว จะต้องส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลทันที
- กรณีที่หายใจเอาแอลพีจีเข้าไปในปริมาณที่สูงจะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ถ้าหากผู้ป่วยนั้นหยุดหายใจ จะต้องช่วยผายปอดหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ แล้วจึงให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น แล้วส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลโดยเร็ว



 
จากคุณ คนเมือง (124.157.212.165) เมื่อวันที่ 2/7/2008


หัวข้อ: Re: เรื่องของแก็สและพลังงาน ไปอ่านเจอมาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: hodo_ebola ที่ 23 ธันวาคม 2008, 11:06:33
ปอตอทวย.. ???


หัวข้อ: Re: เรื่องของแก็สและพลังงาน ไปอ่านเจอมาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ton_Dezember ที่ 23 ธันวาคม 2008, 12:03:34
ปอตอทวย.. ???

เห็นด้วยกะเอ็งว่ะเก๋


หัวข้อ: Re: เรื่องของ แก็ส และ พลังงาน ไปอ่านเจอมาครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kapum ที่ 23 ธันวาคม 2008, 12:41:06
 :-* :-* :-* เปิดหู เปิดตากันครับ