หัวข้อ: เม็ดน้ำมันปูแดง <==== ใครเคยลองมั่งครับ เริ่มหัวข้อโดย: mapandy ที่ 27 ตุลาคม 2009, 16:44:31 ไปเจอข้อมูลในเว็บนี้มา
http://www.poodangkitozan.com/oil.html ใครเคยลองมั่งครับ ;D หัวข้อ: Re: เม็ดน้ำมันปูแดง <==== ใครเคยลองมั่งครับ เริ่มหัวข้อโดย: mrnan ที่ 27 ตุลาคม 2009, 16:53:09 ยังไม่เคยลอง
รอข้อมูลด้วยคนครับ 8) 8) 8) 8) หัวข้อ: Re: เม็ดน้ำมันปูแดง <==== ใครเคยลองมั่งครับ เริ่มหัวข้อโดย: Darr_EK ที่ 27 ตุลาคม 2009, 17:44:44 ::) ::) ::) ::) ::) ::)
หัวข้อ: Re: เม็ดน้ำมันปูแดง <==== ใครเคยลองมั่งครับ เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 27 ตุลาคม 2009, 20:00:06 มันคือสารเคมีตัวนึงชื่อ ACETONE ผสมลงไปแล้วน้ำมันจะระเหยเร็วมาก กล่าวคือ ประหยัดถ้าวิ่งทางไกล แต่ถ้าจอดไว้นานๆ ขับก็ระเหยออกจากถังไวเหมือนกัน :-*
http://www.lubedev.com/smartgas/acetone.jpg นักเคมี และนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ คุ้นเคยกับ Acetone ดี (Dimethyl Ketone หรือ Propanone หรือ CH3COCH3) ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีข่าวว่าการเติม Acetone ลงเล็กน้อยในถังน้ำมัน ช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้ มีทฤษฎีสมคบคิดด้วย ว่าบริษัทน้ำมันรวมหัวกันสร้างความไม่น่าเชื่อถือแก่การเติม Acetone เพราะว่ามันประหยัดน้ำมัน แล้วมันเป็นไปได้ยังไงล่ะ เครื่องยนต์สร้างกำลังได้โดยเปลี่ยนน้ำมันไปเป็นพลังงาน แต่ก่อนจะเปลี่ยนนำมันไปเป็นพลังงานนั้น น้ำมันต้องอยู่ในรูปของไอน้ำมันก่อน Acetone ไปลดแรงตึงผิวของน้ำมัน ทำให้น้ำมันระเหยเป็นไอได้ดีขึ้น หมายความว่าเผาไหม้ได้ดีขึ้น ปล่อย Hydrocarbon ออกมาน้อยลง และประหยัด แต่เรื่องอย่างนี้ต้องพิสูจน์ จริงหรือไม่ ต้องปรับส่วนผสมให้เข้ากับภูมิอากาศ-อุณหภูมิ-ความชื้น ของบ้านเราบ้างหรือไม่ การใช้ Acetone ไม่สามารถคุยกับบริษัทน้ำมันได้ นอกจากเป็นเรื่องผลประโยชน์ขัดแย้งแล้ว น้ำมันที่ระเหยเร็ว ก็ยังก่อให้เกิดความสูญเสียกับบริษัทน้ำมันและปัมป์น้ำมันอีกด้วย ดังนั้นหากจะเติม เจ้าของรถก็ต้องเติมเอง จึงทำให้เกิดปัญหาที่สอง คือสัดส่วนที่จะต้องเติม บางทีอาจจะต้องมีเครื่องมือผสม Acetone อัตโนมัติ และ/หรือ บ่อพักน้ำมันเพื่อผสม Acetone ก่อนจะส่งเข้าเครื่องยนต์มั๊ง ข้อมูลอ้างอิง * Acetone in Fuels (A Study of Dymethylketone or propanone) * Acetone in Fuel Said to Increase Milage 15-35% ที่จะนำมากล่าวถึงและแนะนำให้ใช้ในที่นี่คือ ACETONE และ ข้อมูลด้านล่างนี้ เป็นข้อมูลโดยสังเขป จากศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ (MSDS: เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์) ชื่อเคมีทั่วไป : Acetone : Dimethyl ketone สูตรทางเคมี : C3COCH3 สถานะ : ของเหลว สี : ใส ไม่มีสี จุดเดือด : 56.5 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ : 0.79 ความหนืด : 0.32 ความดันไอ(มม.) 400 ที่ 39.5 องศาเซลเซียส การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการทำเครื่องสำอางค์ เป็นตัวทำละลาย ใช้ในการชะล้าง เป็นสารไล่น้ำ การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด จุดวาบไฟ : -20 องศาเซลเซียส จุดลุกติดไฟได้เอง : 465 องศาเซลเซียส LEL % : 2.5 UEL % : 12.8 - การระเบิดจะเกิดขึ้นได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่าจุดวาบไฟ - ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศจะระเบิดได้ภายในขีดจำกัดความไวไฟ - ไอระเหยสามารถแพร่กระจายไปสู่แหล่งจุดติดไฟและเกิดไฟย้อนกลับมาได้ - การสัมผัสกับสารออกซิไดซ์อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้ - ภาชนะที่ปิดผนึกสนิทอาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน - สารนี้ว่องไวต่อประจุไฟฟ้าสถิตย์ รายละเอียดหาเพิ่มเติมได้จากข้อมูล MSDS ของ ACETONE การนำมาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเผาไหม้ ทำได้คือการนำมาผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันดีเซล : 1.6 ซีซี ต่อ น้ำมัน 1 ลิตร น้ำมันเบนซิน : 2.5 ซีซี ต่อน้ำมัน 1 ลิตร(ยกเว้นแก๊สโซฮอลทุกชนิด) * ห้ามเติมเกินกว่าตัวเลขที่ระบุ เพราะไม่ก่อให้เกิดผลดีเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด กลับให้ผลเสียมากกว่า การผสม ตวงปริมาณ Acetone ตามอัตราส่วนที่ต้องการผสม เติมลงถังน้ำมันและเติมน้ำมันตามทันที ผลของการผสม Acetone ในน้ำมัน ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำมัน ทำให้น้ำมันระเหยเป็นไอได้ดีขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเผาไหม้ที่ดีขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น ทำระยะทางได้มากขึ้นต่อน้ำมัน 1 ลิตร คำเตือน ระหว่างการใช้งาน อย่าอยู่ใกล้สิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟได้ รวมถึงอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ห้ามเติมเกินกว่าตัวเลขที่ระบุข้างต้น เก็บขวดบรรจุ Acetone ในที่อากาศถ่ายเทได้ ไม่ร้อนจัด ห่างไกลประกายไฟ ข้อแนะนำนี้ ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้อีกจากอินเตอร์เน็ต Acetone, Acetone as Fuel Additive บาง ท่านอาจสงสัยว่า ถ้ามีผลดีอย่างนี้แล้ว ทำไมบริษัทผู้ผลิตน้ำมันไม่ผสมมาจากโรงงาน? คำตอบคือ เมื่อผสมแล้วจะทำให้เกิดระเหยของน้ำมันเร็วขึ้น ทำให้เกิดความสูญเสียต่อผู้ผลิตและผู้ค้าโดยตรง การนำ Acetone ไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้า ได้มีกฏหมายคุ้มครองไว้แล้วเพราะได้มีการจดสิทธิบัตรในเรื่องดังกล่าวแล้วใน ประเทศไทย โดยคนไทย นับตั้งแต่ปี 4 สิงหาคม 2544 คุ้มครองจนถึง 7 ธันวาคม 2560 ส่วนการเผยแพร่และทดลองใช้ด้วยตนเองสามารถทำได้ครับ หัวข้อ: Re: เม็ดน้ำมันปูแดง <==== ใครเคยลองมั่งครับ เริ่มหัวข้อโดย: PowerPig ที่ 20 มกราคม 2010, 11:11:16 กำลังดังเลย ช่วงนี้
|