:::CIVIC CLUB THAILAND:::

คุยคุ้ย Civic => Civic Club Alternative Energy => พลังงานทางเลือก => ข้อความที่เริ่มโดย: srithanon ที่ 23 มิถุนายน 2010, 15:41:31



หัวข้อ: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 23 มิถุนายน 2010, 15:41:31
ขอเข้าประเด็นก็แล้วกันครับ   เมื่อวานและวันนี้รวมทั้งสองวันผมได้ทำการตรวจซ่อมอาการรอบเดินเบาของรถ Honda civic EK96  ซึ่งเป็นรถที่บ้านผมเอง   รถใช้น้ำมันและระบบแก็ส Fix mixer  ปัญหาของมันก็คือในขณะที่ใช้ระบบน้ำมันในการสตาร์ทเครื่องยนต์และสลับมาใช้ระบบแก็ส    รอบเครื่องยนต์ทั้งในช่วงใช้น้ำมันและแก็สทำไมมันรอบตกลงมา พอเข้าเกียร์เดินหน้า ตัว D เครื่องเกือบดับ  หรือบางครั้งก็ดับ   จอดติดไฟแดงรอบก็สวิงจนเกือบดับ เอาล่ะซิงานเข้าแล้วเรา  ยิ่งไม่ค่อยมีเวลาซ่อมอยู่ด้วย    ทนใช้มาสองวันอาการยิ่งหนักขึ้นขณะที่ใช้ระบบน้ำมันอย่างเดียว 
ในรอบเดินเบาของระบบน้ำมันหากไม่ปกติ มันมีผลกับระบบแก็ส เพราะการคอนโทรลรอบเดินเบาของระบบแก็ส แบบ Fix mixer  จะอาศัยแรงดูดของแว็คคั่มที่ท่อไอดี มาดูดให้แผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มแก็ส ให้มีแรงกดที่ก้านกระเดื่องวาวล์ปิดเปิดให้แก็สไหลจากห้องจ่ายแก็สไปสู้ห้องมิ๊กเซอร์ ที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มีแรงดูดไม่สม่ำเสมอ  ทำให้วาวล์ไม่สามารถที่จะปิดเปิดการจ่ายแก็สในช่วงรอบเดินเบาได้คงที่  ถึงแม้จะปรับสกรูไอเดิลเพื่อให้ต้านการกดของแผ่นไดอะแฟรมที่กระทำต่อก้านกระเดื่องวาวล์  เพื่อกำหนดปริมาณแก็สให้ไหลผ่านจังหวะรอบเดินเบาก็ตาม  พูดง่ายๆไมสามารถปรับตัว สกรูเซ้นซิทีปและไอเดิลที่หม้อต้มแก้สได้  ทำให้รอบเครื่องยนต์สวิงและต่ำจนเครื่องดับ เมื่อมีการเบาเครื่องยนต์หรือจอดรถติดไฟแดง   
แนวทางในการตรวจซ่อม ปกติทั่วไปแล้วอาการที่เป็นแบบนี้  ส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาจะมองไปที่ระบบควบคุมรอบเดินเบาของเครื่องยนต์   เมื่อเอ่ยถึงระบบควบคุมรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ มันกว้างที่จะชี้เป้าที่ตรงส่วนที่ชำรุดได้  เนื่องจากรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ที่ควบคุมด้วยระบบ ECU จะอาศัย sensor หลายภาคส่วนเข้ามาทำงานร่วมกัน ตามสภาวะของเครื่องยนต์ที่ใช้
งาน ทั้งมีโหลดและไม่มีโหลด ก็ต้องอาศัย sensor ในส่วนนั้นๆ เข้ามาส่งข้อมูลให้กับ ECU  เพื่อกำหนดให้หัวฉีด มีความถี่ในการฉีดน้ำมัน ตามสภาวะของเครื่องยนต์  เพื่อให้มีความเหมาะสม
ในเรื่องของอัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมัน
ในยามปกติเครื่องยนต์จะอยู่ในรอบเดินเบาที่อาศัยการทำงานของ ตัวเซ็นเซอร์หลักๆอยู่สามสี่จุด
คือ แว็คคั่มเซ็นเซอร์  ทีพีเอสเซ็นเซอร์  สเต็ปมอเตอร์ หรือ โรตารี่โซลินอยวาวล์( แล้วแต่รุ่นของรถที่ใ ช้)  ISC  เซ็นเซอร์อุณหภูมิของน้ำ และอากาศ   เซ็นเซอร์ที่กล่าวมานี้ จะทำงานได้ดีก็ต้องอาศัยสภาพความสมบูรณ์ของภาคส่วนอื่นๆเข้ามาเป็นส่วนประกอบ  เช่นระบบไฟจุดระเบิด  ระบบแรงดันของน้ำมันในท่อเรคกูเลเตอร์รางของหัวฉีด  ดังนั้นการที่จะตรวจเช็คจะต้องแบ่งภาคส่วนที่จะตรวจสอบหลักๆก่อน
เนื่องจากว่าการจะตรวจสอบในเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ที่ควบคุมด้วยระบบ ECU  จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของระบบแรงดันของน้ำมัน ระบบการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ให้มีความถูกต้องเสียก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยในการในการส่งผลอ้างอิง ให้ระบบ sensor ต่างๆที่ส่งข้อมูลไปให้ ECU โดยเฉพาะในจังหวะรอบเดินเบาของเครื่องยนต์   หลายๆคนอาจจะมองข้ามไป ว่ามันไม่เกี่ยวข้อง  จริงแล้วเกี่ยวข้องอย่างมากและเป็นหัวใจในการทำงานของเครื่องยนต์   ที่กล่าวอย่างนี้ ก็เพราะว่าในระบบเครื่องยนต์หลักการทั่วๆไป  จะทำงานได้สมบูรณ์ ต้องประกอบไปด้วย ระบบจุดระเบิด ระบบการจ่ายน้ำมัน และระบบอากาศ    เราต้องให้การทำงานของสามสิ่งนี้ถูกต้องและสมบูรณ์เสียก่อน  หลังจากนั้นจึงเอาผลที่ได้นี้เป็นข้อมูลให้ระบบ sensor ทำหน้าที่เก็บเอาความสมบูรณ์ของระบบเครื่องยนต์ และถูกกำหนดในการโปรแกรมให้ ECU เก็บเป็นตัวอ้างอิงในการประมวลผล   หากกการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์แล้ว ผลของกำลังอัดหรือแรงดูดของแว็คคั่มที่ท่อร่วมไอดีจะตก  ซึ่งแรงดูดของแว็คคั่มนี้จะมีผลต่อตัวแว็คคั่มเซ็นเซอร์ ซึ่งตัวของมันจะทำหน้าที่วัดแรงดูดของท่อร่วมไอดีแล้วเปลี่ยนเป็นโวลเต็จ แล้วส่งไปให้ ECU กำหนดให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันให้มีเหมาะสมกับรอบเดินเบาของเครื่องยนต์
แต่ถ้าหากระบบจุดระเบิด   ที่ประกอบในการทำงานร่วมกันของระบบไฟจุดระเบิด ระบบน้ำมันและอากาศ มีส่วนหนึ่งส่วนใดในสามสิ่งที่กล่าว  มีปัญหา เช่นการเกิดประกายไฟที่หัวเทียนต่ำ อันมาจากหัวเทียนบอด หรือในส่วนของระบบน้ำมัน อาจจะมีแรงดันต่ำในรางหัวฉีด  แน่นอนการจุดระเบิดก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้แรงดูดที่ท่อร่วมไอดีต่ำ 
ที่ผมพยายามกล่าวถึงส่วนที่เกี่ยวข้องให้เห็น  เพื่อจะให้ทราบว่าในการแก้ปัญหารอบเดินเบาของเครื่องยนต์ จุดที่จะต้องทำการตรวจสอบก่อนก็คือ ความเป็นปกติของระบบไฟจุดระเบิด ก็จะต้องโยงไปถึงหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ในทางปฏิบัติเราจะใช้แบบง่ายๆในการตรวจเช็คก่อน เช่นดึงสายไฟหัวเทียนสูบหนึ่งสูบใดออก ในขณะที่เครื่องยนต์ติด  แล้วดูผลอาการของเครื่องที่มีผลตอบสนอง เช่นรอบเครื่องยนต์ตกลง(  ในกรณีที่เครื่องยนต์มีรอบเดินเบาต่ำอยู่แล้ว ให้ปิดแอร์ เข้าเกียร์ว่าง ) เพราะเครื่องยนต์ไม่มีโหลดทำให้รอบเครื่องยนต์ไม่ค่อยตก พอจะสังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้
หากดึงสายหัวเทียนแต่ละสูบแล้ว ปรากฏว่าไม่มีผลตอบสนองกล่าวคือรอบเครื่องยนต์ยังเหมือนเดิม  ก็แสดงว่ามีปัญหาเรื่องหัวเทียน อาจจะบอด หรือสายหัวเทียนมีค่าความต้านทานสูง
ทำให้เกิดโวลเต็จดร๊อปในสายไฟ ไฟที่ไปจ่ายให้หัวเทียนก็ต่ำ ผลก็คือจุดระเบิดไม่สมบูรณ์ กำลังอัดก็ต่ำแรงดูดที่ท่อร่วมไอดีก็ต่ำ  ทำให้แว็คคั่มเซ็นเซอร์มีปัญหา ส่งข้อมูลไม่ถูกต้องตามที่ถูกโปรแกรมเอาไว้ ทำให้ ECU สั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันมากขึ้น  ทำให้อัตราส่วนผสมหนา ผลก็คือรอบเครื่องยนต์ตก
ก็ขอวกเข้าเรื่องปัญหารอบเดินเบาที่ผมตรวจซ่อมและแก้ไขมาก็แล้วกัน  อาการก็ดังที่ผมกล่าวในเบื้องต้นข้างบนนี้แล้ว    ในช่วงแรกผมได้ทำการถอดเรือนลิ้นปีกผีเสื่ออกมาล้างทำความสะอาด
ตรวจเช็คระบบโรตารี่โซลินอยวาวล์  ด้วยการป้อนไฟให้กับตัวของมันที่ ตำแหน่ง RSO  และ RSC  เพื่อดูว่ามันทำงานปิดเปิดช่องพอร์ทให้อากาศผ่านเข้าไปท่อไอดีปกติหรือไม่  ปรากฏว่าปกติ  หลังจากทำความสะอาดแล้วก็ประกอบกลับ  ส่วนเจ้าตัว TPS ผมไม่ตรวจเช็คเพราะมันทำงานถูกต้องอยู่แล้ว ทั้งตำแหน่งรอบเดินเบาและอัตราเร่ง  หลังจากประกอบกลับเข้าที่เดิม อาการดังกล่าวก็ยังคงเหมือนเดิม  แต่ก็ไม่แปลกใจเพราะคิดอยู่แล้วว่าไม่น่าจะเป็นที่ส่วนของเรือนปีกผีเสื้อ  แต่ก็ต้องการทำความสะอาดเพราะรู้อยู่แล้วว่า การใช้ระบบแก็สย่อมเกิดเขม่าและคราบของขี้แก็ส ติดตามผนังภายในของลิ้นปีกผีเสื้อ หลังจากนั้นผมได้ทำการตรวจเช็คเซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำและอากาศ ก็ปกติทั้งสองอย่าง   ขั้นตอนต่อไปก็ตรวจสอบมุมองศาการจุดระเบิดที่กำเนิดภายในจานจ่ายว่ามีสัญญาณถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งระบบไฟจุดระเบิด  ทำไมถึงมองมาที่ระบบนี้  เพราะจากการตรวจเช็คส่วนอื่นๆแล้วไม่พบความบกพร่อง ความจริงแล้วผมควรจะตรวจที่ระบบนี้ก่อน
แต่ไปมองภาพรวมในการแก้ปัญหา  ว่าควรตรวจสอบในระบบเซ็นเซอร์ในการคอนโทรลรอบเดินเบา  เหมือนกับช่างทั่วๆไป  โดยความน่าจะเป็นน่ามาจากระบบเซ็นเซอร์    ความจริงเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเหมือนกับข้อมูลที่ผมกล่าวมาข้างบนนี้ 
จากการตรวจสอบการทำงานที่ระบบจุดระเบิดนี้ มีช่วงหนึ่งของความคิดให้นึกถึงปัญหาหญ้าปากคอกหรือเส้นผมบังภูเขา   มัวแต่หลงเข้าป่าเข้าพงอยู่ได้ก็ทำไมเราไม่ตรวจไฟสูงที่สายหัวเทียนและหัวเทียน  เพราะหลายครั้งที่เคยตรวจซ่อมเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ในระบบคาร์บิว
เคยเช็คสายหัวเทียนและหัวเทียน ที่ทำให้ไฟโวลเต็จสูงจากจานจ่ายมีโวลเต็จต่ำ ไม่ค่อยมีประกายไฟที่หัวเทียน  ทำให้การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์ไม่ค่อยมีกำลังและรอบเดินเบาตก
หลังจากนั้นผมก็ทำการตรวจสอบประกายไฟที่หัวเทียนก่อนเลย มีอยู่สองสูบคือสูบที่หนึ่งกับสูบสาม มีปัญหากล่าวคือสูบหนึ่ง หัวเทียนบอด(ไม่ค่อยมีประกายไฟออก )แต่ที่ปลายสายไฟที่เสียบเข้าที่หัวเทียนมีไฟสูงพอประมาณแต่ไม่ถึงกับดี  ส่วนสูบที่สาม สายหัวเทียนมีค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นทำให้เกิดโวลเต็จดร็อปภายในสายมาก  ไฟที่หัวเทียนมีน้อย   มิน่าล่ะทำให้กำลังอัดของเครื่องยนต์ต่ำมากๆ ทำให้รอบเดินเบามีปัญหา     หลังจากที่พบอาการดังกล่าวผมได้ทำการเปลี่ยนสายหัวเทียนใหม่ทั้งชุด รวมทั้งหัวเทียน   หลังจากประกอบและเปลี่ยนเรียบร้อยแล้วก็ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์
ผลที่ออกมา สตาร์ทเครื่องติดง่าย รอบเดินเบาปกติอัตราเร่งดี แถมเมื่อAuto switch มาที่ระบบแก็ส ก็เยี่ยม รอบเดินเบาของแก็สดีมาก ทั้งเข้าเกียร์เปิดแอร์รอบยังค่อนข้างนิ่ง ต่อจากนั้นผมก็หันมาทำการปรับจูนระบบแก็สที่หม้อต้มใหม่  เพราะได้ทำการเปลี่ยนชุดซ่อมของหม้อต้มในคราวเดียวกันกับที่ซ่อมเรื่องรอบเดินเบา  การปรับจูนที่ตัว sensitive และ Idle ที่หม้อต้มแก็ส ปรับได้ง่ายและจ่ายแก็สรอบเดินเบาได้ดี
ก็อยากจะสรุปในเรื่องการตรวจเช็คหาส่วนที่บกพร่อง ในเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์  ควรจะแก้ไขในส่วนของการใช้ในระบบน้ำมันให้ปกติเสียก่อน  ก่อนที่จะทำการติดตั้งระบบแก็ส หากเครื่องยนต์ผ่านการใช้งานมาหลายปีก็อย่าลืมตั้งวาวล์ใหม่ด้วย  และประการที่สำคัญก่อนที่จะวิเคราะห์หาข้องบกพร่องในปัญหารอบเดินเบาของเครื่องยนต์  ควรจะตรวจเซ็คเรื่องระบบไฟจุดระเบิด รวมทั้งสายหัวเทียนและหัวเทียนให้มีความถูกต้องเสียก่อน  แล้วค่อยไปหาส่วนบกพร่องของระบบเซ็นเซอร์ที่เกี่ยวข้องในรอบเดินเบา  ก็จะทำให้การแก้ไขปัญหารอบเดินเบาได้ง่ายขึ้น   บางครั้งเครื่องคอนเซ้าท์พวก OBD ก็ไม่สามารถจะเช็ค Error code อาการที่เสียได้ เพราะบางอาการไม่มีข้อมูลในเครื่อง ต้องอาศัยความเข้าใจการทำงานของเครื่องยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ( ECU )
มาวิเคราะห์หาข้อบกพร่องของระบบ  ก็ขออภัยท่านผู้อ่านด้วยที่พิมพ์ยืดยาว  เพราะจะสรุปสั้นๆก็จะไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรและเกี่ยวข้องกันอย่างไร ในการทำงานของระบบที่ต้องมีตัวช่วย ก็เลยเป็นที่มาของกระทู้ที่มีเนื้อหายาว และก็ขออภัยหากมีส่วนใดที่ไม่ถูกหรือขาดที่มาที่ไปในการอ้างอิง เพราะผมเอาจากประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังครับ ??srithanon


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: beer4353 ที่ 23 มิถุนายน 2010, 15:57:52
+10     :-* :-* :-*


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: fff_1232 ที่ 23 มิถุนายน 2010, 18:58:27
 8)


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: 97civic ที่ 25 มิถุนายน 2010, 16:40:22
 :-* :-* :-* :-* :-* :-*


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: Roon-C100 ที่ 30 มิถุนายน 2010, 19:44:22
เมื่อวานไปเปลี่ยนผ้าหม้อต้ม+กรองหม้อต้มหัวฉีดมา ค่าของ+ค่าแรง 1800 ไม้รู้แพงไปป่าว :( :(


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 01 กรกฎาคม 2010, 07:14:15
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าน่าจะไม่เกิน 1000 บาท   ค่าชุดซ่อมหม้อต้มจะประมาณ ไม่เกิน 700 บาท ค่าแรงสัก 300 บาท ราคามิตรภาพ   สงสัยชุดซ่อมหม้อต้มแพงเกินไปถึงคิดประมาณนั้น


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: pingpong-atts ที่ 23 สิงหาคม 2010, 10:35:05
ขอเข้าประเด็นก็แล้วกันครับ   เมื่อวานและวันนี้รวมทั้งสองวันผมได้ทำการตรวจซ่อมอาการรอบเดินเบาของรถ Honda civic EK96  ซึ่งเป็นรถที่บ้านผมเอง   รถใช้น้ำมันและระบบแก็ส Fix mixer  ปัญหาของมันก็คือในขณะที่ใช้ระบบน้ำมันในการสตาร์ทเครื่องยนต์และสลับมาใช้ระบบแก็ส    รอบเครื่องยนต์ทั้งในช่วงใช้น้ำมันและแก็สทำไมมันรอบตกลงมา พอเข้าเกียร์เดินหน้า ตัว D เครื่องเกือบดับ  หรือบางครั้งก็ดับ   จอดติดไฟแดงรอบก็สวิงจนเกือบดับ เอาล่ะซิงานเข้าแล้วเรา  ยิ่งไม่ค่อยมีเวลาซ่อมอยู่ด้วย    ทนใช้มาสองวันอาการยิ่งหนักขึ้นขณะที่ใช้ระบบน้ำมันอย่างเดียว 
ในรอบเดินเบาของระบบน้ำมันหากไม่ปกติ มันมีผลกับระบบแก็ส เพราะการคอนโทรลรอบเดินเบาของระบบแก็ส แบบ Fix mixer  จะอาศัยแรงดูดของแว็คคั่มที่ท่อไอดี มาดูดให้แผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มแก็ส ให้มีแรงกดที่ก้านกระเดื่องวาวล์ปิดเปิดให้แก็สไหลจากห้องจ่ายแก็สไปสู้ห้องมิ๊กเซอร์ ที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มีแรงดูดไม่สม่ำเสมอ  ทำให้วาวล์ไม่สามารถที่จะปิดเปิดการจ่ายแก็สในช่วงรอบเดินเบาได้คงที่  ถึงแม้จะปรับสกรูไอเดิลเพื่อให้ต้านการกดของแผ่นไดอะแฟรมที่กระทำต่อก้านกระเดื่องวาวล์  เพื่อกำหนดปริมาณแก็สให้ไหลผ่านจังหวะรอบเดินเบาก็ตาม  พูดง่ายๆไมสามารถปรับตัว สกรูเซ้นซิทีปและไอเดิลที่หม้อต้มแก้สได้  ทำให้รอบเครื่องยนต์สวิงและต่ำจนเครื่องดับ เมื่อมีการเบาเครื่องยนต์หรือจอดรถติดไฟแดง   
แนวทางในการตรวจซ่อม ปกติทั่วไปแล้วอาการที่เป็นแบบนี้  ส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาจะมองไปที่ระบบควบคุมรอบเดินเบาของเครื่องยนต์   เมื่อเอ่ยถึงระบบควบคุมรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ มันกว้างที่จะชี้เป้าที่ตรงส่วนที่ชำรุดได้  เนื่องจากรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ที่ควบคุมด้วยระบบ ECU จะอาศัย sensor หลายภาคส่วนเข้ามาทำงานร่วมกัน ตามสภาวะของเครื่องยนต์ที่ใช้
งาน ทั้งมีโหลดและไม่มีโหลด ก็ต้องอาศัย sensor ในส่วนนั้นๆ เข้ามาส่งข้อมูลให้กับ ECU  เพื่อกำหนดให้หัวฉีด มีความถี่ในการฉีดน้ำมัน ตามสภาวะของเครื่องยนต์  เพื่อให้มีความเหมาะสม
ในเรื่องของอัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมัน
ในยามปกติเครื่องยนต์จะอยู่ในรอบเดินเบาที่อาศัยการทำงานของ ตัวเซ็นเซอร์หลักๆอยู่สามสี่จุด
คือ แว็คคั่มเซ็นเซอร์  ทีพีเอสเซ็นเซอร์  สเต็ปมอเตอร์ หรือ โรตารี่โซลินอยวาวล์( แล้วแต่รุ่นของรถที่ใ ช้)  ISC  เซ็นเซอร์อุณหภูมิของน้ำ และอากาศ   เซ็นเซอร์ที่กล่าวมานี้ จะทำงานได้ดีก็ต้องอาศัยสภาพความสมบูรณ์ของภาคส่วนอื่นๆเข้ามาเป็นส่วนประกอบ  เช่นระบบไฟจุดระเบิด  ระบบแรงดันของน้ำมันในท่อเรคกูเลเตอร์รางของหัวฉีด  ดังนั้นการที่จะตรวจเช็คจะต้องแบ่งภาคส่วนที่จะตรวจสอบหลักๆก่อน
เนื่องจากว่าการจะตรวจสอบในเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ที่ควบคุมด้วยระบบ ECU  จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของระบบแรงดันของน้ำมัน ระบบการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ให้มีความถูกต้องเสียก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยในการในการส่งผลอ้างอิง ให้ระบบ sensor ต่างๆที่ส่งข้อมูลไปให้ ECU โดยเฉพาะในจังหวะรอบเดินเบาของเครื่องยนต์   หลายๆคนอาจจะมองข้ามไป ว่ามันไม่เกี่ยวข้อง  จริงแล้วเกี่ยวข้องอย่างมากและเป็นหัวใจในการทำงานของเครื่องยนต์   ที่กล่าวอย่างนี้ ก็เพราะว่าในระบบเครื่องยนต์หลักการทั่วๆไป  จะทำงานได้สมบูรณ์ ต้องประกอบไปด้วย ระบบจุดระเบิด ระบบการจ่ายน้ำมัน และระบบอากาศ    เราต้องให้การทำงานของสามสิ่งนี้ถูกต้องและสมบูรณ์เสียก่อน  หลังจากนั้นจึงเอาผลที่ได้นี้เป็นข้อมูลให้ระบบ sensor ทำหน้าที่เก็บเอาความสมบูรณ์ของระบบเครื่องยนต์ และถูกกำหนดในการโปรแกรมให้ ECU เก็บเป็นตัวอ้างอิงในการประมวลผล   หากกการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์แล้ว ผลของกำลังอัดหรือแรงดูดของแว็คคั่มที่ท่อร่วมไอดีจะตก  ซึ่งแรงดูดของแว็คคั่มนี้จะมีผลต่อตัวแว็คคั่มเซ็นเซอร์ ซึ่งตัวของมันจะทำหน้าที่วัดแรงดูดของท่อร่วมไอดีแล้วเปลี่ยนเป็นโวลเต็จ แล้วส่งไปให้ ECU กำหนดให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันให้มีเหมาะสมกับรอบเดินเบาของเครื่องยนต์
แต่ถ้าหากระบบจุดระเบิด   ที่ประกอบในการทำงานร่วมกันของระบบไฟจุดระเบิด ระบบน้ำมันและอากาศ มีส่วนหนึ่งส่วนใดในสามสิ่งที่กล่าว  มีปัญหา เช่นการเกิดประกายไฟที่หัวเทียนต่ำ อันมาจากหัวเทียนบอด หรือในส่วนของระบบน้ำมัน อาจจะมีแรงดันต่ำในรางหัวฉีด  แน่นอนการจุดระเบิดก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้แรงดูดที่ท่อร่วมไอดีต่ำ 
ที่ผมพยายามกล่าวถึงส่วนที่เกี่ยวข้องให้เห็น  เพื่อจะให้ทราบว่าในการแก้ปัญหารอบเดินเบาของเครื่องยนต์ จุดที่จะต้องทำการตรวจสอบก่อนก็คือ ความเป็นปกติของระบบไฟจุดระเบิด ก็จะต้องโยงไปถึงหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ในทางปฏิบัติเราจะใช้แบบง่ายๆในการตรวจเช็คก่อน เช่นดึงสายไฟหัวเทียนสูบหนึ่งสูบใดออก ในขณะที่เครื่องยนต์ติด  แล้วดูผลอาการของเครื่องที่มีผลตอบสนอง เช่นรอบเครื่องยนต์ตกลง(  ในกรณีที่เครื่องยนต์มีรอบเดินเบาต่ำอยู่แล้ว ให้ปิดแอร์ เข้าเกียร์ว่าง ) เพราะเครื่องยนต์ไม่มีโหลดทำให้รอบเครื่องยนต์ไม่ค่อยตก พอจะสังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้
หากดึงสายหัวเทียนแต่ละสูบแล้ว ปรากฏว่าไม่มีผลตอบสนองกล่าวคือรอบเครื่องยนต์ยังเหมือนเดิม  ก็แสดงว่ามีปัญหาเรื่องหัวเทียน อาจจะบอด หรือสายหัวเทียนมีค่าความต้านทานสูง
ทำให้เกิดโวลเต็จดร๊อปในสายไฟ ไฟที่ไปจ่ายให้หัวเทียนก็ต่ำ ผลก็คือจุดระเบิดไม่สมบูรณ์ กำลังอัดก็ต่ำแรงดูดที่ท่อร่วมไอดีก็ต่ำ  ทำให้แว็คคั่มเซ็นเซอร์มีปัญหา ส่งข้อมูลไม่ถูกต้องตามที่ถูกโปรแกรมเอาไว้ ทำให้ ECU สั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันมากขึ้น  ทำให้อัตราส่วนผสมหนา ผลก็คือรอบเครื่องยนต์ตก
ก็ขอวกเข้าเรื่องปัญหารอบเดินเบาที่ผมตรวจซ่อมและแก้ไขมาก็แล้วกัน  อาการก็ดังที่ผมกล่าวในเบื้องต้นข้างบนนี้แล้ว    ในช่วงแรกผมได้ทำการถอดเรือนลิ้นปีกผีเสื่ออกมาล้างทำความสะอาด
ตรวจเช็คระบบโรตารี่โซลินอยวาวล์  ด้วยการป้อนไฟให้กับตัวของมันที่ ตำแหน่ง RSO  และ RSC  เพื่อดูว่ามันทำงานปิดเปิดช่องพอร์ทให้อากาศผ่านเข้าไปท่อไอดีปกติหรือไม่  ปรากฏว่าปกติ  หลังจากทำความสะอาดแล้วก็ประกอบกลับ  ส่วนเจ้าตัว TPS ผมไม่ตรวจเช็คเพราะมันทำงานถูกต้องอยู่แล้ว ทั้งตำแหน่งรอบเดินเบาและอัตราเร่ง  หลังจากประกอบกลับเข้าที่เดิม อาการดังกล่าวก็ยังคงเหมือนเดิม  แต่ก็ไม่แปลกใจเพราะคิดอยู่แล้วว่าไม่น่าจะเป็นที่ส่วนของเรือนปีกผีเสื้อ  แต่ก็ต้องการทำความสะอาดเพราะรู้อยู่แล้วว่า การใช้ระบบแก็สย่อมเกิดเขม่าและคราบของขี้แก็ส ติดตามผนังภายในของลิ้นปีกผีเสื้อ หลังจากนั้นผมได้ทำการตรวจเช็คเซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำและอากาศ ก็ปกติทั้งสองอย่าง   ขั้นตอนต่อไปก็ตรวจสอบมุมองศาการจุดระเบิดที่กำเนิดภายในจานจ่ายว่ามีสัญญาณถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งระบบไฟจุดระเบิด  ทำไมถึงมองมาที่ระบบนี้  เพราะจากการตรวจเช็คส่วนอื่นๆแล้วไม่พบความบกพร่อง ความจริงแล้วผมควรจะตรวจที่ระบบนี้ก่อน
แต่ไปมองภาพรวมในการแก้ปัญหา  ว่าควรตรวจสอบในระบบเซ็นเซอร์ในการคอนโทรลรอบเดินเบา  เหมือนกับช่างทั่วๆไป  โดยความน่าจะเป็นน่ามาจากระบบเซ็นเซอร์    ความจริงเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเหมือนกับข้อมูลที่ผมกล่าวมาข้างบนนี้ 
จากการตรวจสอบการทำงานที่ระบบจุดระเบิดนี้ มีช่วงหนึ่งของความคิดให้นึกถึงปัญหาหญ้าปากคอกหรือเส้นผมบังภูเขา   มัวแต่หลงเข้าป่าเข้าพงอยู่ได้ก็ทำไมเราไม่ตรวจไฟสูงที่สายหัวเทียนและหัวเทียน  เพราะหลายครั้งที่เคยตรวจซ่อมเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ในระบบคาร์บิว
เคยเช็คสายหัวเทียนและหัวเทียน ที่ทำให้ไฟโวลเต็จสูงจากจานจ่ายมีโวลเต็จต่ำ ไม่ค่อยมีประกายไฟที่หัวเทียน  ทำให้การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์ไม่ค่อยมีกำลังและรอบเดินเบาตก
หลังจากนั้นผมก็ทำการตรวจสอบประกายไฟที่หัวเทียนก่อนเลย มีอยู่สองสูบคือสูบที่หนึ่งกับสูบสาม มีปัญหากล่าวคือสูบหนึ่ง หัวเทียนบอด(ไม่ค่อยมีประกายไฟออก )แต่ที่ปลายสายไฟที่เสียบเข้าที่หัวเทียนมีไฟสูงพอประมาณแต่ไม่ถึงกับดี  ส่วนสูบที่สาม สายหัวเทียนมีค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นทำให้เกิดโวลเต็จดร็อปภายในสายมาก  ไฟที่หัวเทียนมีน้อย   มิน่าล่ะทำให้กำลังอัดของเครื่องยนต์ต่ำมากๆ ทำให้รอบเดินเบามีปัญหา     หลังจากที่พบอาการดังกล่าวผมได้ทำการเปลี่ยนสายหัวเทียนใหม่ทั้งชุด รวมทั้งหัวเทียน   หลังจากประกอบและเปลี่ยนเรียบร้อยแล้วก็ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์
ผลที่ออกมา สตาร์ทเครื่องติดง่าย รอบเดินเบาปกติอัตราเร่งดี แถมเมื่อAuto switch มาที่ระบบแก็ส ก็เยี่ยม รอบเดินเบาของแก็สดีมาก ทั้งเข้าเกียร์เปิดแอร์รอบยังค่อนข้างนิ่ง ต่อจากนั้นผมก็หันมาทำการปรับจูนระบบแก็สที่หม้อต้มใหม่  เพราะได้ทำการเปลี่ยนชุดซ่อมของหม้อต้มในคราวเดียวกันกับที่ซ่อมเรื่องรอบเดินเบา  การปรับจูนที่ตัว sensitive และ Idle ที่หม้อต้มแก็ส ปรับได้ง่ายและจ่ายแก็สรอบเดินเบาได้ดี
ก็อยากจะสรุปในเรื่องการตรวจเช็คหาส่วนที่บกพร่อง ในเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์  ควรจะแก้ไขในส่วนของการใช้ในระบบน้ำมันให้ปกติเสียก่อน  ก่อนที่จะทำการติดตั้งระบบแก็ส หากเครื่องยนต์ผ่านการใช้งานมาหลายปีก็อย่าลืมตั้งวาวล์ใหม่ด้วย  และประการที่สำคัญก่อนที่จะวิเคราะห์หาข้องบกพร่องในปัญหารอบเดินเบาของเครื่องยนต์  ควรจะตรวจเซ็คเรื่องระบบไฟจุดระเบิด รวมทั้งสายหัวเทียนและหัวเทียนให้มีความถูกต้องเสียก่อน  แล้วค่อยไปหาส่วนบกพร่องของระบบเซ็นเซอร์ที่เกี่ยวข้องในรอบเดินเบา  ก็จะทำให้การแก้ไขปัญหารอบเดินเบาได้ง่ายขึ้น   บางครั้งเครื่องคอนเซ้าท์พวก OBD ก็ไม่สามารถจะเช็ค Error code อาการที่เสียได้ เพราะบางอาการไม่มีข้อมูลในเครื่อง ต้องอาศัยความเข้าใจการทำงานของเครื่องยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ( ECU )
มาวิเคราะห์หาข้อบกพร่องของระบบ  ก็ขออภัยท่านผู้อ่านด้วยที่พิมพ์ยืดยาว  เพราะจะสรุปสั้นๆก็จะไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรและเกี่ยวข้องกันอย่างไร ในการทำงานของระบบที่ต้องมีตัวช่วย ก็เลยเป็นที่มาของกระทู้ที่มีเนื้อหายาว และก็ขออภัยหากมีส่วนใดที่ไม่ถูกหรือขาดที่มาที่ไปในการอ้างอิง เพราะผมเอาจากประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังครับ ??srithanon


ขอบคุงข้อมูลดีๆคร้าบ กำลังประสบปัญหานี้พอดี... ;)


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: atiii ที่ 02 กันยายน 2010, 21:41:33
 8) 8)


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: panukij ที่ 12 กันยายน 2010, 09:08:57
เป็นความรู้..ขอบคุณ คับ


หัวข้อ: Re: เรื่องแก้ปัญหารอบเดินเบา กับอีกหนึ่งข้อมูลที่ควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: lek turbo ที่ 26 ตุลาคม 2010, 11:01:27
ขอบคุณมากๆ ครับไม่เคยคิดมาก่อน ชั้งก็ไม่เคยบอก เอาแต่จูนๆๆ อย่างเดียวไป มา 4-5 รอบแล้วเริ่มรำคาญ
เดียวจะลองเปลื่ยนหัวเทียนดูครับ.