แล้วก็มันได้มาจากห้องเครื่องนะครับ มันมาจากฝาครอบวาล์ว ในฝาครอบวาล์วมันมีการสันดาบด้วยหรือครับ อธิบายด้วยครับผมไม่ค่อย get
บทความในกระทู้นี้ ขอยกความดีให้กับคุณปู่ประสงค์ครับ
น้ำมันเครื่อง
ก่อน ที่จะรู้จักน้ำมันเครื่อง ที่จะใช้กับ เครื่องยนต์ ก็น่าที่จะต้องรู้จักเครื่องยนต์การทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อการใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกต้อง
เครื่องยนต์ มีหน้าที่ ผลิตกำลังงาน เป็น เครื่องยนต์ต้นกำลัง ใช้ฉุดลากรถให้เคลื่อนที่ เครื่องยนต์ แบ่ง ออกตามลักษณะการใช้เชื้อเพลิง ดังนี้
เครื่องยนต์เบนซิน ใช้น้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ดีเซล ใช้น้ำมันโซล่า เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ มีจังหวะการทำงานแบ่งออกเป็น 2 แบบ มีแบบ 2 จังหวะ ในการทำงาน 1 วัฎจักร และ 4 จังหวะ ในการทำงาน 1 วัฎจักร
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เริ่ม จังหวะ ดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด จังหวะคาย
เครื่อง ยนต์เบนซิน จังหวะดูด เริ่มจากลูกสูบ อยู่บนสุด เคลื่อนตัวลงพร้อมกับ วาล์วไอดี เริ่มเปิด ดูด อากาศที่ผสมเชื้อเพลิง ผ่านปากวาล์ว ไอดี ลูกสูบเคลื่อนตัวลงมาก วาล์วไอดี เปิดมากตามไปด้วยและจะค่อยๆปิด เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงจนต่ำสุด วาล์วไอดีก็จะปิดสนิท เป็นอันว่าเป็นการสิ้นสุด จังหวะดูด
จังหวะอัด ต่อจากจังหวะดูด เริ่มจากเมื่อ ลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้น อัดอากาศที่ผสมเชื้อเพลิง สมมุติ ส่วนผสมอากาศมี 10 ส่วน เมื่อลูกสูบอยู่ต่ำสุด เมื่อลูกสูบเคลื่อนขึ้นสูงสุด อัด 10 ส่วน จนเหลือเพียง 1 ส่วน จะเรียกว่าอัตราส่วน 10?1 ในจังหวะอัดนี้ วาล์วไอดี วาล์วไอเสีย จะปิดสนิท ลูกสูบขึ้นสุด เป็นอันว่าสิ้นสุดของจังหวะอัด
จังหวะระเบิด ต่อเนื่องจากจังหวะอัด ไฟแรงสูงจาก คอยล์ ทำให้หัวเทียน เกิดประกายไฟที่เขี้ยว ทำให้เกิดการเผาไหม้ ส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศ เกิดการขยายตัวของแก็สอย่างรุนแรง แรงอัด จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนตัวลง เกิดเป็นพลังงานกล
ทำให้ข้อเหวี่ยงหมุน เพื่อไปขับเคลื่อน ล้อ เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงจนสุด เป็นอันสิ้นสุดจังหวะระเบิด
จังหวะ คาย ต่อเนื่องจากจังหวะ ระเบิด เริ่มจากลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นพร้อมวาล์ว ไอเสียเริ่มเปิด เพื่อไล่ แก็สไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์ว ไอเสีย เปิดสุด และจะปิด เมื่อลูกสูบเคลื่อนขึ้นสูงสุด
ในจังหวะคายสิ้นสุด ต่อด้วยจังหวะดูด หัวลูกสูบอยู่สูงสุด เมื่อหมุนเครื่องเดินหน้า วาล์วไอดีเปิด หมุนเครื่องถอยหลัง วาล์วไอเสียเปิด จังหวะนี้เรียกกันว่า โอเวอร์แล็พ ( Overlap )
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบขึ้นสูงสุด 2 ครั้ง ลงต่ำสุด 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ กำลังงานที่ได้เพียง ครึ่งรอบ ได้ในจังหวะระเบิด ที่ลูกสูบถูกผลักลงด้วยแรง ระเบิด
ความแตกต่างระหว่าง เครื่องยนต์ ดีเซล กับเครื่องยนต์เบนซิน
จังหวะดูด การทำงานเหมือนกันกับเครื่องยนต์ เบนซิน แต่เครื่องยนต์ ดีเซล จะดูด แต่อากาศที่ไม่มีเชื้อเพลิงผสมเข้าไปด้วย
จังหวะ อัด ทำงานเหมือนกับ เครื่องยนต์เบนซิน แต่เครื่องยนต์ ดีเซล อัดแต่อากาศ ที่ไม่มีเชื้อเพลิง อัตราส่วนกำลังอัด จะแตกต่าง มีตั้งแต่ 19?1 ถึง 21?1
จังหวะระเบิด เครื่องยนต์ เบนซิน จุดระเบิด ด้วยหัวเทียนเกิดประกายไฟ แต่เครื่องยนต์ ดีเซล จุดระเบิด ด้วยการฉีดเชื้อเพลิงที่เป็นฝอย เข้าไปในอากาศที่ถูกอัดจนร้อนเป็นไฟ จึงเกิดการลุกไหม้ ทำให้เป็นจังหวะระเบิด
จังหวะคาย ทั้งเครื่องยนต์ เบนซิน และ เครื่องยนต์ ดีเซล จะมีหน้าที่ เหมือนกัน คือ การไล่แก็สไอเสียออกจากกระบอกสูบ เมื่อสิ้นสุด จังหวะคาย หัวลูกสูบ จะอยู่สูงสุด จบการทำงาน 1 ครั้ง ของ 4 จังหวะ และจะเริ่มทำงานใหม่ด้วย จังหวะดูด
หมายเหตุ ในจังหวะอัด เครื่องยนต์ ดีเซล อัดแต่อากาศ เมื่อกำลังอัด รั่วผ่านแหวน สวนทางกับลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้น เป็นเพียงอากาศรั่วลงไปในอ่างน้ำมันเครื่อง
และจะออกพร้อมไอน้ำมัน เครื่องทาง รูหายใจฝาครอบวาล์ว เข้าท่อไอดี ถูกดูด ผ่านปาก วาล์วไอดี จึงไม่มีผลกระทบ ให้เกิดความเสียหายกับน้ำมันเครื่อง
ในจังหวะอัด
เครื่องยนต์ เบนซิน อัดอากาศ พร้อม เชื้อเพลิง เมื่อกำลังอัด รั่วผ่านแหวนลูกสูบ อากาศที่มีเชื้อเพลิงผสม ส่วนหนึ่งของ เชื้อเพลิง จะเข้าไปปะปนกับน้ำมันเครื่อง เป็นเหตุให้ปริมาณ น้ำมันเครื่อง เพิ่ม จะเกิดรั่วมากเมื่อรอบเครื่องยนต์ต่ำ เดินเบา ในขณะรถติดเป็นเวลานาน เมื่อเครื่องยนต์รอบสูง กำลังอัด จะรั่วไหลน้อยลง
อันนี้อธิบายนะคับ :'( การเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิลทุกชนิด จะเกิด ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ + ไอน้ำ =
ในอากาศ จะมีความชื้นอยู่ เมื่อูกอัดตัวในห้องเผาไหม้ จะเกิดการควบแน่นเล็ดลอดผ่านแหวนลงไปในอ่างน้ำมันเครื่อง แต่เนื่องจากน้ำ มีจุดเดือดต่ำกว่า น้ำมันเครื่อง จึงระเหยตัว ลอยอยู่ดานบนสุด ที่เข้าไปในห้องเครื่องได้ ก็เพราะว่า ปั้มน้ำมันเครื่องไงคับ ถ้าคุณไม่เอาเวคคั่มจากท่อไอดีดูดออก ไอน้ำพวกนี้มันจะไป ผสมกับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จนกลายเป็นกรดกัมมะถันหรือ อีกชื่อสามัญ กรดซัลฟิวริก (อังกฤษ: sulfuric acid หรือ อังกฤษบริติช: sulphuric acid) , H2SO 4 กรดเดี่ยวกับในแบทเตอร์รี่ ชิมิ อันนี้แหละคับที่ต้องเอาไป สันดาปอีกครั้ง มันอันตราย
ไม่งั้นวิศกร ของพวกยุ่น คงไปปลดระวางเครื่องเมื่อวิ่งได้ไม่ถึงแสนโล หรอกคับ เพราะเครื่องถ้ามันหลวมมากๆ การก่อสารพวกนี้จะสูง
เครื่อง ก็ตกถึงบ้านเราก็หวานหมูพี่ไทย ผมก็อยาก รู้เหมือนกัน ไอน้ำมันเครื่อง ไอน้ำ กับ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มันจะเคลือบ บ่าวาล์วได้ไง ขนาดเครื่องเบนซิล หัวฉีดที่เราใช้กัน ฉีดน้ำมันลงไปหลังบ่าวาล์วไอดี ทุกจังหวะไอดีเปิด บ่ายังทรุดเลย แล้วแก๊ส เพียวๆมันจะไปเหลือเหรอ ลดความร้อน เหมือนน้ำมันก็ไม่ได้
อีกเสียงไม่จำเป็นต้องมี อะไรมาเลี้ยงบ่าวาวล์ครับ
ลองดู แท๊กซี่ซิครับ วิ่งกัน 4 แสน ถึง 1 ล้านโล ดูแล
แย่ กว่าพวกเราอีก แก๊ส ล้วน ๆ ยังอายุยืนยาว
ปล ผมก็ใช้แก๊ส หัวฉีด เอจีอยู่ครับ ยิ้ม
อ้อ จะวางเครื่องใหม่ ลองไปที่ อุ่ พี่ก่ำ แถววัดดงมุลเหล็ก
เก่งเรื่อง ฮอนด้าครับ ถูกมาก งานเนียนครับผม
ลองอ่านข่าวนี้ดูคับ แล้วจะรู้ว่า มีไม่กี่บล๊อกเครื่องหรอกคับที่ทน แล้วแทกซี่จะนิยมวาง
http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9510000083873 ที่กล้าพูด เพราะผมติดแก๊ส ตั้งแต่สมัยถัง มัลติวาล์วรุ่นแรกๆ รถตอนนั้นรถอายุ 7-8 ปีแล้ว วิ่งแก๊สเพียวๆ ไปสัก 30,000 โล อาการเริ่มออกทนขับอยู่นาน ทั้ง แบคไฟท์ รอแกว่ง ติดๆ ดับๆ จนต้องเปิดฝาวาล์วดู วาล์ว มันจมแบบ มิดเลยจนก้านมันไปยันกระเดืองกดวาล์ว เป็นที่วาล์วไอดีทุกสูบ สรุป ต้องยกฝาใหม่แถมแบคไฟร์ พาเอาเซนเซอร์ที่ ลิ้นพังไปอัน หม้อกรอง กิ๊ปก็กระเด็นหายเหลือข้างเดียว แต่ตอนนี้ได้ฝาใหม่ ขับชิวๆๆ แต่ก็อยากให้มันอยู่กับเราไปนานๆ แต่ช่างก็เตือน ใช้แก๊ส บ่าทรุดมากกว่า น้ำมัน 3 เท่า แค่ได้ยินก็สนุกแล้ว
ที่ อู่ บอกไม่แนะนำให้เลี้ยงบ่าวาล์ว ผมว่าเพราะคนที่ได้ประโยชน์ก็อู่แหละคับ เปิดฝาสูบครั้งนึงก็ 8000 บาทแล้วไหนจะค่าประเก็นค่าแรง ยังไม่รวมค่าแรงในการ ซ่อม หรือซื้อฝาใหม่นะคับ มันก็เหมือนการเลี้ยงไข้ นี่แหละคับ ถ้าใครรู้ว่าตัวเองเป็นไข้ กินยาพารากันไว้ก่อนก็หายเองได้ แต่ถ้าปล่อยไว้อาการแทรกอื่นๆ ก็ตามมาต้องไป พบแพทย์อยู่ดี