พระราชวังฤดูร้อนริมหาดเจ้าสำราญ (ชะอำ) ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นเสมือนวังกลางป่า ดังจะเห็นได้ จากชื่อพระราชทานว่า "พระราชนิเวศน์มฤค ทายวัน" โดยโปรดฯ ให้นายแอร์โกเล มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาเลี่ยนออกแบบ พระราชวังแบบ ผสมผสานระหว่างเรือน ไทยกับยุโรปแล้ว หมู่พระที่นั่งที่อิงกับแนว คิดแบบบ้านไม้เรือน ผูกของชาวไทยภาค กลาง ก็นำมาใช้สร้างเป็นพระที่นั่งทั้งหมดเป็น ทรงปั้นหยา 16 หลัง ซึ่งเรือน 16 หลังนี้แบ่งเป็นพระที่นั่งใหญ่ๆ อยู่ 3 องค์ คือ พระที่นั่งพิศาลสาคร พระที่นั่ง สมุทรพิมาน พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์
พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นพระตำหนักส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 6 ที่ ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องสรง และห้องทรงพระอักษร พระที่นั่งนี้ สร้างเป็น รูปสี่เหลี่ยมทรงปั้นหยา มีทางเดินจากระเบียงที่ประทับที่สร้างเชื่อมต่อกันไปสู่ท่า ศาลาชายน้ำ ในยามที่พระองค์โปรดฯ ที่จะสรงน้ำทะเลก็จะทรงใช้ห้องเปลี่ยน ฉลองพระองค์ที่อยู่ข้างพลับพลาผลัดฉลองพระองค์
สำหรับพระที่นั่งฝ่ายในนั้น พระที่นั่งสมุทรพิมานจะเป็นหมู่พระที่นั่ง ของฝ่ายในทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วยที่ประทับในพระนางอินทรศักดิ์ศจี ซึ่ง อาคารต่างๆ ของฝ่ายในนี้ก็สร้างเป็นระเบียงเชื่อมยาวไปถึงชายหาด เช่นเดียวกัน กับพระที่นั่งพิศาลสาคร โดยสร้างขนานไปด้วยกันกับพระตำหนักแรก
หมู่พระตำหนักสุดท้ายคือ พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระที่นั่งนี้ เป็นพระที่นั่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันถึงศิลปะของชาติเลยทีเดียว พระที่นั่งที่ก่อ ขึ้นเป็นอาคาร 2 ชั้นแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นโรงมหรสพ และห้องประชุมโดยเฉพาะ และเหตุที่พระที่นั่งนี้ออกแบบมาเพื่อการแสดง ชั้นล่างของพระตำหนักจึงเป็น โถงโล่ง และทำชั้นบนเป็นคล้ายชั้นลอยที่มีระเบียงเดินได้โดยรอบ
พระตำหนักสโมสรเสวกามาตย์นี้ เคยเป็นโรงละครที่พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงละครร้องเรื่อง "พระร่วง" ในบทบาทของ "นายมั่นปืนยาว" และ"วิวิพระสมุทร" ในบทบาทของท้าวมิดัส ในช่วงปีพ.ศ. 2467-68 ตามลำดับ
ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชนิเวศน์มฤคทายวันแก่สมเด็จเจ้าฟ้าเพ็ช รัตน์ราชสุดา แต่ในเวลาไม่นาน วังนี้ก็ถูกยึดเป็นทรัพย์สินของคณะราษฎร์ ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนใช้เป็น ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจตะเวนชายแดน และพระราชทานนามว่า "ค่ายพระราม 6" และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมสถานที่ได้
สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล