ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
24 เมษายน 2025, 17:59:42
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: ย้ายมิกเซอร์แก๊ส 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ย้ายมิกเซอร์แก๊ส  (อ่าน 19856 ครั้ง)
tey1973
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 302



« ตอบ #40 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 16:05:18 »

มะวานผมก้เพิ่ง โดนท่อไอเสียขาดไป 600  ตกใจ ตกใจ ตกใจ
ท่อพักกลางหลังแคตผมก็น่าจะผุเหมือนกัน
เริ่มมีเสียง แก๊งๆ เวลาเครืองสั่น
แต่ปล่อยไปก่อน หาตังทำเครื่องให้นิ่งๆ ก่อน
 เศร้า
บันทึกการเข้า

TwT
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #41 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 16:08:38 »

ท่อพักกลางหลังแคตผมก็น่าจะผุเหมือนกัน
เริ่มมีเสียง แก๊งๆ เวลาเครืองสั่น
แต่ปล่อยไปก่อน หาตังทำเครื่องให้นิ่งๆ ก่อน
 เศร้า

ค่อยๆ ทำไปคับ เดียวมันก้ดีขีี้นคับ ถ้า ได้ช่าง ถูกมือนะ
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
tey1973
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 302



« ตอบ #42 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 16:14:19 »

ค่อยๆ ทำไปคับ เดียวมันก้ดีขีี้นคับ ถ้า ได้ช่าง ถูกมือนะ
ก็คงต้องเป็นอย่างนั้นอะครับ
ตอนนี้กาลังเล็งๆ หาช่างแถวๆ บางนา สำโรง เทพารักษ์ อยู่
อู่เดิมไม่ไหวแว้ววว ครับ
พอรู้ป่าวครับ กล่อง ECU มีรหัสไรบ้างครับที่ใช้ได้กับ y4 โดยที่ไม่ต้องแปลงอะครับ
บันทึกการเข้า

TwT
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #43 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 16:32:04 »

ก็คงต้องเป็นอย่างนั้นอะครับ
ตอนนี้กาลังเล็งๆ หาช่างแถวๆ บางนา สำโรง เทพารักษ์ อยู่
อู่เดิมไม่ไหวแว้ววว ครับ
พอรู้ป่าวครับ กล่อง ECU มีรหัสไรบ้างครับที่ใช้ได้กับ y4 โดยที่ไม่ต้องแปลงอะครับ

อันนี้ไม่ทราบจิงๆ คับ แต่ ผมว่า อย่าเพิ่งไปเหมารวมว่าเป็น ที่กล่อง เลยคับ ลองเชคดูดีดีก่อน ลองหาเพื่อนๆ แถวบางนา ขอยืมกล่อง y4 at เหมือนกัน มาลองใส่ดู ถ้า ผลมันเหมือนกัน คง ไม่ได้เปนที่กล่องอะคับ

ลองไปตั้งกระทู้หาเพื่อน หรือหาช่างแถวบางนาเลยคับ คิดว่า น่าจะมีเยอะคับคนแถวนั้นๆ
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
tey1973
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 302



« ตอบ #44 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 16:33:51 »

อันนี้ไม่ทราบจิงๆ คับ แต่ ผมว่า อย่าเพิ่งไปเหมารวมว่าเป็น ที่กล่อง เลยคับ ลองเชคดูดีดีก่อน ลองหาเพื่อนๆ แถวบางนา ขอยืมกล่อง y4 at เหมือนกัน มาลองใส่ดู ถ้า ผลมันเหมือนกัน คง ไม่ได้เปนที่กล่องอะคับ

ลองไปตั้งกระทู้หาเพื่อน หรือหาช่างแถวบางนาเลยคับ คิดว่า น่าจะมีเยอะคับคนแถวนั้นๆ
ขอบคุณครับ เดี๋ยวลองตั้งกระทู้ดูครับ
บันทึกการเข้า

TwT
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #45 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 16:34:26 »

ขอบคุณครับ เดี๋ยวลองตั้งกระทู้ดูครับ



 จุมพิต จุมพิต
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
jo3331
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 431



« ตอบ #46 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 19:49:52 »

 ยิ้ม ประสบการณ์จากการย้ายมิกเซอร์แก๊สนะครับ
ถามว่าทำที่ไหน ผมทำกับอู่ที่แนะนำในบอดนี้ละครับที่บางบัวทอง
พี่เขาทำการย้ายจากที่เคยครอบลิ้นโดยการเปลี่ยนมิกเซอรแบบฝังในท่อไอดีซึ่งห่างจากลิ้นปีกพอสมควร ซึ่งมิกเซอรจะมีรูปปล่อยแก๊สลักษณะแบบหัวเตาแก๊ส คือรูจะแยอะกว่าเดิมซึ่งของเดิมปล่อยแค่รูเดียวครับ

สิ่งที่สัมผัสได้นะครับ คืออย่างแรกรถสตาร์ติดได้ง่ายกว่าเดิมเพราะตัวมิกเซอรไม่ได้ไปครอบแล้วอั้นที่ลิ้นปีกผีเสื้อ เรื่องของการขับ รอบจะดีกว่าเดิมนิดหน่อยเท่านั้น (ย้ำนิดหน่อยเท่านั้น) รอบเดินดีขึ้นมาหน่อยเพราะว่า มิกเซอรตัวใหม่นั้นไม่ได้ไปครอบกับลิ้นปีกผีเสื้อแล้วเลยไม่อั้นอากาศเกินไป ช่วงระหว่าง มิกเซอร กับลิ้นปีก จะมีช่วงที่เขาเรียกว่า บับเฟอร ซึ่งจะมีอากาศกักเก็บไวแล้ว ตัวแก๊สที่ปล่อยออกมาได้ทำการผสม และรอที่ ลิ้นปีกผีเสื้อดูดเข้าไปทั้งที  ยิงฟันยิ้ม

ที่ได้แน่ๆคือความรู้สึกทางใจครับ  อายจัง ว่าทำมาต้องแรงแน่ๆ ส่วนที่ว่าจะสัมผัสได้รึป่าวนั้นขอบอกตรงๆเลยครับ ยาก สับเป็นน้ำมันวิ่งยังจะแรงกว่าอีก ขนาดแก๊สหัวฉีดยังดึงได้ไม่เท่าน้ำมันเลย  ร้องไห้

ส่วนว่าทำแล้วคุ้มไม๊ก็แล้วแต่จะพิจรณาครับ เสียเงินไม่กี่ร้อย แต่ได้ความสบายใจมันก็คุ่ม ยังไงลองหาข้อมูลดูก่อน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนค่อยลงมือทำ เดียวผมบอกว่าทำแล้วดี แล้วไปทำมา พอเอาเข้าจริงไม่เป็นอย่างที่คิดจะหาว่าผมโกหกอีก  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

(ทำมาแยอะเจ็บมาแยอะ ยิ่งทำ ยิ่งวิ่ง รถก็ยิ่งพังครับ แรงตามตัง แต่พังตามตีน  โกรธ)
บันทึกการเข้า

แอบครักคนใก้ลตัว แต่คนนั้นยังไม่รู้หรอก
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #47 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 21:53:34 »

ยิ้ม ประสบการณ์จากการย้ายมิกเซอร์แก๊สนะครับ
ถามว่าทำที่ไหน ผมทำกับอู่ที่แนะนำในบอดนี้ละครับที่บางบัวทอง
พี่เขาทำการย้ายจากที่เคยครอบลิ้นโดยการเปลี่ยนมิกเซอรแบบฝังในท่อไอดีซึ่งห่างจากลิ้นปีกพอสมควร ซึ่งมิกเซอรจะมีรูปปล่อยแก๊สลักษณะแบบหัวเตาแก๊ส คือรูจะแยอะกว่าเดิมซึ่งของเดิมปล่อยแค่รูเดียวครับ

สิ่งที่สัมผัสได้นะครับ คืออย่างแรกรถสตาร์ติดได้ง่ายกว่าเดิมเพราะตัวมิกเซอรไม่ได้ไปครอบแล้วอั้นที่ลิ้นปีกผีเสื้อ เรื่องของการขับ รอบจะดีกว่าเดิมนิดหน่อยเท่านั้น (ย้ำนิดหน่อยเท่านั้น) รอบเดินดีขึ้นมาหน่อยเพราะว่า มิกเซอรตัวใหม่นั้นไม่ได้ไปครอบกับลิ้นปีกผีเสื้อแล้วเลยไม่อั้นอากาศเกินไป ช่วงระหว่าง มิกเซอร กับลิ้นปีก จะมีช่วงที่เขาเรียกว่า บับเฟอร ซึ่งจะมีอากาศกักเก็บไวแล้ว ตัวแก๊สที่ปล่อยออกมาได้ทำการผสม และรอที่ ลิ้นปีกผีเสื้อดูดเข้าไปทั้งที  ยิงฟันยิ้ม

ที่ได้แน่ๆคือความรู้สึกทางใจครับ  อายจัง ว่าทำมาต้องแรงแน่ๆ ส่วนที่ว่าจะสัมผัสได้รึป่าวนั้นขอบอกตรงๆเลยครับ ยาก สับเป็นน้ำมันวิ่งยังจะแรงกว่าอีก ขนาดแก๊สหัวฉีดยังดึงได้ไม่เท่าน้ำมันเลย  ร้องไห้

ส่วนว่าทำแล้วคุ้มไม๊ก็แล้วแต่จะพิจรณาครับ เสียเงินไม่กี่ร้อย แต่ได้ความสบายใจมันก็คุ่ม ยังไงลองหาข้อมูลดูก่อน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนค่อยลงมือทำ เดียวผมบอกว่าทำแล้วดี แล้วไปทำมา พอเอาเข้าจริงไม่เป็นอย่างที่คิดจะหาว่าผมโกหกอีก  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

(ทำมาแยอะเจ็บมาแยอะ ยิ่งทำ ยิ่งวิ่ง รถก็ยิ่งพังครับ แรงตามตัง แต่พังตามตีน  โกรธ)


มีผุ้มีประสบการมาชี้แนะละคับ

ผมว่ามันดีขึ้นเพราะเปลี่ยนมิกเซอร์นะคับ

แต่ละคันก้ควรใช้ให้เหมาะสม แต่บางครั้งก้หายากเพราะแต่ละอู่ก้มีของไม่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
jo3331
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 431



« ตอบ #48 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 19:35:09 »


มีผุ้มีประสบการมาชี้แนะละคับ

ผมว่ามันดีขึ้นเพราะเปลี่ยนมิกเซอร์นะคับ

แต่ละคันก้ควรใช้ให้เหมาะสม แต่บางครั้งก้หายากเพราะแต่ละอู่ก้มีของไม่เหมือนกัน

ใช่ครับดีขึ้นเพราะเปลี่ยนมิกเซอรใหม่ ตั้งแก๊สจูนใหม่ ถ้าคิดจะแรงมันก็จะสวนทางกับประหยัด จูนแก๊สเปิดพาวเวอร์วาวล์เพิ่ม ก็ได้แรงดึงดีขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้วแต่ที่สำคัญอยู่ที่ความสมบูณร์ของเครื่องกับระบบด้วย ไม่ใช่ทำแล้วจะแรงขึ้นเสมอไป  อายจัง
แต่ละอู่แต่ละสูตรมันไม่เหมือนกันหลอกครับของอย่างนี้ไม่มีสูตรตายตัว ทำแล้วจบก็ดี แต่ทำไม่ดีมีไม่จบแน่ ยิ้มเท่ห์

ลองดูครับมิกเซอร์แค่ละแบบ  http://www.gasthai.com/boardsale/html/2599.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2012, 19:42:52 โดย jo3331 » บันทึกการเข้า

แอบครักคนใก้ลตัว แต่คนนั้นยังไม่รู้หรอก
srithanon
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #49 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 21:44:29 »

ในเรื่องการจ่ายปริมาณแก็สให้กับเครื่องยนต์ ในระบบแก็ส แบบ Fix mixer หรือระบบดูด  ไม่ว่าจะมีย้ายมิ๊กเซอร์แบบไหน  การแก้ปัญหาก็ไม่ไม่ตรงประเด็น  บางท่านหรือช่างบางอู่คิดเอาเองว่า การที่ย้ายมิ๊กเซอร์ ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้เล่ามา  คงคิดว่าเพื่อให้มีจำนวนปริมาณแก็สกับอากาศที่มิ๊กรวมกัน ในระหว่างกลางของท่ออากาศที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มีพื้นที่สะสมปริมาณแก็สมากขึ้น เหมือนเป็นบั๊ฟเฟอร์ ทำให้มีปริมาณแก็สเพียงพอกับการจ่ายปริมาณแก็สเข้าท่อไอดีของเครื่องยนต์  นั้นเป็นความเชื่อของแต่ละท่าน

ถามว่ามันได้ผลจริงแค่ไหน  หากจะบอกว่าไม่มีผลเอาเสียเลยก็คงไม่ได้ เพราะว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีตัวแปรเข้าร่วม  แต่จะขอข้ามไปก่อน   ความจริงแล้วการมิ๊กแก็สกับอากาศที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มันก็ผิดหลักการ ในระบบการจ่ายเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์อยู่แล้ว  น้ำมันหรือแก็สควรที่จ่ายเข้าห้องไอดีโดยตรงแบบหัวฉีด  หรือแม้แต่ในเครื่องยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์ ยังจ่ายน้ำมันแยกต่างหากกับอากาศ  ถึงแม้จะจ่ายน้ำมันพร้อมกันที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อก็ตาม  แต่ไม่ได้ไปขัดขวางทางเดินของอากาศ ทั้งรอบเดินเบาและอัตราเร่ง เสมือนแยกอิสระ  ไม่เหมือนกับมิ๊กแก็สระบบดูด ที่ไปขัดขวางทางเดินของกาศไปยังห้องไอดี ที่มีท่อมิ๊กกลึงลดทางผ่านของอากาศให้เล็กลง  เพื่อให้เกิดแรงดูดของแว็คคั่ม  ที่มีผลกับระยะทาง และขนาดของช่องมิ๊ก ตามขนาดของเครื่องยนต์  ทำให้อากาศไหลไม่พอกับความต้องการในเรื่องอัตราส่วนผสม ในจังหวะรอบอัตราเร่งที่มีรอบเครื่องยนต์สูงๆ  ทำให้กำลังของเครื่องยนต์ตก เร่งไม่ขึ้นและตื้อ เมื่อใช้ความเร็วสูงๆ   ดังนั้นแก็สในระบบดูดจะต้องคำนึงถึงแรงดูดแว็คคั่มในท่อไอดี 

การติดตั้งแก็สระบบดูดแบบมิ๊กที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อนี้   ผู้ที่ทำการติดตั้งควรที่จะทราบเรื่องแรงดูดแว็คคั่มที่มาจากท่อไอดี  มีผลอย่างไรกับขนาดของท่อยางที่ต่อระหว่างหม้อต้มแก็ส  มาที่ท่อมิ๊ก จะต้องมีขนาดความกว้างของท่อยางเท่าใด กับแรงดูดที่เกิดภายในท่อ ที่มีขนาดความยาวหรือระยะทางเป็นตัวแปร  ที่ทำให้เกิดแรงดูดในท่อยาง  ให้มีความสัมพันธ์และความต้องการของแรงดูด ที่แผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มต้องการ และมีแรงดูดเท่าใดที่ปลายท่อยางก่อนที่จะต่อเข้าหม้อต้มแก็ส   จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่ควรจะทราบ  จะพบว่าตัวแปรเรื่องนี้ มีความสัมพันธ์กับระยะทางของท่อยางที่ต่อมาจากท่อไอดี ผ่านลิ้นปีกผีเสื้อมาเข้าหม้อต้มแก็ส
ดังนั้นการที่จะให้ชุดคอนโทรลวาวล์ปิดเปิดไอแก็สของหม้อต้มแก็ส ทำงานได้สัมพันธ์กับแรงดูดแว็คคั่มที่ท่อไอดีของเครื่องยนต์แต่ละขนาด  ควรตรวจสอบแรงดูดแว็คคั่มในท่อไอดีของเครื่องยนต์  แต่ละขนาด  ว่ามีแรงดูดกี่ปอนด์  ในจังหวะรอบเดินเบาของเครื่องยนต์นั้นๆ  แล้วเอามาเป็นตัวตั้งในการหาความยาวและขนาดของท่อยางที่ต่อไปเข้าหม้อต้มแก็ส  ให้มีแรงดูดที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มมีแรงกดก้านกระเดื่องวาวล์  ให้พอดีกับการปรับตัวสปริงไอเดิล ให้เกิดแรงต้าน แรงกดกระเดื่องวาวล์ของแผ่นไดอะแฟรม   หากมีแรงดูดจากแว็คคั่มท่อไอดีมาเข้าหม้อต้มแก็สมากไป  ในจังหวะรอบเดินเบาจะทำให้มีการปรับตัวไอเดิล เพื่อให้สปริงกดต้านกระเดื่องวาวล์มากขึ้น  เพื่อให้เกิดการบาล้านซ์ มีช่องเปิดวาวล์ให้ไอแก็สผ่านพอดีกับรอบเดินเบา   
   
หากมาพิจารณากันตรงจุดนี้ จะพบว่า เมื่อใดก็ตามที่แรงดูดแว็คคั่มในท่อไอดีเครื่องยนต์ มีค่าเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ  กล่าวคือกำลังอัดของเครื่องยนต์เกิดตก  จากบ่าวาล์ปิดไม่สนิท วาวล์ยัน แหวนหลวม  รวมถึงระบบไฟจุดระเบิดอ่อน ระบบน้ำมันมีแรงดันตก  สิ่งเหล่านี้ทำให้กำลังอัดของเครื่องยนต์ตก แรงดูดแว็คคั่มก็ตกตามไปด้วย   ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อแรงดูดในครั้งแรกที่มีการปรับจูนรอบเดินเบา ที่ตัวสปริงของไอเดิลในขณะที่มีแรงดูดมากในตอนแรก   เมื่อต่อมามีแรงดูดน้อย  ทำให้แรงที่ได้จากการกดของแผ่นไดอะแฟรมลดลง   เป็นผลให้แรงดันของตัวสปริงไอเดิล มีแรงดันก้านกระเดื่องวาวล์ปิดเปิดแก็ส  ให้พยายามปิดมากกว่าเดิม ทำให้แก็สผ่านไปได้น้อย มีแก็สบางในอัตราส่วนผสม การจุดระเบิดก็ไม่สมบูรณ์
เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง  รอบเครื่องตกเมื่อมีโหลดเมื่อเปิดแอร์เข้าเกียร์  ในจังหวะเครื่องยนต์อยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา

ในทางตรงกันข้าม  หากในการติดตั้งครั้งแรกแล้ว มีแรงดูดแว็คคั่มจากท่อไอดีมาที่หม้อต้มแก็สต่ำ หรือต่ำเ กินไป  ผลที่ตามมาก็คือ แรงดูดที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมให้มีแรงกดก้านกระเดื่องวาวล์เปิดแก็สมีน้อย   ดังนั้นการปรับตัวสปริงไอเดิลให้เกิดแรงต้านแทบจะน้อยมาก  เพราะยิ่งปรับก็จะทำให้วาวล์ยิ่งปิดแก็สไม่ให้ผ่าน    จะเห็นว่าในลักษณะนี้ เราจะคิดว่าควรปรับตัวไอเดิลไปทางทวนเข็มมากๆ(เป็นการลดแรงดันขของสปริง) เพื่อให้แรงกดจากแผ่นไดอะแฟรมมีมากกว่า ทำให้วาวล์เปิดให้แก็สผ่านได้มาก  แต่มันแทบจะไม่มีผล  เพราะแรงกดของแผ่นไดอะแฟรมมีน้อย  เพราะแรดูดแว็คคั่มที่เข้าหม้อต้มแก็สน้อย ไม่มีแรงกด กลับไปเพิ่มแรงปิดเข้าไปอีก  เมื่อกรณีที่เราปรับตัวไอเดิลไปทางทวนเข็ม หรือแทบไม่มีแรงดันต้าน ทำให้ก้านกระเดื่องวาวล์ในสภาวะปกติที่ไม่มีแรงดูดจากแว็คคั่ม เจ้าตัวรูปกรวยฝาชีของแผ่นไดอะแฟรมมันก็จะยกก้านกระเดื่องวาวล์ให้ปิดอยู่แล้ว   นั้นหมายความว่าหากแรงดูดแว็คคั่มที่เข้าหม้อต้มแก็สมีน้อย เท่ากับว่าเกิดวาวล์ปิดตลอดเวลา   ถึงจะพยายามปรับตัวไอเดิลก็ยิ่งสร้างแรงดันให้ก้านวาวล์กดปิด  เมื่อปรับตามเข็มนาฬิกา   ในทางกลับกัน หากพยายามปรับหมุนทวนเข็ม  มันก็ไม่มีผล เพราะแรงดันสปริงมีน้อยจนไม่มีแรงดันต้านการกดของแผ่นไดอะแฟรม  คือเมื่อไม่มีแรงกดของแผ่นไดอะแฟรม  การจะปรับให้มีแรงต้านการกดกระเดื่องของแผ่นไดอะแฟรมโดยตัวสปริงไอเดิล   ก็มีแต่สร้างแรงดันให้วาวล์ปิดเพิ่มขึ้นไปอีก  ผลก็คือมีแก็สผ่านได้น้อย  หรือแทบไม่มีเลย เครื่องยนต์ก็ดับในรอบเดินเบา 

เป็นที่ไปที่มาเรื่องปรับจูนหม้อต้มแก็สในรอบเดินเบาแล้วปรับยากอีกสาเหตุหนึ่ง  แต่ในรอบอัตราเร่งแทบจะไม่มีปัญหา  เพราะมีแรงดูดจากท่อไอดีมากขึ้น    แต่ในกรณีที่มีแรงดูดในรอบเดินเบาต่ำตรงท่อเข้าหม้อต้มแก็ส จะทำให้อัตราเร่งไม่ตอบสนอง   เพราะว่าเมื่อมีการปรับรอบเดินเบาพยายามที่จะปรับตัวไอเดิลให้มี่แรงดันต้านที่ก้านกระเดื่องวาวล์น้อยลงมาก  กลับทำให้วาวล์เปิดได้ง่ายเมื่อเริ่มมีแรงดูดแว็คคั่มที่รอบอัตราเร่งรอบต่ำ   เป็นผลให้มีแก็สมากในส่วนผสม การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์  เครื่องยนต์ไม่ค่อยมีกำลัง ขณะออกตัวจะอืด  แต่จะดีในรอบเครื่องยนต์กลางๆขึ้นไปเพราะวาวล์เปิดเต็มที่    แต่ก็ต้องมีอุปสรรค์ เพราะมีตัวเพาเวอร์วาวล์ เป็นก้างขวางคอ  จำกัดทางไหลของแก็สเอาไว้ ตามการปรับกำหนดให้แก็สผ่านพอดีกับรอบเครื่องยนต์ที่ตั้งไว้ในการปรับจูนแก็ส   

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เพื่อให้เห็นว่าการย้ายต่ำแหน่งมิ๊กเซอร์  มีผลและไม่มีผลอย่างไร  มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการหาจุดที่พอเหมาะในการจ่ายแก็สมิ๊กที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มีอะไรที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง  ก็ไม่ขอนำมากล่าว  เพราะว่าที่ทำกันอยู่มันก็ผิดหลักการ  ในการจ่ายเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ…

ความจริงผมมีข่าวดีที่จะมาบอกให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบว่า   ขณะนี้ผมได้ออกแบบพัฒนาแก็สแบบดูดขึ้นมาใหม่  ให้มีการจ่ายแก็สตรงเข้าท่อไอดีโดยตรง และสามารถจ่ายแก็สตามการเหยียบคันเร่งหรือตามการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อ   ทำให้ตัดปัญหาเรื่องรอบเดินเบาและอัตราเร่ง  แถมยังทำให้การตอบสนองในการขับขี่ วิ่งสนุกกว่าระบบน้ำมัน  หากปรับตัวระบบการคอนโทรลการจ่ายแก็สให้กินเพิ่มขึ้นมาบ้างเล็กน้อย  ขับสนุกมาก
และขณะนี้ก็กำลัง' งานสร้างต้นแบบอยู่ที่โรงกลึงและไส ทำชิ้นส่วนตัวกล่องคอนโทรล มาสองสามอาทิตย์แล้ว  งานยังอยู่ในขันตอนกัดเฟือง เจาะในส่วนของระบบการจ่ายแก็ส ของรอบเดินเบาและการจ่ายแก็สแบบประหยัดและแบบใช้กำลัง...............รออ่านในกระทู้ต่อไปครับ........srithanon
บันทึกการเข้า
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #50 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 21:47:04 »

ใช่ครับดีขึ้นเพราะเปลี่ยนมิกเซอรใหม่ ตั้งแก๊สจูนใหม่ ถ้าคิดจะแรงมันก็จะสวนทางกับประหยัด จูนแก๊สเปิดพาวเวอร์วาวล์เพิ่ม ก็ได้แรงดึงดีขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้วแต่ที่สำคัญอยู่ที่ความสมบูณร์ของเครื่องกับระบบด้วย ไม่ใช่ทำแล้วจะแรงขึ้นเสมอไป  อายจัง
แต่ละอู่แต่ละสูตรมันไม่เหมือนกันหลอกครับของอย่างนี้ไม่มีสูตรตายตัว ทำแล้วจบก็ดี แต่ทำไม่ดีมีไม่จบแน่ ยิ้มเท่ห์

ลองดูครับมิกเซอร์แค่ละแบบ  http://www.gasthai.com/boardsale/html/2599.html



รถที่บ้านก้มีปัญหาเหมือนกันคับ หามิกเซอร์พอดีไม่ได้ สตาร์ทยาก สตาทยาวถึงจะติด บางครั้งก้อืดๆ แต่ก้ ใช้แบบนั้นมานานละคับ ใช้ได้ก้ใช้ไปเรื่อย
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #51 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 23:13:11 »

ในเรื่องการจ่ายปริมาณแก็สให้กับเครื่องยนต์ ในระบบแก็ส แบบ Fix mixer หรือระบบดูด  ไม่ว่าจะมีย้ายมิ๊กเซอร์แบบไหน  การแก้ปัญหาก็ไม่ไม่ตรงประเด็น  บางท่านหรือช่างบางอู่คิดเอาเองว่า การที่ย้ายมิ๊กเซอร์ ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้เล่ามา  คงคิดว่าเพื่อให้มีจำนวนปริมาณแก็สกับอากาศที่มิ๊กรวมกัน ในระหว่างกลางของท่ออากาศที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มีพื้นที่สะสมปริมาณแก็สมากขึ้น เหมือนเป็นบั๊ฟเฟอร์ ทำให้มีปริมาณแก็สเพียงพอกับการจ่ายปริมาณแก็สเข้าท่อไอดีของเครื่องยนต์  นั้นเป็นความเชื่อของแต่ละท่าน

ถามว่ามันได้ผลจริงแค่ไหน  หากจะบอกว่าไม่มีผลเอาเสียเลยก็คงไม่ได้ เพราะว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีตัวแปรเข้าร่วม  แต่จะขอข้ามไปก่อน   ความจริงแล้วการมิ๊กแก็สกับอากาศที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มันก็ผิดหลักการ ในระบบการจ่ายเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์อยู่แล้ว  น้ำมันหรือแก็สควรที่จ่ายเข้าห้องไอดีโดยตรงแบบหัวฉีด  หรือแม้แต่ในเครื่องยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์ ยังจ่ายน้ำมันแยกต่างหากกับอากาศ  ถึงแม้จะจ่ายน้ำมันพร้อมกันที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อก็ตาม  แต่ไม่ได้ไปขัดขวางทางเดินของอากาศ ทั้งรอบเดินเบาและอัตราเร่ง เสมือนแยกอิสระ  ไม่เหมือนกับมิ๊กแก็สระบบดูด ที่ไปขัดขวางทางเดินของกาศไปยังห้องไอดี ที่มีท่อมิ๊กกลึงลดทางผ่านของอากาศให้เล็กลง  เพื่อให้เกิดแรงดูดของแว็คคั่ม  ที่มีผลกับระยะทาง และขนาดของช่องมิ๊ก ตามขนาดของเครื่องยนต์  ทำให้อากาศไหลไม่พอกับความต้องการในเรื่องอัตราส่วนผสม ในจังหวะรอบอัตราเร่งที่มีรอบเครื่องยนต์สูงๆ  ทำให้กำลังของเครื่องยนต์ตก เร่งไม่ขึ้นและตื้อ เมื่อใช้ความเร็วสูงๆ   ดังนั้นแก็สในระบบดูดจะต้องคำนึงถึงแรงดูดแว็คคั่มในท่อไอดี 

การติดตั้งแก็สระบบดูดแบบมิ๊กที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อนี้   ผู้ที่ทำการติดตั้งควรที่จะทราบเรื่องแรงดูดแว็คคั่มที่มาจากท่อไอดี  มีผลอย่างไรกับขนาดของท่อยางที่ต่อระหว่างหม้อต้มแก็ส  มาที่ท่อมิ๊ก จะต้องมีขนาดความกว้างของท่อยางเท่าใด กับแรงดูดที่เกิดภายในท่อ ที่มีขนาดความยาวหรือระยะทางเป็นตัวแปร  ที่ทำให้เกิดแรงดูดในท่อยาง  ให้มีความสัมพันธ์และความต้องการของแรงดูด ที่แผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มต้องการ และมีแรงดูดเท่าใดที่ปลายท่อยางก่อนที่จะต่อเข้าหม้อต้มแก็ส   จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่ควรจะทราบ  จะพบว่าตัวแปรเรื่องนี้ มีความสัมพันธ์กับระยะทางของท่อยางที่ต่อมาจากท่อไอดี ผ่านลิ้นปีกผีเสื้อมาเข้าหม้อต้มแก็ส
ดังนั้นการที่จะให้ชุดคอนโทรลวาวล์ปิดเปิดไอแก็สของหม้อต้มแก็ส ทำงานได้สัมพันธ์กับแรงดูดแว็คคั่มที่ท่อไอดีของเครื่องยนต์แต่ละขนาด  ควรตรวจสอบแรงดูดแว็คคั่มในท่อไอดีของเครื่องยนต์  แต่ละขนาด  ว่ามีแรงดูดกี่ปอนด์  ในจังหวะรอบเดินเบาของเครื่องยนต์นั้นๆ  แล้วเอามาเป็นตัวตั้งในการหาความยาวและขนาดของท่อยางที่ต่อไปเข้าหม้อต้มแก็ส  ให้มีแรงดูดที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มมีแรงกดก้านกระเดื่องวาวล์  ให้พอดีกับการปรับตัวสปริงไอเดิล ให้เกิดแรงต้าน แรงกดกระเดื่องวาวล์ของแผ่นไดอะแฟรม   หากมีแรงดูดจากแว็คคั่มท่อไอดีมาเข้าหม้อต้มแก็สมากไป  ในจังหวะรอบเดินเบาจะทำให้มีการปรับตัวไอเดิล เพื่อให้สปริงกดต้านกระเดื่องวาวล์มากขึ้น  เพื่อให้เกิดการบาล้านซ์ มีช่องเปิดวาวล์ให้ไอแก็สผ่านพอดีกับรอบเดินเบา   
   
หากมาพิจารณากันตรงจุดนี้ จะพบว่า เมื่อใดก็ตามที่แรงดูดแว็คคั่มในท่อไอดีเครื่องยนต์ มีค่าเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ  กล่าวคือกำลังอัดของเครื่องยนต์เกิดตก  จากบ่าวาล์ปิดไม่สนิท วาวล์ยัน แหวนหลวม  รวมถึงระบบไฟจุดระเบิดอ่อน ระบบน้ำมันมีแรงดันตก  สิ่งเหล่านี้ทำให้กำลังอัดของเครื่องยนต์ตก แรงดูดแว็คคั่มก็ตกตามไปด้วย   ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อแรงดูดในครั้งแรกที่มีการปรับจูนรอบเดินเบา ที่ตัวสปริงของไอเดิลในขณะที่มีแรงดูดมากในตอนแรก   เมื่อต่อมามีแรงดูดน้อย  ทำให้แรงที่ได้จากการกดของแผ่นไดอะแฟรมลดลง   เป็นผลให้แรงดันของตัวสปริงไอเดิล มีแรงดันก้านกระเดื่องวาวล์ปิดเปิดแก็ส  ให้พยายามปิดมากกว่าเดิม ทำให้แก็สผ่านไปได้น้อย มีแก็สบางในอัตราส่วนผสม การจุดระเบิดก็ไม่สมบูรณ์
เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง  รอบเครื่องตกเมื่อมีโหลดเมื่อเปิดแอร์เข้าเกียร์  ในจังหวะเครื่องยนต์อยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา

ในทางตรงกันข้าม  หากในการติดตั้งครั้งแรกแล้ว มีแรงดูดแว็คคั่มจากท่อไอดีมาที่หม้อต้มแก็สต่ำ หรือต่ำเ กินไป  ผลที่ตามมาก็คือ แรงดูดที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมให้มีแรงกดก้านกระเดื่องวาวล์เปิดแก็สมีน้อย   ดังนั้นการปรับตัวสปริงไอเดิลให้เกิดแรงต้านแทบจะน้อยมาก  เพราะยิ่งปรับก็จะทำให้วาวล์ยิ่งปิดแก็สไม่ให้ผ่าน    จะเห็นว่าในลักษณะนี้ เราจะคิดว่าควรปรับตัวไอเดิลไปทางทวนเข็มมากๆ(เป็นการลดแรงดันขของสปริง) เพื่อให้แรงกดจากแผ่นไดอะแฟรมมีมากกว่า ทำให้วาวล์เปิดให้แก็สผ่านได้มาก  แต่มันแทบจะไม่มีผล  เพราะแรงกดของแผ่นไดอะแฟรมมีน้อย  เพราะแรดูดแว็คคั่มที่เข้าหม้อต้มแก็สน้อย ไม่มีแรงกด กลับไปเพิ่มแรงปิดเข้าไปอีก  เมื่อกรณีที่เราปรับตัวไอเดิลไปทางทวนเข็ม หรือแทบไม่มีแรงดันต้าน ทำให้ก้านกระเดื่องวาวล์ในสภาวะปกติที่ไม่มีแรงดูดจากแว็คคั่ม เจ้าตัวรูปกรวยฝาชีของแผ่นไดอะแฟรมมันก็จะยกก้านกระเดื่องวาวล์ให้ปิดอยู่แล้ว   นั้นหมายความว่าหากแรงดูดแว็คคั่มที่เข้าหม้อต้มแก็สมีน้อย เท่ากับว่าเกิดวาวล์ปิดตลอดเวลา   ถึงจะพยายามปรับตัวไอเดิลก็ยิ่งสร้างแรงดันให้ก้านวาวล์กดปิด  เมื่อปรับตามเข็มนาฬิกา   ในทางกลับกัน หากพยายามปรับหมุนทวนเข็ม  มันก็ไม่มีผล เพราะแรงดันสปริงมีน้อยจนไม่มีแรงดันต้านการกดของแผ่นไดอะแฟรม  คือเมื่อไม่มีแรงกดของแผ่นไดอะแฟรม  การจะปรับให้มีแรงต้านการกดกระเดื่องของแผ่นไดอะแฟรมโดยตัวสปริงไอเดิล   ก็มีแต่สร้างแรงดันให้วาวล์ปิดเพิ่มขึ้นไปอีก  ผลก็คือมีแก็สผ่านได้น้อย  หรือแทบไม่มีเลย เครื่องยนต์ก็ดับในรอบเดินเบา 

เป็นที่ไปที่มาเรื่องปรับจูนหม้อต้มแก็สในรอบเดินเบาแล้วปรับยากอีกสาเหตุหนึ่ง  แต่ในรอบอัตราเร่งแทบจะไม่มีปัญหา  เพราะมีแรงดูดจากท่อไอดีมากขึ้น    แต่ในกรณีที่มีแรงดูดในรอบเดินเบาต่ำตรงท่อเข้าหม้อต้มแก็ส จะทำให้อัตราเร่งไม่ตอบสนอง   เพราะว่าเมื่อมีการปรับรอบเดินเบาพยายามที่จะปรับตัวไอเดิลให้มี่แรงดันต้านที่ก้านกระเดื่องวาวล์น้อยลงมาก  กลับทำให้วาวล์เปิดได้ง่ายเมื่อเริ่มมีแรงดูดแว็คคั่มที่รอบอัตราเร่งรอบต่ำ   เป็นผลให้มีแก็สมากในส่วนผสม การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์  เครื่องยนต์ไม่ค่อยมีกำลัง ขณะออกตัวจะอืด  แต่จะดีในรอบเครื่องยนต์กลางๆขึ้นไปเพราะวาวล์เปิดเต็มที่    แต่ก็ต้องมีอุปสรรค์ เพราะมีตัวเพาเวอร์วาวล์ เป็นก้างขวางคอ  จำกัดทางไหลของแก็สเอาไว้ ตามการปรับกำหนดให้แก็สผ่านพอดีกับรอบเครื่องยนต์ที่ตั้งไว้ในการปรับจูนแก็ส   

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เพื่อให้เห็นว่าการย้ายต่ำแหน่งมิ๊กเซอร์  มีผลและไม่มีผลอย่างไร  มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการหาจุดที่พอเหมาะในการจ่ายแก็สมิ๊กที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  มีอะไรที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง  ก็ไม่ขอนำมากล่าว  เพราะว่าที่ทำกันอยู่มันก็ผิดหลักการ  ในการจ่ายเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ…

ความจริงผมมีข่าวดีที่จะมาบอกให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบว่า   ขณะนี้ผมได้ออกแบบพัฒนาแก็สแบบดูดขึ้นมาใหม่  ให้มีการจ่ายแก็สตรงเข้าท่อไอดีโดยตรง และสามารถจ่ายแก็สตามการเหยียบคันเร่งหรือตามการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อ   ทำให้ตัดปัญหาเรื่องรอบเดินเบาและอัตราเร่ง  แถมยังทำให้การตอบสนองในการขับขี่ วิ่งสนุกกว่าระบบน้ำมัน  หากปรับตัวระบบการคอนโทรลการจ่ายแก็สให้กินเพิ่มขึ้นมาบ้างเล็กน้อย  ขับสนุกมาก
และขณะนี้ก็กำลัง' งานสร้างต้นแบบอยู่ที่โรงกลึงและไส ทำชิ้นส่วนตัวกล่องคอนโทรล มาสองสามอาทิตย์แล้ว  งานยังอยู่ในขันตอนกัดเฟือง เจาะในส่วนของระบบการจ่ายแก็ส ของรอบเดินเบาและการจ่ายแก็สแบบประหยัดและแบบใช้กำลัง...............รออ่านในกระทู้ต่อไปครับ........srithanon



ขอบคุณที่สละเวลาพิมตั้งเยอะนะคับ ความรู้ทั้งนั้นเลยคับ
เท่าที่ผมเคยเจอปัญหาของมิกเซอร์ ในคาริเบี้ยนเวลาผมลากรอบสูงๆผมลากได้แค่ไม่เกิน3500 แต่ผมขอเดาว่าน่าจะเปนเรื่องของเครื่องยนต์มากกว่าที่ไม่สามารถลากรอบได้ถึง7000รอบเหมือนซีวิค

ผมสังเกตว่าเวลาเปลี่ยนเป๊นน้ำมันขึ้นเขาเวียงโกศัย ลองเปลี่ยนเป็นน้ำมันเพราะคิดว่าน่าจัะมีกำลังมากกว่าแก้ส ผมต้องประสบพบเจอกับสิ่งที่ไท่คาดคิด นั่นก่้คือ รถไม่มีกำลัง เคื่องยนอืด พอเหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้น รอบเครื่องยนต์ตกลงอย่างน่าแปลกใจ เหมือนอย่างกับเวลาน้ำมันจะหมด
ผมจึงอนุมานเอ่เองว่าน่าจะเป็นเพราะมิกเซอร์มาขวางทางอากาศทำให้อากาศไม่พอ
ข้อสันนิษฐานนี้ น่าจะเปนไปได้มั้ยคับ
ส่วนในรอบสูงๆผมไม่เคยเจอปัญหากับแก้สเพราะผมลากรอบได้ไม่เกิน3500 เมื่อจูนรอบเดินเบาได้แล้วจึงไม่เคยพบปัญหาในรอบสูงๆเหมือนคนอื่น
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
srithanon
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #52 เมื่อ: 08 กันยายน 2012, 07:24:23 »

ก็เป็นส่วนหนึ่งครับตามที่คุณคิด    ในหลายส่วนที่เกี่ยวข้องเรื่องของระบบแก็ส     ยิ่งเป็นแก็สระะบบดูดมันมีปัญหามาก โดยเฉพาะแบบดูดที่จ่ายแก็สที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  ทำให้ก่อปัญหามากมาย    สำหรับปัญหารถคาริเบียลที่คุณเล่าให้ฟัง   น่าจะมาจากการจ่ายปริมาณแก็สไม่พอ  องศาไฟจุดระเบิดไม่เหมาะกับการใช้แก็ส   เป็นกับเครื่องยนต์ ที่มีกำลังอัดต่ำ  หรือขนาด CC ของเครื่องยนต์ ประเภท 1200-1500CC   มีกำลังอัดในกระบอกสูบประมาณ  8.5/1 หรือไม่เกิน 9/1  เครื่องยนต์พวกนี้เหมาะที่จะใช้เชื้อเพลิงที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำ ประเภทค่าอ๊อกเทน 87-91 มากกว่า 95    

แก็สมีค่าอ๊อกเทน 95-105 ซึ่งค่า 0ctane ขนาดนี้ เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัด มากกว่า 9/1-10/1   ใช้กับเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1600CC ขึ้นไป  จะพบว่าค่าอ็อเทนของแก็สมันมีค่าสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 100-105   เมื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็กตามที่กล่าว    จะทำให้การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์    เครื่องยนต์ก็ไม่มีกำลัง   ค่า octane ยิ่งสูง การจุดระเบิดติดไฟก็ยิ่งยาก   ดังนั้นมันจึงเหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัดสูงๆ  ทำให้การติดไฟของค่าอ็อกเทนจุดระเบิดได้ดี  เช่นพวกรถแข่งท่มีกำลังของกระบอกสูบสูงมาก  จึงใช้ค่าน้ำมันอ๊อกเทนสูงๆ
หากมาใช้ค่าอ๊อกเทนต่ำๆ  พวก 87-91  จะเกิดการชิงจุดระเบิดก่อน  เพราะว่าค่าอ๊อกเทนต่ำ การติดไฟทำได้ง่าย  ยกตัวอย่างในเครื่องยนต์ดีเซล มีค่าอ็อกเทนต่ำติดไฟได้ง่าย   เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวสู่ช่วงอัด ก่อนถึง TDC  พอหัวฉีด ฉีดน้ำมัน  มันก็จุดระเบิดทันที่   ไม่ต้องใช้ไฟจากหัวเทียน

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถคุณจึงเป็นไปได้ว่า มีผลกับการใช้แก็ส LPG ที่มีค่าอ๊อกเทนสูง    จึงจำเป็นที่จะต้องปรับองศาไฟจุดระเบิดให้แก่ขึ้น  หมายความว่า ปกติพื้นการการจุดระเบิดของเครื่องยนต์จะอยู่ที่ 10 องศา   ควรปรับให้มาอยู่ที่ประมาณ 7-5 องศา  ทั้งนี้เพื่อให้ ลูกสูบเคลื่อนที่สู่จุดศูนย์ตายบนเพิ่มขึ้น  เพื่อสร้างแรงอัดในกระบอกสูบให้สูงขึ้น  ก็จะช่วยได้ครับ   หรือบางแห่งก็เอาฝาสูบมาปาดให้ลดลงเพื่อเพิ่มแรงอัดในกระบอกสูบ  มันก็จะใช้กับระบบแก็สได้ดี   แต่ผมไม่แนะนำให้ทำ  เพราะแค่ปรับองศาการจุดระเบิดที่จานจ่ายก็พอรับได้แล้ว   ส่วนในกรณีเครื่องยนต์ที่ไม่มีจานจ่าย พวกไดเร็คคอย  ต้องแก้ด้วยโปรแกรม  ก็ยุ่งยาก  

ส่วนประเด็นอื่นๆก็ดังที่ผมเกริ่นไว้ตามข้างบนนะครับ    ความจริงแล้วผมเขียนเนื้อเรื่อง  เรื่องการใช้ระบบแก็สแบบดูดไว้ลงกระทู้  เพื่อให้เห็นข้อการทำงานของระบบ  ว่ามันมีจุดด้อยตรงไหน  มันมีส่วนไหนที่ไม่เหมาะสม และควรแก็อย่างไร   แต่ข้อแก้ไข ผมไม่แนะนำให้ใช้การยิงแก็สหรือจ่ายแก็สที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ    เพราะแก็ให้ดีไม่ได้  นอกจากจะพอใช้ได้เท่านั้น   ก็เป็นที่ไปที่มา  ที่ทำให้ผมได้คิดพัฒนาระบบแก็สแบบดูด ให้ทำงานจ่ายปริมาณแก็สเข้าที่ท่อไอดีโดยตรง  มีทั้งสองเวอร์ชั่น  คือแบบยิงท่อเดียวเข้าท่อไอดี พร้อมกับหม้อต้มแก็สระบบดูด  ทำการจ่ายแก็สตามการเหยียบของคันเร่ง  หรือการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อ   และแบบที่สอง  จ่ายแก็สตรงเข้าท่อไอดีแบบแก็สระบบหัวฉีด  พร้อมชุดหม้อต้มแก็สแบบหัวฉีด ที่มีแรงดันแก็ส ออกมาเข้ารางดันระบบแก็ส   แต่ของผมเป็นกล่องคอนโทรล   ที่ออกแบบมาเป็นแบบแม็คคานิคส์ทั้งหมด  เพื่อให้การติดตั้งและปรับจูนได้ง่าย  ไม่ยุ่งยากกับขั้นการติดตั้งและจูน  จูนปรับครั้งเดียวก็ใช้ได้ตลอด   แต่กินแก็สเพิ่มขึ้นมากกว่าระบบหัวฉีด  แต่ก็ไม่มาก   แต่ผมก็ออกแบบให้ใช้แบบประหยัดและเพาเวอร์  ให้เลือกใช้    

ความจริงเรื่องนี้ผมยังไม่พร้อมที่จะนำมาเสนอในตอนนี้   เพราะกำลังสร้างกล่องควบคุมการคอนโทรลแก็ส  ที่โรงกลึงเหล็ก   ทำมาได้ส่วนหนึ่งแล้ว  เนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนกับชิ้นส่วนที่กลึง ไส เพราะมันเล็ก พวกเฟือง แกนเพลา ช่องพอร์ทต่างๆ   โรงกลึงบางที่กลึงไม่ได้  เพราะมันเล็ก ต้องใช้เครื่องกลึงแบบ มิลลิ่ง(ไม่รู้เรียกผิดหรือเปล่า ขออภัย)  หากเสร็จสมบูรณ์แล้วคงจะมาแจ้งให้เพื่อนๆทราบ    เพราะต้นแบบคันแรกก็คือเจ้า CIVIC ตาโต  และไดเมนชั่นตาเหยี่ยว ที่ผมมีอยู่  พร้อมมาสด้ากระบะเบ็นซิล    ขั้นต้นทดลองระบบแล้วใข้ได้ดีเกินคาด  แต่อุปกรณ์ยังทำการไม่ต่อเนื่อง  เพราะเป็นการปะติบประต่อ แค่ให้มันจ่ายแก็สได้   แล้วสรุปเอามทำกล่องต้นแบบครับ     ......srithanon
บันทึกการเข้า
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #53 เมื่อ: 08 กันยายน 2012, 08:37:23 »

ก็เป็นส่วนหนึ่งครับตามที่คุณคิด    ในหลายส่วนที่เกี่ยวข้องเรื่องของระบบแก็ส     ยิ่งเป็นแก็สระะบบดูดมันมีปัญหามาก โดยเฉพาะแบบดูดที่จ่ายแก็สที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ  ทำให้ก่อปัญหามากมาย    สำหรับปัญหารถคาริเบียลที่คุณเล่าให้ฟัง   น่าจะมาจากการจ่ายปริมาณแก็สไม่พอ  องศาไฟจุดระเบิดไม่เหมาะกับการใช้แก็ส   เป็นกับเครื่องยนต์ ที่มีกำลังอัดต่ำ  หรือขนาด CC ของเครื่องยนต์ ประเภท 1200-1500CC   มีกำลังอัดในกระบอกสูบประมาณ  8.5/1 หรือไม่เกิน 9/1  เครื่องยนต์พวกนี้เหมาะที่จะใช้เชื้อเพลิงที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำ ประเภทค่าอ๊อกเทน 87-91 มากกว่า 95    

แก็สมีค่าอ๊อกเทน 95-105 ซึ่งค่า 0ctane ขนาดนี้ เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัด มากกว่า 9/1-10/1   ใช้กับเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1600CC ขึ้นไป  จะพบว่าค่าอ็อเทนของแก็สมันมีค่าสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 100-105   เมื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็กตามที่กล่าว    จะทำให้การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์    เครื่องยนต์ก็ไม่มีกำลัง   ค่า octane ยิ่งสูง การจุดระเบิดติดไฟก็ยิ่งยาก   ดังนั้นมันจึงเหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัดสูงๆ  ทำให้การติดไฟของค่าอ็อกเทนจุดระเบิดได้ดี  เช่นพวกรถแข่งท่มีกำลังของกระบอกสูบสูงมาก  จึงใช้ค่าน้ำมันอ๊อกเทนสูงๆ
หากมาใช้ค่าอ๊อกเทนต่ำๆ  พวก 87-91  จะเกิดการชิงจุดระเบิดก่อน  เพราะว่าค่าอ๊อกเทนต่ำ การติดไฟทำได้ง่าย  ยกตัวอย่างในเครื่องยนต์ดีเซล มีค่าอ็อกเทนต่ำติดไฟได้ง่าย   เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวสู่ช่วงอัด ก่อนถึง TDC  พอหัวฉีด ฉีดน้ำมัน  มันก็จุดระเบิดทันที่   ไม่ต้องใช้ไฟจากหัวเทียน

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถคุณจึงเป็นไปได้ว่า มีผลกับการใช้แก็ส LPG ที่มีค่าอ๊อกเทนสูง    จึงจำเป็นที่จะต้องปรับองศาไฟจุดระเบิดให้แก่ขึ้น  หมายความว่า ปกติพื้นการการจุดระเบิดของเครื่องยนต์จะอยู่ที่ 10 องศา   ควรปรับให้มาอยู่ที่ประมาณ 7-5 องศา  ทั้งนี้เพื่อให้ ลูกสูบเคลื่อนที่สู่จุดศูนย์ตายบนเพิ่มขึ้น  เพื่อสร้างแรงอัดในกระบอกสูบให้สูงขึ้น  ก็จะช่วยได้ครับ   หรือบางแห่งก็เอาฝาสูบมาปาดให้ลดลงเพื่อเพิ่มแรงอัดในกระบอกสูบ  มันก็จะใช้กับระบบแก็สได้ดี   แต่ผมไม่แนะนำให้ทำ  เพราะแค่ปรับองศาการจุดระเบิดที่จานจ่ายก็พอรับได้แล้ว   ส่วนในกรณีเครื่องยนต์ที่ไม่มีจานจ่าย พวกไดเร็คคอย  ต้องแก้ด้วยโปรแกรม  ก็ยุ่งยาก  

ส่วนประเด็นอื่นๆก็ดังที่ผมเกริ่นไว้ตามข้างบนนะครับ    ความจริงแล้วผมเขียนเนื้อเรื่อง  เรื่องการใช้ระบบแก็สแบบดูดไว้ลงกระทู้  เพื่อให้เห็นข้อการทำงานของระบบ  ว่ามันมีจุดด้อยตรงไหน  มันมีส่วนไหนที่ไม่เหมาะสม และควรแก็อย่างไร   แต่ข้อแก้ไข ผมไม่แนะนำให้ใช้การยิงแก็สหรือจ่ายแก็สที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อ    เพราะแก็ให้ดีไม่ได้  นอกจากจะพอใช้ได้เท่านั้น   ก็เป็นที่ไปที่มา  ที่ทำให้ผมได้คิดพัฒนาระบบแก็สแบบดูด ให้ทำงานจ่ายปริมาณแก็สเข้าที่ท่อไอดีโดยตรง  มีทั้งสองเวอร์ชั่น  คือแบบยิงท่อเดียวเข้าท่อไอดี พร้อมกับหม้อต้มแก็สระบบดูด  ทำการจ่ายแก็สตามการเหยียบของคันเร่ง  หรือการเปิดของลิ้นปีกผีเสื้อ   และแบบที่สอง  จ่ายแก็สตรงเข้าท่อไอดีแบบแก็สระบบหัวฉีด  พร้อมชุดหม้อต้มแก็สแบบหัวฉีด ที่มีแรงดันแก็ส ออกมาเข้ารางดันระบบแก็ส   แต่ของผมเป็นกล่องคอนโทรล   ที่ออกแบบมาเป็นแบบแม็คคานิคส์ทั้งหมด  เพื่อให้การติดตั้งและปรับจูนได้ง่าย  ไม่ยุ่งยากกับขั้นการติดตั้งและจูน  จูนปรับครั้งเดียวก็ใช้ได้ตลอด   แต่กินแก็สเพิ่มขึ้นมากกว่าระบบหัวฉีด  แต่ก็ไม่มาก   แต่ผมก็ออกแบบให้ใช้แบบประหยัดและเพาเวอร์  ให้เลือกใช้    

ความจริงเรื่องนี้ผมยังไม่พร้อมที่จะนำมาเสนอในตอนนี้   เพราะกำลังสร้างกล่องควบคุมการคอนโทรลแก็ส  ที่โรงกลึงเหล็ก   ทำมาได้ส่วนหนึ่งแล้ว  เนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนกับชิ้นส่วนที่กลึง ไส เพราะมันเล็ก พวกเฟือง แกนเพลา ช่องพอร์ทต่างๆ   โรงกลึงบางที่กลึงไม่ได้  เพราะมันเล็ก ต้องใช้เครื่องกลึงแบบ มิลลิ่ง(ไม่รู้เรียกผิดหรือเปล่า ขออภัย)  หากเสร็จสมบูรณ์แล้วคงจะมาแจ้งให้เพื่อนๆทราบ    เพราะต้นแบบคันแรกก็คือเจ้า CIVIC ตาโต  และไดเมนชั่นตาเหยี่ยว ที่ผมมีอยู่  พร้อมมาสด้ากระบะเบ็นซิล    ขั้นต้นทดลองระบบแล้วใข้ได้ดีเกินคาด  แต่อุปกรณ์ยังทำการไม่ต่อเนื่อง  เพราะเป็นการปะติบประต่อ แค่ให้มันจ่ายแก็สได้   แล้วสรุปเอามทำกล่องต้นแบบครับ     ......srithanon

ขอบคุณครับ เปนโปรเจคที่น่าสนใจจริงๆ
ขอถามอีกนิดคับ ในเมื่อมิกเซอร์มันเปนการจ่ายเชื่้อเพลิงที่ผิดวิธี งั้นจิงๆแล้วเราควรจะต้องจ่ายแก้ส  หลังปีกผีเสื้อใช่มั้ยคับ เหมือนกับการจายน้ำมัน และหัวฉีดแก้ส
แต่ปัญหาที่จะต้องเจอแน่ๆก้คือถ้าเราจะย้ายมาไว้าที่คอไอดี หรือท่อไอดีสำหรับคาบู จึงมีความจำเป๊นจะต้องเจาะไอดีเพื่อจ่ายแก้ส
และ หัวจ่ายแก้สแบบนี้ ไม่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป
ตามอู่แก้สจึงใช้มิกเซอร์จ่ายแก้สที่หน้าปีกผีเสื้อเพื่อความสะดวก
บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
srithanon
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #54 เมื่อ: 08 กันยายน 2012, 13:27:38 »

ที่ถูกต้อง  ก็ตามที่คุณ CYU  กล่าวนั่นแหละครับ    มันต้องจ่ายปริมาณแก็สเข้าที่หลังปีกผีเสื้อ  หรือที่ท่อไอดีครับ  ส่วนตรงไหนนั้นรอให้โปรเจ็คงานผมออกมา แล้วติดตั้งทดลองได้ผลตามที่ออกแบบไว้  จะนำมาเสนอแบบคลิป VDO  มีทั้งแบบยิงเข้าท่อเดียว และสี่ท่อเหมือนระบบแก็สหัวฉีด
 การจ่ายปริมาณแก็สที่หลังปีกผีเสื้อหรือห้องไอดี  คือหลักการที่ถูกต้องครับ  ทำให้การคอนโทรลรอบเดินเบาทำได้ง่าย เช่นเดียวกับระบบน้ำมัน  ที่อาศัยอากาศช่วยรอบเดินเบา ที่มีสรูปรับอากาศที่ลิ้นปีกผีเสื้อ  และอากาศที่ผ่านตัวช่วยเรื่องรอบเดินเบา พวกสเต็ปมอเตอร์ ISC แบบบต่างๆ  เป็บตัวจ่ายอากาศในรอบเดินเบา   โดยแยกเชื้อเพลิงจ่ายต่างหากเข้าที่ท่อไอดี  

ดังนั้นการปรับรอบเดินเบาในระบบแก็สก็จะยึดเอาระบบของน้ำมันมาใช่ร้วมกัน    กล่าวคือไม่ต้องไปยุ่งกับมัน น้ำมันปรับอย่างไร  แก็สก็ปรับแบบเดียวกัน  ส่วนที่จะปรับให้รอบเพิ่มขึ้นตามที่กำหนดในรอบเดินเบาก็ปรับแก็สเพิ่มเข้าไปแบบน้ำมัน    ในระบบน้ำมันที่เป็นเครื่องยนต์หัวฉีด จะจ่ายปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เป็นไปตามการคอนโทรลของระบบเซ็นเซอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรอบเดินเบา  เพื่อให้ ECU สั่งให้หัวฉีด มีระยะความถี่ในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับรอบเดินเบา   โดยไม่ได้ไปยุ่งกับระบบอากาศช่วยรอบเดินเบาโดยการปรับสกรูช่วย     ในระบบแก็สก็ทำการปรับแก็สให้หนาในรอบเดินเบา   ก็ต้องทำคล้ายกัน  ถึงแม้จะเป็นแบบ open loop  ก็ถือว่าใช้ได้   ถึงจะไม่เหมือนแบบ close loop  ที่ต้องเอาค่าปรับแต่งจากเซ็นเซอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องมาประมวลผล   เพื่อให้ ECU สั่งจ่ายน้ำมันได้เหมาะสมและแม่นยำ       แต่ถึงแม้ว่า open  loop จะแกว่งไปบ้างเรื่องอัตราส่วน  ความหนาบางของแก็สที่จ่าย  ก็ไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรมากและทำงานได้ดี ถึงจะดีไม่เท่าระบบ close loop ก็ตาม

ดังนั้นกล่าวแบบสรุปๆว่า  การจ่ายแก็สที่หลังปีกผีเสื้อ มันก็คือหลักการจ่ายระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอากาศและน้ำมันแยกออกจากกัน   แล้วให้ไปมิ๊กรวมกันในกระบอกสูบ   ทำให้การปรับจูนการจ่ายเชื้อเพลิงและอากาศได้ง่าย   แลพประการสำคัญ อากาศที่ผ่านจากกรองอากาศผ่านลิ้นปีกผีเสื้อไปเข้าท่อไอดี   ก็ไม่มีการขัดขวางจากท่อมิ๊กของแก็ส(เพราะใช้แบบเดิมของระบบน้ำมัน)  ที่ทำให้ช่องผ่านอากาศลดลง  มีอากาศไม่พอดีกับความต้องการของรอบเครื่องยนต์สูงๆในอัตราเร่ง
ก็เอามากล่าวแบบย่อๆพอให้นึกถึงหลักการจ่ายระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และอากาศของเครื่องยนต์ครับ........srithanon
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กันยายน 2012, 13:43:18 โดย srithanon » บันทึกการเข้า
cyu
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,713



« ตอบ #55 เมื่อ: 08 กันยายน 2012, 19:03:55 »

ที่ถูกต้อง  ก็ตามที่คุณ CYU  กล่าวนั่นแหละครับ    มันต้องจ่ายปริมาณแก็สเข้าที่หลังปีกผีเสื้อ  หรือที่ท่อไอดีครับ  ส่วนตรงไหนนั้นรอให้โปรเจ็คงานผมออกมา แล้วติดตั้งทดลองได้ผลตามที่ออกแบบไว้  จะนำมาเสนอแบบคลิป VDO  มีทั้งแบบยิงเข้าท่อเดียว และสี่ท่อเหมือนระบบแก็สหัวฉีด
 การจ่ายปริมาณแก็สที่หลังปีกผีเสื้อหรือห้องไอดี  คือหลักการที่ถูกต้องครับ  ทำให้การคอนโทรลรอบเดินเบาทำได้ง่าย เช่นเดียวกับระบบน้ำมัน  ที่อาศัยอากาศช่วยรอบเดินเบา ที่มีสรูปรับอากาศที่ลิ้นปีกผีเสื้อ  และอากาศที่ผ่านตัวช่วยเรื่องรอบเดินเบา พวกสเต็ปมอเตอร์ ISC แบบบต่างๆ  เป็บตัวจ่ายอากาศในรอบเดินเบา   โดยแยกเชื้อเพลิงจ่ายต่างหากเข้าที่ท่อไอดี  

ดังนั้นการปรับรอบเดินเบาในระบบแก็สก็จะยึดเอาระบบของน้ำมันมาใช่ร้วมกัน    กล่าวคือไม่ต้องไปยุ่งกับมัน น้ำมันปรับอย่างไร  แก็สก็ปรับแบบเดียวกัน  ส่วนที่จะปรับให้รอบเพิ่มขึ้นตามที่กำหนดในรอบเดินเบาก็ปรับแก็สเพิ่มเข้าไปแบบน้ำมัน    ในระบบน้ำมันที่เป็นเครื่องยนต์หัวฉีด จะจ่ายปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เป็นไปตามการคอนโทรลของระบบเซ็นเซอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรอบเดินเบา  เพื่อให้ ECU สั่งให้หัวฉีด มีระยะความถี่ในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับรอบเดินเบา   โดยไม่ได้ไปยุ่งกับระบบอากาศช่วยรอบเดินเบาโดยการปรับสกรูช่วย     ในระบบแก็สก็ทำการปรับแก็สให้หนาในรอบเดินเบา   ก็ต้องทำคล้ายกัน  ถึงแม้จะเป็นแบบ open loop  ก็ถือว่าใช้ได้   ถึงจะไม่เหมือนแบบ close loop  ที่ต้องเอาค่าปรับแต่งจากเซ็นเซอร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องมาประมวลผล   เพื่อให้ ECU สั่งจ่ายน้ำมันได้เหมาะสมและแม่นยำ       แต่ถึงแม้ว่า open  loop จะแกว่งไปบ้างเรื่องอัตราส่วน  ความหนาบางของแก็สที่จ่าย  ก็ไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรมากและทำงานได้ดี ถึงจะดีไม่เท่าระบบ close loop ก็ตาม

ดังนั้นกล่าวแบบสรุปๆว่า  การจ่ายแก็สที่หลังปีกผีเสื้อ มันก็คือหลักการจ่ายระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอากาศและน้ำมันแยกออกจากกัน   แล้วให้ไปมิ๊กรวมกันในกระบอกสูบ   ทำให้การปรับจูนการจ่ายเชื้อเพลิงและอากาศได้ง่าย   แลพประการสำคัญ อากาศที่ผ่านจากกรองอากาศผ่านลิ้นปีกผีเสื้อไปเข้าท่อไอดี   ก็ไม่มีการขัดขวางจากท่อมิ๊กของแก็ส(เพราะใช้แบบเดิมของระบบน้ำมัน)  ที่ทำให้ช่องผ่านอากาศลดลง  มีอากาศไม่พอดีกับความต้องการของรอบเครื่องยนต์สูงๆในอัตราเร่ง
ก็เอามากล่าวแบบย่อๆพอให้นึกถึงหลักการจ่ายระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และอากาศของเครื่องยนต์ครับ........srithanon

เข้าใจละคร้าบ ขอบคุณสำหรับข้อมูลคร้าบบ
ไว้จะติดตามโปรเจคนะคร้าบบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กันยายน 2012, 19:08:28 โดย cyu » บันทึกการเข้า

แอบแซงเพราะแรงน้อย

https://www.facebook.com/cyu.boonyawat
หน้า: 1 [2] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: ย้ายมิกเซอร์แก๊ส
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |