เอาแบบทฤษฎีนะครับ
ถ้าตอน ม.ปลาย ตั้งใจเรียนสัก 50% น่าจะพอเข้าใจบ้าง มันเป็นทฤษฎีของก๊าซง่ายๆ ครับ
เครื่องยนต์ไม่ได้เกิดแรงจากการจุดระเบิดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แรงดันของก็าซร้อนและก๊าซเย็น ก็มีผลต่อรอบเครื่องว่าจะขึ้นไว หรือค่อยๆไต่ระดับขึ้นไป เวลาลูกสูบ "ดูด" เมื่อวาล์วเปิดลูกสูบถอยลง จะเกิดแรงดูดเพราะปริมา๖รในห้องจุดระเบิดมันมากขึ้น และ "อุณหภูมิที่เย็นกว่าจะดันอากาศไปหาที่ที่ร้อนกว่าในห้องจุดระเบิดด้วย" เรียกว่าเกิด 2 แรงพร้องกัน ตรงนี้ ไม่ว่าเครื่องอะไร มันต้องการช่องกว้างๆ เพราะระยะท่อมันไม่ยาว แรงคาบิลลารี่ไม่ค่อยมีผลมาก ท่อใหญ่ ลิ้นกว้างๆ จึงเป็นที่ต้องการของบรรดาเครื่องซิ่งทั้งหลาย
ทีนี้มาเข้าประเด็นท่อไอเสีย เคยคิดว่าทำไมรถทุกคันจึงออกแบบให้ปลายท่อไปโหล่ท้ายรถ นอกจากเรื่องความปลอดภัย เรื่องสุขภาพแล้ว "เรื่องแรงเครื่องยนต์" ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ท่อไอเสียควรจะ ยาวๆ ไว้ ขนาดซุปเปอร์คาร์ ท่อมันยังพยายามขดไปมาเพื่อให้ได้ระยะยาวที่สุด
เนื้องจาก เวลาคายไอร้อน มันตรงข้าวกับทีแรกถ้าไม่มีเทคนิค อากาศเย็นจะพยายามดันย้อนกลับเข้าเครื่องเพื่อลดผลตรงนี้ ท่อก็เลยเอาที่เย็นๆ ไปไว้ไกลๆ หน่อย แต่มันไม่ใช่ประเด้นหลัก ประเด็นมาอยู่ที่แรงคาปิลลารี่
เคยสังเกตไหม น้ำในสายยางขนาดครึ่งนิ้วยาวๆ เวลาเปิดไหลไป เวลาปิดมัน มันเหมือนจะมีแรงกระตุกจากน้ำในสายยางที่มันไหลเร็วๆ มันกระตุกแรงจะบางครั้งก๊อกน้ำอาจเสียหายได้ ช่างที่มีประสบการณ์จะเปลี่ยนเป้นสายยางที่ใหญ่ขึ้นโดยใช้ก๊อกเดิม เวลาเปิดน้ำมันก็ไหลเอื่อยๆ เวลาปิด มันก็ไม่มีแรงดูด มากนัก
เช่นกัน ไอเสียเวล่ผ่านท่อขนาดเล็กๆ มันจะวิ่งเร็ว แต่ถ้าเล็กเกินไป มันก็เกิดอาการ "อั้น" คือไอเสียวิ่งไม่คล่องมันก้เลยต้องอาศัยลูกสูบ "อัด" ไล่มันออกตามท่อ ยิ่งยาวเท่าไหร่ มันก้ยิ่งอั้น ยิ่งอั้นก้ยิ่งต้องใช้แรง อัด เครื่องมันก็เสียกำลังไปมาก
ถ้าท่อขนาดพอดีๆ มันจะไม่มีอาการอั้นในขณะที่ไอเสียวิ่งได้เร็วที่สุด ตรงนี้ จะเกิดแรงดูดตามธรรมชาติที่เรียกว่าแรงคาปิลลารี่ ช่วยดูดไปเสียออกจาก้หองเผาไหม
เมื่อไอเสียถูกดูด ลูกสูบก็ถูกดูดตามขึ้นมาด้วย มันก้เท่ากับว่าแรงดูดตรงนี้ ไปเพิ่มแรงม้าให้เครื่องยนต์ด้วย ท่อยิ่งยาวเท่าไหร่ แรงดูดก็ยิ่งมาก ก็เลย ออกแบบรถให้มีท่ออยู่ท้ายรถเลย
ถ้าท่อมันใหญ่ไป อากาศ ก็ถูกคายได้ง่าย แต่มันไม่มีแรงดูดมาช่วย มันก็เลย อาศัยแรงจากลูกสูบมาดันออกอย่างเดียว มันก็เลยกลายเป้นว่ารู้สึกเครื่องมันแรงหายๆ ไปบางส่วน ที่บางคนบอก "โล่งไป" ไงล่ะ
อธิบาย ง่ายๆ ไม่ได้ยกสมการอะไรมาอธิบาย คิดว่าพอเห็นหลักการนะครับ
