สำหรับ รถ Civic ES ที่วิ่งใช้งานประมาณ 130,000++ กม. (บางคันแค่ 60,000 กม. เอง) หรือ 6 ปีขึ้นไป โอกาสที่ Relay จะเสื่อม (ทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง หรือ ไม่ทำงานเลย) นั้นค่อนข้างสูง หน้าคลัชคอมแอร์ไม่จับ หรือ คลัชคอมจับแต่พัดลมระบายความร้อนที่แผงแอร์ไม่ทำงาน ส่งผลให้แอร์เย็นเลย หรือเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง หรือ แอร์มีแต่ลม รถสวย หรือ แรง แค่ไหนผู้ใช้งานก้อเซงครับ!!
รูปแสดงกล่องรีเลย์และฟิวส์ของรถ Civic ES ( Civic ปี2001 - 2005 ทั้งเครื่อง 1.7 และ 2.0)
สำหรับ รถ Civic ES ( Civic ปี2001 - 2005 ทั้งเครื่อง 1.7 และ 2.0) แอร์ไม่เย็น หรือ เย็นไม่ฉ่ำ เกจความร้อนขึ้นนิดๆ เชิญเข้ามาอ่าน การซ่อม DIY ด้วยตัวเองในราคาเบาๆกันก่อนไปร้านแอร์ หรือเข้าศูนย์ดีไหม
จะรู้ได้อย่างไรว่ารีเลย์เสื่อมรึยัง
การใช้เลข กม.เป็นตัววัด อาจจะไม่แม่นเพราะ ข้อมูลที่ผมถามเพื่อนๆ มีอาการ รีเลย์เสียชัดเจนมีตั้งแต่ 60,000 กม. กันเลยทีเดียว
ตาม สเปคทั่วไป รีเลย์ สามารถตัดต่อได้ประมาณ 1 แสนครั้ง (รถที่ใช้สภาพจราจรติดบ่อยๆ เป็นที่แน่นอนว่าใช้ได้ไม่ถึง 1 แสน กม. แน่นนอน) ดังนั้นทดสอบตรงๆกันเลยดีกว่า
1> วิธีทดสอบว่ารีเลย์เสื่อมหรือยังโดยเปิดแอร์ กด A/C เปิดๆปิดๆ 10 ครั้ง พัดลมต้องหมุนทั้งสองตัว และ หน้าคลัชต้องจับทุกครั้ง แนะนำให้ทดสอบหลังจากใช้งานมาเครื่องร้อนๆ ทดสอบตอนเครื่องเย็นอาจไม่พบความผิดปกติ
2> เกจความร้อนควรอยู่ปกติที่ 9 เม็ด ถ้าเกิน เช็คพัดลมและรีเลย์พัดลมด่วน นั่นหมายถึงร้อนเกินมากแล้ว เพราะเคสน้อง David เกจ DEFI แจ้งเตือนเครื่องร้อน แต่เกจความร้อนรถไม่เตือนขึ้น 9 เม็ดเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นี่เป็นสเปคของรีเลย์ยี่ห้อนึง อยากให้ดูตรงกรอบสีแดงๆ มันหมายความว่า รีเลย์ตัวนี้มีอายูการใช้งานตัดต่อที่ประมาณ 1 แสนครั้ง ซึ่งแสดงว่า ถ้ารีเลยตัดต่อ 1 ครั้งต่อระยะทาง 1 กม. แสดงว่า ถ้ารถวิ่ง 1 แสนโล รีเลย์นี้หมดอายุไป (เกินคุ้ม)เรียบร้อยแล้ว ที่มากกว่านั้น คุณคิดว่ารถยนต์ในสภาวะรถติดทั่วประเทศไทย ณ ปีนี้ ในระยะทาง 1 กม. พัดลม หรือ คลัชคอมแอร์ ทำงานกี่ครั้ง สรุป 1 แสนโล ก้อเปลี่ยนเถอะครับเกินคุ้มแล้ว ลูกหลาน ภรรยา ลุง ป้า น้า อาไม่ลำบาก อาบเหงื่อ อย่างน้อยยังไม่เปลี่ยนก็ควรมีเก็บไว้ในรถ
ตัวอย่างปัญหาที่พบกัน กรณี Relay เสื่อม แอร์เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง ออกอาการในเมืองรถติด อารมณ์เสียสุดๆ
สมาชิกเวปบอร์ดนี้ระดับ DRIFT KING ยืนยัน หนึ่งในสาเหตุแอร์ไม่เย็น
ทำไมต้องเปลี่ยน Relay พัดลมแผงแอร์ (เบอร์ 1)
ส่ง ผลโดยตรงกับพัดลม ระบายความร้อนที่แผงแอร์ไม่ทำงาน ส่งผลให้แอร์ไม่เย็นเลย หรือเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง คือ แอร์จะไม่เย็นช่วงอากาศร้อน หรือเย็นไม่ฉ่ำในช่ วงอากาศเย็น เพราะพัดลมแอร์ทำงานไม่ทำบ้าง ยิ่งร้อน ยิ่งร้อนยิ่งไม่อยากทำ
ทำไมต้องเปลี่ยน Relay พัดลมระบายความร้อน (เบอร์ 3)
อัน นี้ส่งผลกระทบรุนแรงถ้าเครื่อง Over heat คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับว่าวุ่นวาย หรือ ต้องเสียเงินซ่อมเครื่อง มากขนาดไหน ที่แน่ๆได้จอดข้างทางแน่
ถ้ารีเลย์ เบอร์ 4 เสื่อมแอร์จะไม่เย็นช่วงอากาศร้อน หรือเย็นไม่ฉ่ำในช่วงอากาศเย็น
ทำไม ต้องเปลี่ยน Relay หน้าคลัชคอมแอร์ (เบอร์ 4) หลักการทำงานของหน้าคลัชคอมแอร์คือ ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าดึงดูดหน้าคลับให้มายึดติดกับพูลเลย์หน้าคอมเพสเซอร์แอร์ ดังนั้น ถ้าสวิทย์ไฟฟ้า(รีเลย์) เบอร์ 7 เสื่อมทำงานบ้างไม่ทำบ้าง ทำให้แอร์ไม่เย็นขึ้น มีแต่ลม ดื้อๆแหละครับ
รูปแสดงการทำงานของ Relay หน้าคลัชคอมแอร์ (เบอร์ 4)
แผน ผังระบบไฟฟ้าในส่วนของรี เลย์ที่เกี่ยวข้องกับระบบแอร์มาให้ดูกันครับ นี่คือเหตุผลว่าเหตุใดควรเปลี่ยนทั้งชุด 3 ตัว เพราะรีเลย์ทำงานร่วมกันในวงจร ครับ
ทำไมจึงควรเปลี่ยน Relay ทั้ง 3 ตัว (เบอร์ 1, 3, 4)
เหตุผล ที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานมาพร้อมด้วยกัน อายุใช้งานน่าจะใกล้กัน เปลี่ยน 5 ตัวดีกว่าไหม เหมือนการยาง 4 เส้น เปลี่ยนโช้คอัพ 4 ต้น หัวเทียน 4 หัว ลองคิดว่า ถ้าระบบลิ้นปีกผีเสื้อ และ ระบบฉีดน้ำมันรวน เครื่องรวนๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายแล้วกะเงินแค่ไม่เกิน สามร้อยกว่าบาทเอง
เหตุผลที่ 2 อุปกรณ์ไฟฟ้าอายุการใช้งานไม่หนีกันมากหรอกครับยิ่งใช้งานมาพร้อมๆกันร้อนๆ แบบนี้ จะดีกว่ามั้ยถ้าเปลี่ยนไปเลยแล้วไม่ต้องมาคอยเช็ค กังวล และคราวหน้าคงจะไม่ต้องเปลี่ยนแล้ว เพราะขายรถไปแล้วมั้ง อีกทั้งรีเลย์เบอร์ 1, 3, 4 มีการทำงานตัดต่อบ่อย และกระแสไฟฟ้าผ่านสูง(ในแผงรีเลย์ใช้ขนาดเดียวกันแบบนี้ทั้งหมด 6 ตัว เบอร์ 1, 2, 4, 5, 7,
ถึงไม่เปลี่ยนแต่ควรมีสำรองไว้ในรถน่าจะดีคิดซะว่ายางอะไหล่ไม่มีตอนจะใช้ ก้อวุ่นวาย
เหตุผลที่ 3 รีเลย์มีการเชื่อมต่อและทำงานกันเป็นวงจร (ดูผังสายไฟรีเลย์ระบบแอร์ ระบบระบายความร้อนประกอบ) ถ้าเปลี่ยนส่วนนึงดีแล้ว ที่เหลือไม่ดี การทำงานจะไม่สมบรูณ์ ลองเทียบง่ายๆ เหมือนกับ เอา mainboard computer หรือ มือถือ ไปซ่อมคุณมีความมั่นใจแค่ไหนที่จะใช้ต่อ
ทำไมควรมี Relay สำรอง
ร้าน แอร์ หรือร้านอะไหล่ทั่วไป มีของสต็อกบ้าง ไม่มีบ้าง ถ้าเจอร้านแอร์ซามูไรโดนฟันไปครับ ราคาแพงหลายระดับ เท่าที่ทราบราคาศูนย์ ตัวละ 7xx บาท ไม่เชื่อเช็คราคากันได้เลย 5 ตัว ราคาเกือบ 4 พันบาท เปลี่ยนก่อนเสียมักราคาถูกกว่าเปลี่ยนตอนเสียแล้วครับ (เพราะถ้าเสียแล้วเท่าไรก้อต้องจ่ายคุณคงไม่ขับรถไม่มีแอร์ หรือ รถที่เครื่องยนต์กำลังจะ over heat) อีกทั้งการลองเปลี่ยนรีเลย์ยังเป็นการเปลี่ยนชิ้นส่วนสิ้นเปลืองเบื้องต้น ที่ใช้เงินไม่มากและทำได้เองครับภายใน 5 นาที แค่เข้าคิวศูนย์ใช้เวลามากกว่านี้ แถมซ่อมบางที่คิดค่าแรงเปลี่ยนรีเลย์ แถมพ่วงซ่อมจุดที่ไม่เสียอีกด้วย (อารมณ์ว่าเปลี่ยนรีเลย์ ได้เสียกันหลักร้อย มันรวยช้าไป)
สาเหตุที่ รีเลย์ พวกนี้เสียเพราะ
ระบบ ถูกออกแบบมาให้ตัดต่อบ่อยตามสไตล์ รถรุ่นใหม่ๆให้ตัดต่อบ่อยเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง (สเปครีเลย์ทั่วไปตัดต่อได้ประมาณ 1 แสนครั้ง เงื่อนไขรับประกันของศูนย์จึงเป็นอะไหล่สิ้นเปลือง เคลมไม่ได้)
กล่องแผง รีเลย์อยู่ให้ห้องเครื่องยนต์ที่ค่อนข้างร้อน ยิ่งรถติดๆไม่มีอากาศไหลผ่านเหมือนรถวิ่ง รถเดินเบาติดไฟแดงผมเคยวัดอากาศในห้องเครื่องได้ถึง 80 องศา แต่ขณะที่รถวิ่งอุณหภูมิสูงกว่าอากาศด้านรถกว่านิดหน่อยเท่านั้น ยิ่งขณะรถติดกระแสลมที่พัดลมดูดจากด้านหน้าไหล่ผ่านหม้อน้ำ และรังผึ้งแอร์ ร้อนๆไหลผ่านตัวพัดลมมาโดนแคทท่อไอเสีย ทำให้อากาศในห้องเครื่องร้อนมาก
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านชุดรีเลย์ระบบแอร์สีดำนี่หนักๆ ทั้งนั้น (สเปก ฟิวส์ 20 amp มากสุดแล้วในแผง ตามคู่มือ)
คุณ สามารถเปลี่ยนรีเลย์ได้ด้วยตัวเองครับง่ายมากไม่ต้องใช้ฝีมือมาก ตามบรรยายข้างล่าง 7 ข้อนะครับ แผงรีเลย์อยู่บริเวณหัวโช้คด้านหน้าคนขับครับ เปิดกล่องด้วยมือเปล่า ตามรูป
1. ปิดสวิทย์กุญแจ ชักกุญแจออกไปเลยเพื่อความชัวร์ (ห้ามเปลี่ยนรีเลย์ขณะติดเครื่อง หรือ กุณแจอยู่ในสถานะ ON)
2. เปิดกล่องรีเลย์ในห้องเครื่องอยู่บริเวณหัวโช้คด้านคนนั่ง ใช้มือเปล่าบีบสลักสองจุดดังรูปฝาจะอ้าออกเอง ตามรูปลูกศรสีแดง
3. ใช้ผ้าบางๆวางลงบนรีเลย์แล้วใช้คีมจับแล้วดึงขึ้นมาตรงๆ (ระวังหล่นตกลงไปในห้องเครื่อง) ขั้นตอนนี้ แนะนำให้ถอดรีเลย์ที่อยู่ด้านนอก (เบอร์ 1และ 4 ออกก่อนจึงค่อยถอด เบอร์ 2 ออก)
4. เปลี่ยนรีเลย์ ตัวใหม่แทนสังเกตขั้วเสียบให้ตรง ถ้าใส่ถูกจะกดลงได้อย่างง่าย (ตรวจสอบทุกตัวเสียบให้แน่น)
5. วิธีทดสอบรีเลย์พัดลมด้านหน้าทั้งสองตัวว่าใช้ได้หรือไม่ หรือเช็คว่ารีเลย์ตัวเก่าเสื่อมเสียหรือไม่ ให้เปิดแอร์ เปิดปุ่ม A/C แล้วไขกุญแจให้ถึงล็อกสุดท้ายก่อนจะสตาร์ท (ไม่ต้องสตาร์ท) ให้สังเกตพัดลมทั้งคู่หมุนหรือไม่ ให้ทดสอบซ้ำหลายๆครั้งโดยกด A/C เปิดๆปิดๆ 10 ครั้ง พัดลมด้านหน้าต้องหมุนทั้งสองตัวและหน้าคลัชคอมแอร์ต้องจับทุกครั้ง
6. วิธีทดสอบรีเลย์คลัชคอมแอร์ ติดเครื่องเปิดแอร์และเปิดปุ่ม A/C ถ้าคอมแอร์ตัดต่อปกติ สังเกตจากการเสียงแต้กได้ครับ เสียงดังอยู่แล้วรุ่นนี้ ถ้าไม่ยินเสียงให้ใช้ไฟฉายส่องดูที่หน้าคลัชตรงไปเลยครับว่าจับ สลับ ปล่อยบ้างหรือเปล่า ไม่ว่าเปิดแอร์มากหรือน้อยคอมตัดต้องตัดต่อบ่อยๆ แทบทุกไม่เกิน 1 นาที
7. ทดสอบผ่านแล้ว ปิดฝาครอบแผงรีเลย์ได้เลย