ขอฝากลิ้งค์นี้ไว้สักหน่อย
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2007/04/R5297617/R5297617.html cold 22 เป็นน้ำยาที่ทางยุโรป ญี่ปุ่นใช้มากว่า 10 ปีแล้ว ทางเยอรมันก็ใช้เยอะ ในด้านความปลอดภัยมันผ่านมาตรฐาน ยุโรป เยอร์มัน และญี่ปุ่น น้ำยาตัวนี้ติดไฟเพราะส่วนประกอปสำคัญคือ propane ที่อยู่ในแก๊สหุงต้มตามบ้านนั่นแหละ มันไม่ได้อันตรายมากไปกว่าเตาแก๊สในครัวหรอกครับ ตอนอยู่ในครัวน่ะติดไฟด้วย ก็ใช้กันทุกบ้าน พออยู่ในแอร์มันไม่มีไฟเหมือนอย่างในครัว จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าเยอะ
ปัญหาคือช่างแอร์บ้านเรา ไม่รู้จักน้ำยาตัวนี้กันนัก และมักฟังเพื่อนๆบอกต่อกันว่ามันติดไฟ เลยบอกต่อลูกค้าไปตามนั้นโดยไม่รู้จักหาข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำยาตัวนี้เติมทดแทนน้ำยา cold 22 ในแอร์ได้เลยโดยไม่ทำให้ระบบภายในมีปัญหา ข้อดีของมันคือ ใช้น้ำยาน้อยลง เย็นกว่าน้ำยาตัวเดิม แอร์จะประหยัดไฟกว่าเดิม เนื่องจากน้ำยาตัวนี้มันอัดให้เปลี่ยนสถานะได้ง่ายกว่าเดิม คอมเพรสเซอร์เลยกินแรงน้อยลง ประหยัดไฟประมาณ 12-16% เมื่อเทียบกับน้ำยา R22 แบบเดิม ทดสอบโดย เทคโนลาดกระบัง มีใบรับรองด้วย
ข้อเสีย ค่าอัด 1900 ผมว่าแพงไปนิด ถ้า 1200 จะดีมาก
ที่ผมรู้จักน้ำยาตัวนี้ดีเพราะ ลองใช้จริงมาแล้ว และมีคำถามเหมือนคุณ เลยไป search article ของเมืองนอก มาศึกษาเยอะจนรู้จักมันดีมาก มากกว่าช่างแอร์ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ไปอ่านบทความภาษาอังกฤษ
คุณดาราชเดชพูดถูกว่ายังไม่มีบริษัทแอร์รับรองครับ ตัวผมเองว่าจะใช้ cold 22 เหมือนกัน กำลังหาช่างมาทำอยู่ เติมเองไม่เป็น ไม่งั้นทำไปแล้ว
เอาบทความที่ผมเขียนอธิบายเกี่ยวกับเจ้า COLD 134 มาให้ดูครับ COLD 22 ก็เหมือนกัน เป็นน้ำยาตระกูลเดียวกัน
บอกไว้ก่อนว่าผมไม่ได้ขาย แอร์ ไม่ได้ขายน้ำยาแอร์ด้วย แต่เห็นอะไรใหม่ๆแล้วชอบลองครับ
ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้ลองใช้เจ้า cold 134 อยู่ 3 วันแล้วติดใจ มันเย็นดีมาก คุณ ter ช่วยมาอัดลองให้ทันที แถมยังซื้อติดมือมาอีก 2 กระป๋องไว้ใช้วันหลัง แต่มันดันรั่วออกเพราะระบบแอร์ผมมีปัญหา จากความสนใจคุณสมบัติของมัน ว่าทำไมถึงเย็นกว่า ประหยัดพลังงานกว่า ใช้แทนน้ำยาเดิมโดยไม่ทำให้แอร์พังได้จริงไหม การติดไฟอันตรายขนาดไหน ผมไปหาข้อมูลเจ้า cold 134 จากหลายเว็บได้ข้อมูลมามีดังนี้
Cold 134 เป็นส่วนประกอปของ R600 a กับ R290 อันนี้เขียนไว้ที่ข้างกระป๋องเลย ผมไปหาใน google ถึงเจ้า 2 ตัวนี้ว่ามันคืออะไรกัน มันติดไฟไหม มันทำให้แอร์ในรถพังอย่างที่ช่างแอร์ทั่วไปชอบว่ามันหรือเป่า ก็ได้ข้อมูลมาเพียบเลย
R290 หรือชื่อที่เรารู้จักกันคือ propane โพรเพนเป็นก๊าซติดไฟที่อยู่ในแก๊สหุงต้มที่ใช้กันอยู่ทุกบ้านนั่นแหละครับ ไอ้ตัวนี้ติดไฟ และเป็นส่วนประกอปของ cold 134, cold 12, cold 22 เลยทำให้น้ำยาพวกนี้ติดไฟด้วย
R600a นี่ก็ติดไฟอีกนั่นแหละเป็นสาร Hydrocarbon ที่ใช้สำหรับทดแทน R134A, R12 โดยเฉพาะ
R290 กับ R600a ทั้งสองตัวนี้ผสมกัน เป็น COLD 134, COLD 22, COLD12 มันมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ถ้ารั่วจะลอยตัวต่ำอยู่ติดพื้นเหมือนแก๊สหุงต้มรั่ว แต่ว่ามันได้รับอนุญาตให้ใช้ในอุปกรณ์ทำความเย็นภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น หรือ แอร์ได้ เนื่องจากปริมาณแก๊สที่ใช้นั้นน้อยมาก จนถ้ารั่วออกมาก็มีอันตรายต่ำ ในตู้เย็นที่ใช้ R290(โพรเพน)ล้วนๆในเยอรมันส่วนใหญ่ จะเติมสารทำความเย็นแค่ 25-40 กรัมเท่านั้น มากกว่าแก๊สที่อยู่ในไฟแช็คจุดบุหรี่อันละ 10-15 บาทอยู่หน่อยหนึ่ง ไฟแช็คแก๊สนั้นยังน่ากลัวกว่าการใช้สารทำความเย็นในรถยนตร์ หรือตู้เย็นด้วยซ้ำ ถ้าสารทำความเย็นมันรั่ว ความที่หนักกว่าอากาศ มันจะรวมตัวกันเป็นหมอกลอยอยู่ต่ำติดพื้นที่ความสูงไม่เกิน 6 นิ้วจากพื้น ถ้าอยู่ในที่โปร่ง อากาศถ่ายเท แก๊สที่รั่วจะถูกลมพัดพาไปจนหมด สำหรับกรณีรถยนตร์ก็ใช้ในปริมาณน้อย อย่างรถผม corolla hi torque ใช้ R134a อยู่ 700 กรัม จะใช้ COLD 134 แค่ 350 กรัม ด้วยปริมาณแค่นี้ ถือว่าน้อยมาก จึงไม่น่าเป็นห่วง รถ taxi ที่ติดแก๊ส LPG ซึ่งก็คือโพรเพน หรือ R290 นั้นใช้ถังแก๊สขนาด 55 ลิตรหรือประมาณ 30 กิโลกรัมวิ่งกันเต็มกรุงเทพนั้นก็มีประวัติความปลอดภัยที่ดี ส่วนแอร์บ้าน 13,000 BTU นั้นใช้น้ำยา R22 ประมาณ 1.2 กิโลกรัม จะใช้น้ำยา COLD 22 ประมาณ 600 กรัม
จากคุณ : คนปากช่อง (super yellow bird) - [ 7 เม.ย. 50 17:55:49 ]
ความคิดเห็นที่ 3
ต่อ
ในกรณีเลวร้ายที่สุดที่ COLD 134 รั่วในห้องโดยสารรถยนตร์ แบบชนิดที่ท่อแอร์แตกทันที ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในการใช้งานปกติ และแก๊สทั้งหมด 300-400 กรัมกระจายออกมา สิ่งที่เกิดคือเราจะมองเห็นเป็นกลุ่มควันสีขาวออกมาจากคอนดซลหน้ารถ แก๊สนี้ไม่มีกลิ่น และถ้าเปิดกระจกอยู่ หรือเปิดกระจกหรือเปิดประตูทันทีที่เห็นกลุ่มควันสีขาวนี้ แก๊สจะกระจายออกไปจนหมด และไม่มีอัตรายใดๆเกิดขึ้น ถ้าคุณอ่านข้อความใน link ข้างล่างนี้ หน้า 11 ในหัวข้อ The Explosion Risk หรือความเสี่ยงที่จะเกิดระเบิด ในกรณีที่แก๊สรั่ว พบว่าน้อยมากๆจนแทบจะเป็น 0 แหล่งเกิดประกายไฟเพียงชนิดเดียวที่จะทำให้แก๊สที่รั่วออกมาติดไฟได้คือการจุดไฟแช็คโดยทำให้เกิดประกายไฟในขณะที่แก๊สรั่วออกมาปริมาณมากๆในคราวเดียว ซึ่งในภาวะปกติ เราก็ไม่จุดบุหรี่กันตอนนั้นอยู่แล้ว แต่ถ้าคนที่เปิดหน้าต่างสูบบุหรี่ในขณะขับรถแล้วโอกาสจะระเบิดเป็น 0 เพราะแก๊สจะรั่วออกไปหมด
ในกรณีปกติที่แอร์รั่วกันนั้น จะเป็นการซึมอย่างช้าๆ ใช้เวลาหลายวันกว่าน้ำยาจะรั่วออกหมด ถ้ารั่วในห้องเครื่องมันจะกระจายไปในอากาศจนหมด ไม่ติดไฟ (จริงๆแล้วรถใช้แก๊สหลายคันยังมีแก๊สรั่วมากกว่านี้ด้วยซ้ำ ) ถ้ารั่วซึมในห้องโดยสารอย่างช้าๆ มันจะลอยอยู่ต่ำ ในปริมาณที่ไม่มากนัก ถ้าความเข้มข้นไม่มากพอ และไม่มีใครไปจุดไฟแช็คในรถ ยังไงก็ไม่ติดไฟ ยิ่งถ้าเปิดกระจกขับนี่หมดทางติดไฟเลย ถ้าความเข้มข้นมากพอ แต่ไม่จุดไฟในรถ ก็ไม่ติดไฟอีกนั่นแหละ ถ้าถามถึงมอเตอร์ไฟฟ้าที่อยู่ในรถ หรือสวิตส์ไฟเบรคที่แป้นเบรค หรือสวิสต์ไฟในห้องโดยสารที่เพดานรถ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ในห้องโดยสาร พวกนี้ไม่สามารถทำให้เกิดการติดไฟได้ รายละเอียดในการทดสอบนี้ให้อ่านดูใน link ข้างล่างนี้ หน้า 11 ในหัวข้อ The Explosion Risk ฝรั่งทดสอบได้ละเอียดมาก จนผมเชื่อในความปลอดภัย
link ข้างล่างนี้พูดถึงข้อดี ของการใช้ R290 และ R600a ที่มีประโยชน์มากกว่าข้อเสีย มีการพูดถึงด้านความปลอดภัยและนำไปใช้งานในหลายๆประเทศ ในเยอรมันและออสเตรเลียก็นำไปใช้เยอะแล้ว ตู้เย็นในเยอรมันรุ่นใหม่ก็ใช้ R290 อัดเข้าไปประมาณ 25-40 กรัมก็สามารถทำความเย็นได้ดีกว่าการใช้ R134 แถมยังประหยัดพลังงานกว่าเดิม 16% สำหรับผมแล้วอ่านเอกสารตัวนี้แล้วมันสนับสนุนการนำ R290, R600a มาใช้ โดยให้เหตุผลเอาไว้มาก ครอบคลุมทั้งข้อดีข้อเสีย และมีตัวอย่างการใช้งานในหลายๆประเทศ ลองอ่านดูเองครับ สำหรับช่างแอร์บ้านเราที่เอาแต่พูดว่า COLD 134, COLD 22 มันติดไฟ ไม่ดีอย่าไปใช้เลยนั่น เป็นประเภทช่างเถอะที่ไม่เคยหาควาามรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมครับ
จากคุณ : คนปากช่อง (super yellow bird) - [ 7 เม.ย. 50 18:01:14 ]
ความคิดเห็นที่ 4
ต่อ
แนวโน้มในอนาคตสารทำความเย็นแบบ COLD134 , COLD22, COLD 12 จะค่อยๆเข้ามาแทนที่อย่างช้าๆครับ ในเยอรมัน กับออสเตรเลียเริ่มใช้มาตั้งแต่ 1994 แล้ว เรื่องติดไฟนี้เป็นประเด็นที่ผู้ผลิตน้ำยา R134, HCFC 134 กับช่างแอร์มักจะเอามาโจมตีเป็นประจำ แต่เมื่อเทียบกับผลดีที่ได้แล้ว ส่วนใหญ่ผู้ใช้ที่ได้รัข้อมูลอย่างครบถ้วนในทุกด้านมักจะเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นตระกูล HC หรือไฮโดรคาร์บอน ซึ่งก็คือ R290, R600a กันหมด อ่านแล้วตัดสินใจเอาเองครับ ส่วนผมว่าจะกลับไปลอง COLD 134, COLD 22 เหมือนเดิม
สำหรับการใช้ cold 22 กับแอร์บ้านยิ่งไม่น่าห่วงครับ เพราะถ้ารั่วจริงซึ่งมักจะรั่วนอกบ้าน มันจะระเหยไปกับอากาศภายนอกจนหมด โอกาสติดไฟพูดได้ว่าเป็น 0 เหมือนกัน เพราะตำแหน่งติดคอมเพรสเซอร์ตัวนอกจะอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีอยู่แล้ว
http://www.es-refrigerants.com/repor...FRIGERANTS.pdf การทดสอบการรั่วของสารทำความเย็นในตระกูลเดียวกัน ยืนยันว่าแม้มันจะติดไฟ แต่ความเสี่ยงถือว่ามีน้อยมากในการใช้ในระบบทำความเย็นขนาดเล็กถึงกลาง อ่านใน link ข้างล่างนี้ ให้ดูที่หน้า 4 ตรง conclusion
http://www.autofrost.com/peoples/ghg/ghg-ternary.pdf ถ้าข้อมูลไม่จุใจ ยังอยากอ่านอีกล่ะก็ ตาม link ข้างล่างนี้ไปครับ
http://www.cuts-international.org/sc98-1.htm http://www.sciencedirect.com/science...98811af06e9f9c http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=14941709 http://www.advgas.com/hydrocarbons.asp http://www.fluorocarbons.org/en/deba...igeration.html จากคุณ : คนปากช่อง (super yellow bird) - [ 7 เม.ย. 50 18:02:16 ]