ครับคงต้องบอกกว่าว่าอันนี้เท่าเอามาฝากกันก็เพื่อเป็นความรู้ให้กับคนอื่นๆที่ไม่รู้ เพื่อที่จะได้เข้าใจและเลือกซื้อได้ถูก
ก่อนอื่น คุณเคยเจออาการอย่างนี้หรือไม่ เช่น
-
เวลาเข้าโค้ง(อย่างแรง)ท้ายบัด ไม่นิ่ง วิ่งโคลง -
เวลาตกหลุม โดดคอสะพาน มีความรู้สึกว่าจั้ม ทรงตัวไม่ดี-
เวลาเจอน้ำขั้งข้างทาง(อย่างเช่นในกรณีฝนตกเป็นต้น) บางทีเรามาด้วยความเร็วทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้-
เวลาวิ่งทางตรงด้วยความเร็วสูงๆ มีความรู้สึกว่าเหมือนจะลอย ไม่นิ่ง โคลงบ้างอะไรประมาณนี้หลายๆคนเจอปัญหาอย่างนี้ ก็มีวิธีการแก้หลายๆอย่างเช่น เปลี่ยนยางให้ใหญ่ขึ้น เปลี่ยนสปริงและโช้คให้เกาะขึ้น ซึ่งก็ใช้งบประมาณพอสมควร
หลายคนจึงได้หันหาวิธีที่ทำให้ปัญหาต่างๆข้างบนหมดไปแต่ไม่ต้องลงทุนมากเท่าการเปลี่ยนยางให้ใหญ่ขึ้นหรือเปลี่ยนสปริงและโช้ค
ครับก็ไปหากันโคลง หรือที่บางคนเรียกว่าค้ำโช้ค
ค้ำโช้คทำหน้าที่อย่างไร มีกี่ชนิด วัสดุอะไรบ้าง วันนี้ก็คงต้องแจงกันหน่อยครับ
ประโยชน์
ของค้ำหน้าและหลังบนหรือเรียกอีกอย่างว่า Upper Front and Rear Sturt Bar
ทำหน้าที่ยึดที่หัวเป้าโช้คด้านบนทั้งซ้ายและขวา เหมือนกับเอาอะไรไปดาม(กดเกป้าโช้ค)ไว้ไม่ให้ดินตัว อาการต่างๆที่พูดมาเช่น
- เวลาเข้าโค้ง(อย่างแรง)ท้ายบัด ไม่นิ่ง วิ่งโคลง
ก็จะไม่โคลง รถนิ่งขึ้น-
เวลาตกหลุม โดดคอสะพาน มีความรู้สึกว่าจั้ม ทรงตัวไม่ดี
ก็จะทรงตัวดี เวลาโดดสะพานก็จะคุมได้- เวลาเจอน้ำขั้งข้างทาง(อย่างเช่นในกรณีฝนตกเป็นต้น) บางทีเรามาด้วยความเร็วทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้
ก็สามารถลุยได้- เวลาวิ่งทางตรงด้วยความเร็วสูงๆ มีความรู้สึกว่าเหมือนจะลอย ไม่นิ่ง โคลงบ้างอะไรประมาณนี้
ก็จะไม่ลอยจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอีกอย่างนึงใน
กรณีเกิดการชน ก็จะไม่ทำให้ตัวถังบิดตัวประโยชน์
ค้ำหลังหน้าและล่างล่างหรือเรียกอีกอย่างว่า Lower Arm Front and Rear
ทำหน้าที่ยึดบูทปีกนกซ้ายและขวาไม่ให้ดิ้น เมื่อไม่ดิ้น เวลาตกหลุมจะไม่เกิดอาการเซเช่นกัน อาการอีกอย่างนึงคือเวลาตกหลุมบ่อยๆหรือกระแทกๆบ่อยๆ ก็จะทำให้ศูนย์ล้อที่ตั้งไว้เปลียนเร็วกว่าปกติ เมื่อศูนย์ล้อเปลี่ยน ก็จะทำให้เกิดอาการต่อมาคืออาการกินยางซึ่งอาจจะเกิดกินได้ทั้งด้านในและด้านนอก เมื่อใส่ค้ำล่างหลังลงไปก็จะ
ทำให้ศูนย์ที่ตั้งไว้ไม่เคลื่อน(มากจนเกินไป) เมื่อศูนย์ที่ตั้งไว้ไม่เคลื่อน
อาการกินยางก็ไม่เกิดขึ้น และ
ทำให้การเข้าโค้งดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด(ในกรณีค้ำล่างหลัง) (อันนี้สังเกตจากการขับของผมเอง เวลาขึ้นห้างที่มีทางโค้งๆหักศอกหรือโค้งเยอะๆ ผมจะลองเข้าเร็วๆ ปกติท้ายมันจะปัด ผลจากการใส่คือเข้าโค้งนิ่งขึ้น และเข้าใจว่าเวลาDriftแล้วไม่ให้บัดต้องมีอะไรมาช่วยคงประมาณนี้เหมือนกัน)
คราวนี้ก็มาถึงเรื่องที่ว่าวัสดุที่ใช้ทำค้ำโช้คมีหลายๆวัสดุ
เช่น
เหล็ก สแตนเลด อลูมิเนียม ไทเทเนียมเหล็ก (Steel) เป็นวัสดุที่ดีราคาถูก สามารถบิดตัวได้เมื่อเกิดการกระเทือนแรงๆ เมื่อสะเทือนแรงๆก็สามารถเป็นสนิมเนื่องจากน้ำที่กระเด็นเข้าจากใต้ท้องรถ(เช่นกรณีลุยฝนเป็นต้น) ราคาขายค่อนข้างถูกเนื่องจากทำง่าย
สแตนเลส (stainless steel )เป็นวัสดุที่ราคาขึ้นมาจากเหล็ก โลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% แข็งดีเหมือนเหล็ก ไม่เป็นสนิม เงา แต่บิดตัวเมื่อสะเทือนแรงๆ(อย่างแรงมาก) ราคาขายแพงกว่าเหล็กไม่เท่าไร แต่ก็พอได้
อลูมิเนียม (Aluminium)เป็นวัสดุที่แพงขึ้นมาจากสแตนเลด แข็งกว่าสแตนเลด ไม่เป็นสนิม มีการยืดหยุดตัวสูง แข็งแรง และน้ำหนักเบา มีการใช้อะลูมิเนียมในอุตสาหกรรมหลายประเภท เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ราคาขายตามท้องตลาดแพงกว่าเหล็กและสแตนเลด บางอันเกือบถึงหมื่นก็มี(ในกรณีเป็นของนำเข้า ถ้าเมืองไทยก็ไม่เท่าไร)
ไทเทเนียม (Titanium) เป็นวีสดุที่แข็งแรงทนต่อการกัดกร่อนของคลอรีนและน้ำทะเลมีน้ำหนักเบา ในโลหะผสมที่ผสมกับเหล็กและอะลูมิเนียมจะเป็นโลหะสีเงินขาวเบาและแข็งแรงมาก ราคาแพงกว่าอลูมิเนียม ซึ่งถ้าเป็นไทเทเนียมแท้(จากนอก) ราคา(ค้ำโช้ค)จะเกินหมื่นแน่นอน(ในกรณีของนอก)
ครับที่เล่ามาทั้งหมดก็เป็นความรู้เพื่อคนที่จะเข้ามาศึกษาหาประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องนี้
ต้องยอมรับว่าเมื่อก่อนเล่นรถไม่มีข้อมูลดีๆเหมือนสมัยนี้ หาได้ตามเน็ต ตามคลับรถ
ก็เอามาฝากๆกันนะครับ