ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
11 พฤศจิกายน 2024, 18:14:31
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ  |  หัวข้อ: - มาดูแลแบตเตอรี่กันหน่อยดีมั๊ย - 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: - มาดูแลแบตเตอรี่กันหน่อยดีมั๊ย -  (อ่าน 11147 ครั้ง)
m@houb
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,473


« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2008, 13:58:04 »



มาดูแลแบตเตอรี่กันหน่อยดีมั๊ย

ถ้าพูดถึงแบตเตอรี่ในรถยนต์จะเปรียบว่าเป็นหัวใจของรถเลยก็คงจะไม่ผิดนักเพราะว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานทั้งหมดของระบบ ถ้าไม่มีแบตเตอรี่เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่หลายๆคนมักมองข้ามการดูแลรักษามันไปกว่าจะรู้ตัวหรือเห็นความสำคัญของแบตเตอรี่ก็ตอนที่รถมันสตาร์ทไม่ติดนั่นแหละและที่สำคัญหลายๆคนอาจจะลืมคิดไปว่าผลที่ตามมาจากการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็นระบบการประจุไฟเข้าแบตเตอรี่เองหรืออาจจะส่งผลกระทบไปถึงระบบประมวลผลได้ด้วยทำเป็นเล่นไป!

ชนิดของแบตเตอรี่

ขอพูดถึงคร่าวๆซักนิดนะครับคงไม่ลงลึกในรายละเอียดว่าแบตเตอรี่ที่มีขายกันในท้องตลาดที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปพอจะแยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ

๑. แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าแบตเตอรี่แห้ง หลายๆคนยังเข้าใจว่าแบตเตอรี่แห้งคือมันแห้งจริงๆ แต่ความจริงแล้วแบตแห้งที่นำมาใช้กับรถยนต์ยังคงมีประเภทที่มีของเหลวอยู่ภายในไม่ว่าจะเป็นแบบตะกั่ว-กรดที่ใช้แคดเมี่ยมและตะกั่วในแผ่นเซลล์หรือพวกที่ใช้สารละลายอัลคาไลน์หรือที่รู้จักกันในชื่อนิเกิล-แคทเมี่ยมนั่นเอง แต่ที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากคือแบบตะกั่ว-กรดเพราะมีราคาถูกกว่า

-ข้อดีคือไม่ต้องเติมน้ำกลั่น-สะดวกต่อการใช้งาน-การปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาที่นานกว่าแบตธรรมดา-ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นจากปฎิกริยาทางเคมีภายในมีน้อย

-ข้อที่ไม่ค่อยดีนักคือราคาแพงกว่าแบตธรรมดา-เป็นระบบปิดที่มีรูหายใจแบบทางเดินทางเดียวขนาดเล็กถ้ามีการอุดตันอาจจะเกิดปัญหาด้านแรงดันภายในหรือความร้อนโดยเฉพาะระบบประจุที่รุนแรงเนื่องจากเกิดปัญหาในระบบการประจุ-แบตเตอรี่แบบที่ปิดผนึกแบบไม่ใช้อีเล็กโตรไลท์ถ้าซิลของช่องหายใจเกิดหลุดจะเกิดการเสียหายเนื่องจากมีความชื้นเข้าไป

๒. แบตเตอรี่ที่ต้องเติมน้ำกลั่น โครงสร้างมันก็เหมือนกับแบตแห้งนั่นแหละเพียงแต่มันใช้อีเล็กโตรไลท์หรือกรดซังฟุริคเจือจางด้วยน้ำกลั่นบรรจุอยู่เพราะจะว่ากันตามจริงแล้วแบตเตอรี่แบบแห้งและแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นมันก็ต่างกันแค่วัสดุที่ใช้ทำแผ่นธาตุเท่านั้นเอง

-ข้อดีคือราคาถูก-ทนทานต่อการรับโหลดทั้งการประจุและคายประจุ

-ข้อที่ไม่ค่อยดีนักคือการรั่วหกของสารละลายจากภายในที่มีส่วนผสมของกรดสามารถทำลายสีของรถได้-ต้องคอยดูแลการประจุและการเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอไม่ว่าจากการระเหยหรือการรั่วหก

จะเลือกใช้แบตเตอรี่อย่างไร

๑. รถแบบเดิมๆที่ไม่มีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ไฟฟ้าการเลือกใช้แบตเตอรี่แบบแห้งหรือแบบที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าโดยเฉพาะท่านที่ไม่ค่อยได้ดูแลรถบ่อยๆหรือไม่ค่อยมีความรู้เรื่องรถมากนัก

๒. รถที่มีการแต่งหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้าไปภายหลังเช่นเครื่องเสียง-ไฟตัดหมอก-ขนาดไฟหน้าที่สว่างกว่าเดิม การเลือกใช้แบตธรรมดาที่เติมน้ำกลั่นจะดีกว่าเพราะการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากในรถทำให้เกิดการประจุและการนำกระแสไปใช้งานนั้นจะมากและรุนแรงถ้าใช้แบตแบบแห้งจะทำให้อายุงานของแบตแห้งนั้นสั้นลงอย่างมาก

๓. การเลือกใช้แบตแห้งนั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควรเนื่องจากแต่ละยี่ห้อนั้นออกแบบแตกต่างกันไปในเรื่องซีลหรือระบบทางเดินเดียวของรูหายใจตลอดจนกระแสที่ใช้ในการชาจน์หรือประจุเข้าที่เหมาะสมกับแบตชนิดนี้คือการประจุแบบช้าจึงค่อนข้างมีปัญหาต่อการประจุเร็วและรุนแรงของรถที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากๆ

๔. ค่าความจุของแบตเตอรี่ ค่าที่เขียนติดมากับแบตเตอรี่จะเห็นเป็นตัวเลขและตัวอักษรเช่น 12V 60Ah หมายถึงแบตเตอรี่มีค่าแรงดัน 12โวลท์และมีค่าการปล่อยกระแสคงที่ 60แอมแปร์-ชั่งโมง แต่โดยทั่วไปจะคิดกันที่ 20 ชั่วโมงหรือกระแสที่จ่ายคงที่ของแบตตัวนี้คือ 3 แอมแปร์ในเวลา 20 ชั่วโมง ส่วนมากแบตที่ติดรถมาจะมีค่าความจุที่ต่ำสุดที่เพียงพอต่อการใช้งานเท่านั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแบตตัวใหม่ควรเพิ่มค่าให้มากกว่าเดิม 5-10Ah เช่นตัวเดิม 12V 60Ah ถ้าเปลี่ยนตัวใหม่ควรจะเป็น 12V 65Ah หรือ 12V 70Ah เป็นต้นเนื่องจากว่าเมื่ออายุงานรถมากขึ้นอุปกรณ์ต่างๆเช่นสายไฟจะมีความเป็นตัวนำลดลงทำให้กระแสสูญเสียไปกับความร้อนที่เกิดขึ้นการเผื่อค่าการจ่ายกระแสมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดจากกระแสไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

๕. ถ้าเป็นแบตที่ต้องเติมน้ำกลั่น ครั้งแรกที่ซื้อแบตใหม่ทางร้านจะเติมกรดและทำการประจุหรือชาจน์ไฟให้แม้จะเป็นเรื่องที่ดีแต่การกระทำดังกล่าวบ่งครั้งก็ทำให้แบตเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติบางครั้งแค่ปีเดียวก็เสื่อมสภาพแล้วเนื่องจากการเติมกรดครั้งแรกควรจะทิ้งไว้ราว ๑?๒ชั่วโมงก่อนที่จะนำไปประจุหรือชาจน์ไฟเพื่อให้แผ่นธาตุทำปฎิกริยากับกรดอย่างเต็มที่ก่อน และการประจุหรือชาจน์ไฟนั้นควรใช้แบบกระแสต่ำชาจน์นานๆแต่ทางร้านส่วนใหญ่มักจะใช้กระแสสูงและชาจน์เร็วเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนี้แค่เติมกรดแล้วทิ้งไว้สองชั่วโมงจากนั้นนำมาติดตั้งในรถเพื่อใช้ไฟจากรถเป็นตัวประจุหรือชาจน์ยังจะดีเสียกว่า

๖. ควรเลือกซื้อแบตที่มีตาแมวหรือช่องสำหรับดูค่าความถ่วงจำเพาะหรือสถานะของแบตเตอรี่เพราะราคาก็แพงกว่าชนิดที่ไม่มีช่องดูไม่เท่าไหร่ แต่ช่องตาแมวดังกล่าวสามารถบอกเราได้ว่าสถานะแบตเตอรี่ขณะนั้นเป็นอย่างไรเช่นไฟเต็ม-ไฟอ่อน-ต้องถอดไปประจุหรือไม่มีไฟ ถ้าเป็นแบบที่ไม่มีช่องดูเวลาเกิดปัญหาที่ต้องวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบไฟจำต้องใช้เครื่องมือวัดค่าความถ่วงจำเพาะมาตรวจสอบซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีร้านซ่อมซื้อมาใช้แต่อาจจะเหมาลอยๆได้เลยว่าแบตเสียต้องเปลี่ยนแบต แต่ถ้ามีตาแมวให้ดูเราสามารถแย้งได้เลยว่าแบตไฟเต็มจะว่าแบตเสียนั้นไม่ใช่แน่ๆ

อายุงานของแบตเตอรี่

๑. ตอนที่ซื้อแบตเตอรี่ต้องดูให้แน่ใจว่าทางร้านมีการตอกหรือมีการเขียนที่สติ๊กเกอร์หรือพวกอุกรณ์สำเร็จรูปต่างๆที่บ่งบอกถึงวันที่ติดตั้งหรือเติมกรดครั้งแรกเพราะมันจะเป็นตัวชี้ถึงอายุงานของแบตเตอรี่ว่าสมควรต่อการเปลี่ยนหรือยัง ถ้าทางร้านไม่ได้จัดทำให้ก็ควรที่จะทำขึ้นมาเองเพื่อเป็นเครื่องเตือนไม่ว่าจะเป็นการบันทึกหรือหาสีที่ลบไม่ออกมาเขียนที่ตัวแบตเตอรี่

๒. โดยทั่วไปแบตเตอรี่จะมีอายุงานเฉลี่ย ๒-๓ ปีหมายความว่าถ้าเลยระยะ ๒ปีไปแล้วมันก็พร้อมที่จะเสียทุกเมื่อแต่ถ้าสามารถใช้งานได้ถึง ๓ปีหรือมากกว่านั้นก็ถือว่าเป็นกำไรแล้วอย่าเสียดายที่จะเปลี่ยนมันแม้ว่าจะดูแลดีขนาดไหนก็ไม่ควรจะให้เกิน ๔ปีสำหรับรถที่วิ่งทางไกลเป็นประจำ ส่วนรถที่วิ่งระยะสั้นช่วงปีที่ ๒?๓นั้นสมควรแก่เวลาที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่กันแล้วครับ

การดูแลรักษาแบตเตอรี่

ไม่ว่าแบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นแบบแห้งหรือแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นก็ควรมีการตรวจเช็คซักเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยหรือตอนที่เปิดเติมน้ำฉีดกระจกหรือทุกครั้งที่เปิดฝากระโปรงก็ควรตรวจเช็คมันด้วยเพราะมันก็ไม่ได้ใช้เวลามากมายอะไรในการตรวจเช็ค แล้วจะเช็คอะไรบ้างซึ่งก็คงคร่าวๆเฉพาะสภาพภายนอกที่มองเห็นหรือสำผัสได้คือ


?   บวมหรือเสียรูป อันนี้ควรสังเกตุตั้งแต่แบตยังใหม่ๆอยู่เพื่อจะได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงได้ว่าเดิมๆมันเรียบดีแต่พอใช้ไประยะนึงด้านข้างมันบวมขึ้นมาเพราะความร้อนหรือการประจุไฟเกินหรือการระบายแรงดันไม่ดี
?   แตกร้าว อันนี้ต้องคอยดูว่ามีร่องรอยการซึมออกมาของกรดหรือของเหลวที่บรรจุภายในหรือเปล่าในจุดที่ไม่ใช่รูระบายอากาศหรือช่องหายใจเช่นตามขอบ-ด้านข้าง-ฝาครอบ ซึ่งหมายถึงความเสียหายของแบตเนื่องจากการประจุแรง-ระบายแรงดันภายในไม่ทันหรือแม้แต่การรัดของตัวยึดที่แน่นเกินไป
?   ถ้าเป็นแบตชนิดที่ต้องเติมน้ำกลั่นควรเช็คและเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในช่วงระดับต่ำสุดและสูงสุดเสมอไม่ควรทิ้งไว้จนระดับต่ำกว่าขีดต่ำสุดมากกว่า ๕มิลลิเมตรหรือครึ่งเซนติเมตรแม้ว่าระดับดังกล่าวของเหลวยังคงสูงกว่าแผ่นธาตุแต่ถ้ารถเอียงหรือทางลาดชันจะทำให้ระดับของเหลวไม่ท่วมแผ่นธาตุ แต่มีบางยี่ห้อที่ทำช่วงระยะต่ำสุด-สูงสุดเป็นช่วงสูงมากทำให้ขีดต่ำสุดนั้นแทบจะเท่ากับระดับความสูงของแผ่นธาตุเลย ดังนั้นที่ดีที่สุดก็ไม่ควรให้ระดับของเหลวต่ำกว่าขีดล่างสุด
?   ร่องรอยการรั่วหกของของเหลวที่ระบายออกจากแบตเตอรี่(ชนิดเติมน้ำกลั่น) ปฎิกริยาของกรดซัลฟุริคจะทำให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนและซันเฟตหรือปฎิกริยาทางเคมีในการประจุและคายประจุทำให้เกิดความร้อน ทำให้เกิดการระเหยของๆเหลวและการระบายแรงดันส่วนเกินทิ้งนอกจากจะเป็นผลให้ของเหลวยุบตัวจนต้องเติมน้ำกลั่นแล้วของเหลวที่หลุดออกมานั้นยังมีส่วนผสมของกรดอยู่ถ้าระบายไม่ถูกที่แต่ไปโดนส่วนที่เป็นตัวถังจะทำให้เกิดการกัดกร่อนควรทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นในปริมาณที่มากพอเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่จะนำไปสู่สนิมในอนาคต ถ้าทำได้ควรติดตั้งท่อระบายจากรูหายใจของแบตเตอรี่ไปในส่วนที่ปลอดภัยไม่โดนตัวถังหรืออุปกรณ์ที่เป็นยางของรถ
?   ขยับดูขั้วแบตเตอรี่ว่าแน่นดีหรือไม่ ถ้าขยับได้ควรขันให้แน่น
?   ขยับดูตัวแบตเตอรี่ว่าแน่นดีหรือไม่ ถ้าขยับได้ก็ควรขันแต่ไม่ต้องแน่นมาเอาแค่ตึงมือเพราะการขันตัวล็อคให้แน่นมากโดยเฉพาะชนิดที่เป็นเหล็กพาดผ่านตัวแบตนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของแบตเตอรี่บวมหรือแตกร้าวได้ โดยเฉพาะร้านที่ติดตั้งมักไม่สนใจตรงนี้แต่มักพยามขันอัดจนแน่นจึงควรดูตอนที่ช่างหรือร้านติดตั้งด้วย แต่ถ้าเป็นชนิดล็อคที่ฐานมักไม่ค่อยพอปัญหานี้เท่าไหร่
?   เช็คว่าขั้วของแบตเตอรี่สกปรกหรรือมีขี้เกลือเกาะติดหรือเปล่า กรณีที่ติดตั้งตรั้งแรกควรซื้อแผ่นรองขั้งแบตที่ชุบสารหล่อลื่นไส่ที่ขั้วแบตตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่มีขั้วแบตมักสกปรกก็ควรทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำอุ่นถึงร้อนจัดค่อยๆเทราดลงไปที่ขั้งแบตแล้วใช้แปรงสีฟันเก่าขัดจนขั้วสะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วใช้จาระบีทาบางๆให้ทั่ว กรณีที่ไม่มีจารบีหรือกลัวว่าจะเลอะเทอะโดยเฉพาะสุภาพสตรีก็ให้ใช้วาสลีนทาบางๆให้ทั่วที่ขั้งแบตเตอรี่แทนจารบี(แถมดีกว่าด้วย)

ขับรถอยู่ดีๆรูปแบตเตอรี่ที่หน้าปัดติดขึ้นมาทำไงดี

แม้ว่ารูปแบตเตอรี่บนหน้าปัดนั้นไม่ได้หมายถึงแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงระบบการประจุหรือไดชาจน์ด้วยแถมรถบางรุ่นยังพ่วงเรื่องการทำงานของอุปการณ์ไฟฟ้าทั้งระบบเข้ามาอีก แต่เมื่อได้ก็ตามที่บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้วไฟรูปแบตเตอรี่ไม่ดับหรือกระพริบหรือขับรถอยู่ไฟมันติดหรือกระพริบขึ้นมาโอกาสที่สาเหตุจะเกิดกับตัวแบตเตอรี่นั้นมีมากกว่าตัวอื่น รองลงไปเป็นไดชาจน์ ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหรือร้านไดนาโมทั่วๆไปโดยทันทีเพราะรถของท่านอาจจะไมสามารถติดเครื่องได้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ก่อนที่ช่างจะวิเคราะห์หรือทำการเปลี่ยนแบตให้ท่านก็ควรแน่ใจว่าแบตตัวนั้นผ่านการใช้งานมาแล้วอย่างน้อย ๑ปี หรือถ้าอายุของแบตลูกนั้นเกิน ๒ ปีไปแล้วโอกาสความน่าเชื่อถือว่าแบตเตอรี่เสื่อมหรือเสียหรือเก็บไฟไม่อยู่ค่อยน่าเชื่อถือกันหน่อย ยิ่งถ้าเราเป็นคนดูแลแบตเตอรี่ที่ดีหลังจากอายุของแบตเกิน ๒ปีไปแล้วก็ควรคอยสังเกตุไฟรูปแบตเตอรี่บนหน้าปัดอยู่เสมอด้วย

สารยืดอายุแบตเตอรี่

มีบ่อยๆที่มีการโฆษนาสารที่เติมเข้าไปในแบตเตอรี่ชนิดเติมน้ำกลั่นว่าสามารถยืดอายุงานของแบตเตอรี่ได้อีกจากเดิม๒-๓ปีสามารถยืดออกไปอีกเป็นปีหรือมากกว่านั้น ลองย้อนถามตัวเองนิดนึงก่อนที่จะจ่ายเงินว่า ถ้ามันยืดอายุงานได้ขนาดนั้นจริงแล้วสมมุติคุณเป็นเจ้าของโรงงานแบตเตอรี่แต่เพิ่มต้นทุนอีกเล็กน้อยแล้วเพิ่มราคาแบตเตอรี่ออกใบรับประกันอายุงานแบตเตอรี่ให้ด้วย คิดดูเองว่าแบตยี่ห้อนั้นจะโด่งดังแค่ไหน หรือลองถามคนขายดูซักนิดว่าสารที่ขายนั้นได้รับการรับรองจากสถาบันไหนในบ้านเราหรือเปล่า ถ้ามีการรับรองว่ายืดอายุงานได้จริงโดยสถาบันในบ้านเราที่ตรวจสอบได้ค่อยจ่ายเงินซื้อมาใช้ครับ

การคว่ำแบตเตอรี่

คงจะเคยได้ยินคำว่าคว่ำแบตของช่างที่พูดคุยกัน การคว่ำแบตหมายถึงการนำแบตที่มีอายุงานมาแล้ว๒?๓ปีที่สภาพไม่ดีแล้วหรือไฟรูปแบตที่หน้าปัดโชว์แล้วมาเปิดฝาแล้วเทของเหลวออกทั้งหมด เติมกรดเข้าไปใหม่ จากนั้นก็นำไปชาจน์ไฟให้เต็มแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ถ้าพูดตามหลักวิชาการแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าพูดในเรื่องการปฎิบัติแล้วบางครั้งมันได้ผลและยืดอายุงานของแบตได้จริงอาจจะใช้งานต่อไปอีกได้ราว ๒ปีทีเดียว แต่มันก็ไม่ได้ผลทั้งหมดซึ่งเป็นผลมาจากตะกั่วซัลเฟตในแผ่นธาตุเกิดการแข็งตัวมากแล้ว วิธีนี้ถ้าจะทำก็เป็นการเสี่ยงราวครึ่งต่อครึ่งโดยทั่วไปก็ไม่อยากแนะนำให้ทำเพราะอาจจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ น่าจะเป็นวิธีที่ช่างใช้มากกว่าเพราะวิธีนี้มักเป็นการใช้ชั่วคราวหรือใช้กับแบตที่ท่านทิ้งไว้หรือร้านรับซื้อในราคาถูกๆนำไปทำวิธีนี้แล้วไปขายราคาถูกๆให้กับพวกแท็กชี่หรือรถโดยสารขนาดเล็กที่วิ่งในที่ชุมชนและมีเพื่อนฝูงผ่านไปมา ส่วนการใช้งานแบบเราๆท่านๆซื้อลูกใหม่ไปเลยสบายใจกว่าครับ

การพ่วงแบตเตอรี่

เมื่อรถสตาร์ทไม่ติดอาการที่บ่งบอกว่าแบตไม่มีไฟแล้วนอกจากรูปแบตที่หน้าปัดที่โชว์ก่อนหน้านั้นแล้วยังมีเสียงของมอร์เตอร์สตาร์ทที่ไม่มีแรงหรือรอบเบาลงจนไม่สามารถฉุดเครื่องให้หมุนได้หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเบาลงเช่นไฟหน้าสว่างน้อยลง-แตรเสียงเบาลงหรือไม่ดังเลยและต้องมั่นใจว่าแบตนั้นหมดไฟหรือมีไฟน้อยจริงๆโดยดูจากตาแมวหรือตัวแสดงสถานะของแบตว่าบ่งบอกถึงสีที่จำเป็นต้องชาจน์หรือไม่มีไฟ ถ้ามาถึงตรงนี้คงหนีไม่พ้นการติดเครื่องให้ได้ก่อนที่จะนำรถไปซ่อมและสิ่งหนึ่งที่ทำได้คือการพ่วงแบตหรือการใช้ไฟจากรถอีกคันนึงมาช่วยในการสตาร์ท การพ่วงแบตเป็นการนำแบตสองตัวมาขนานกันซึ่งแรงดันยังคงเท่าเดิมแต่เป็นการแบ่งการไหลของกระแสไม่ได้สร้างความเสียหายใดๆต่อรถทั้งสองคันอันนี้ขอให้เข้าใจตรงนี้นิดนึงเพราะบางท่านไม่ค่อยเต็มใจให้พ่วงแบตเนื่องจากเกรงว่ารถตัวเองจะเกิดความเสียหาย สิ่งที่สำคัญตอนนี้คือต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่ ราคาของสายพ่วงเส้นนึงก็ไม่กี่บาทหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านหรือห้างสรรพสินค้า การเก็บในรถก็ใช่ว่าจะยุ่งยาก จะซื้อติดรถไว้ซักเส้นเผื่อฉุกเฉินจะได้โบกรถคันอื่นขอพ่วงแบตเตอรี่ก็ไม่ได้เสียหายอะไร ส่วนการพ่วงแบตเตอรี่นั้น(ดูภาพ6 ประกอบ)มีขั้นตอนง่ายๆหลังจากที่ขอความช่วยเหลือได้แล้วนำรถมาจอดใกล้ๆกันในจุดที่สายพ่วงต่อถึงโดยรถคันที่จะนำไฟมาจ่ายยังคงติดเครื่องยนต์อยู่จากนั้นก็ทำดังนี้คือ

๑. เปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นของแบต(ที่ไม่มีไฟ)ทุกตัวแต่ถ้ามั่นใจว่ารูหายใจไม่อุดตันก็ไม่จำเป็นต้องเปิดฝาก็ได้

๒. ต่อขั้วบวกจากแบตรถคันที่มีไฟมาเข้าขั้วบวกของรถคันที่ไม่มีไฟ

๓. ต่อขั้วลบจากแบตรถคันที่มีไฟมาเข้าขั้วบวกของรถคันที่ไม่มีไฟ แต่ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้โครงรถในจุดที่สายขั้วลบต่ออยู่กับโครงรถแทนหรือใช้ระหว่างโครงรถกับโครงรถแทนการต่อขั้งลบ

๔. เร่งเครื่องรถคันที่มีไฟให้รอบเครื่องนิ่งๆอยู่ที่ ๑๕๐๐?๒๐๐๐รอบค่าใดค่าหนึ่ง เมื่อรอบเครื่องยนต์คันที่มาช่วยเหลือนิ่งดีแล้งจึง..

๕. บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่ไม่มีไฟถ้าเครื่องยนต์ติดแล้วก็ถอดสายแบบย้อนกลับคือตอนใส่เราทำแบบเรียงลำดับ a-b-c-d แต่ตอนถอดสายก็ทำย้อนกลับเป็น d-c-b-a

ฮืม..ที่พูดมาก็คงเป็นแค่เรื่องเล็กๆน้อยที่นำมาเขียนเล่าสู่กันฟังเท่านั้นครับ อาจจะเป็นคำพูดง่ายๆที่พยามเขียนให้คนที่ไม่เคยรู้เรื่องอะไรเลยได้พอจะรู้เรื่องขึ้นมาบ้าง ถ้าผิดเพี้ยนไปจากหลักวิชาการบ้างหรืออ่านแล้วดูจะเป็นเรื่องงี่เง่าในสายตาของบางท่านก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ แต่ยังยืนยันเจตนาการเขียนแนวง่ายๆแบบนี้ต่อไปครับ และถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อเขียนนี้เป็นการส่งผลกระทบต่อธุรกิจหรือความรู้สึกของท่านก็ขอเรียนว่าไม่ได้ต้องการให้เป็นเช่นนั้นก็ขออภัยอีกเช่นกันนะครับเพราะมันเป็นแค่???
บันทึกการเข้า



นายต้นตระกูล
= กรูเพี้ยนส์ =
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,730


สมาคมเพี้ยนส์คลับ!!!!!!!!


« ตอบ #1 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2008, 14:05:57 »

ขอบคุณครับ  อยากได้ฉบับย่อ จังครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2008, 14:08:23 โดย นายต้นตระกูล » บันทึกการเข้า

Octillion
งงอ่ะดิ
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8,854



« ตอบ #2 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2008, 23:10:17 »

เพิ่มเติมครับ

- แบตเตอรี่แบบแห้งที่ว่าคือ sealed lead acid เป็นแบตเตอรี่แบบปิด จะไม่มีไอกรดระเหยออกมา

- ส่วนแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบแรก แต่ข้อเสียคือไอกรดอาจระเหยออกมา

- สำหรับแบตเตอรี่ทั่วไป อายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี ใช้งานจริงที่ 3-4 ปี ที่อุณหภูมิ 20-25 ํC

เมื่ออยู่ในรถ ความร้อนสูงขึ้น จึงมีอายุสั้นลงเหลือประมาณ 2 ปี บวกลบ จึงมีคำแนะนำให้เปลี่ยนแบตทุกๆ 2 ปี

อย่าให้มากกว่านั้น เพราะจะเสี่ยงต่อแบตเสื่อม

- แบตเตอรี่ที่มีอาการบวม หรือมีของเหลวไหลออกมา ห้ามใช้เด็ดขาด ให้เปลี่ยนทันที

- หากวัดแรงดันแบตเตอรี่ได้ปกติ สามารถยืนยันสภาพแบตเตอรี่ได้ระดับหนึ่ง

Octillion
บันทึกการเข้า

T_NINE
ชาวยุทธ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #3 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2008, 17:00:59 »

thank you ครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกอย่าง <a href="http://" target="_blank">http://</a>
บันทึกการเข้า
หมูอ้วนกทม
Gold Member
เจ้าสำนัก
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 691



« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2008, 13:36:57 »

เพิ่งเปลี่ยนเลยเนี่ย เอาแบบเติมเองแล้ว จะทนกว่า ตัวเก่าใช้มาปีครึ่งเปะๆ หมดการันตี กับหมดอายุพอดีกันเลย ใช้แบบกึ่งเติม มีตาแมว ของ3K รู้สึกว่าอายุการใช้งานจะสั้นเกินไปนะ รถไม่ได้แต่งเครื่องเสียงแค่มีทีวีตัวเล็กๆในรถติดตัวเดียว ตอนมันหมดอายุก็ไม่ส่งสัญญาณเตือนก่อนเลย (ES05 ไม่มีตัวโชว์เตือนเรื่องแบตจะหมด ศูนย์บอก) แต่ที่แปลกใจคือก่อนเข้าบ้านก็ใช้ได้ปกติ ตอนเช้ามาไฟตาแมวสีใสแจ๋วเลย สตาร์ทเงียบ แตรบีบไม่ดัง  :'(
บันทึกการเข้า
love ek
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,521

เด็กปืน


« ตอบ #5 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2008, 19:53:55 »

ได้ความรู้เยอะเลยครับ   อายจัง ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

...........อายุ  วรรโณ  สุขัง  พลัง  สาธุ  EK  จงเจริญ...........
CUSCO ZERO + P 1 RACING
PoPuLal2
เข้าวงการ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 44


« ตอบ #6 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2009, 22:59:35 »

ผมก็เพิ่งเปลี่ยนงับ ใช้แบบเติมเองเหมือนกันงับ ^^ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ  |  หัวข้อ: - มาดูแลแบตเตอรี่กันหน่อยดีมั๊ย -
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |